ฝุ่น PM2.5 ยังคงเป็นปัญหาที่เรามักจะประสบกันช่วงต้นปี เนื่องจากความกดอากาศสูงขึ้นในช่วงฤดูหนาวตั้งแต่ช่วงปลายปี จนเลยมาช่วงเดือนมกราคม – มีนาคมเลยทีเดียว ซึ่งนับว่าเป็นปัญหาที่กระทบต่อสุขภาพ เพราะการสูดดมฝุ่นควัน PM2.5 เป็นเวลานานอาจจะก่อให้เกิดโรคร้ายที่เกี่ยวกับทางเดินหายใจหรือโรคมะเร็งปอดได้ แต่หากเรามีภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงจะสามารถลดความเสี่ยงที่จะเกิดโรคที่เกี่ยวกับ PM2.5 ได้ ทำได้ยังไงมาดูกันครับ การสูดดม PM2.5 ทำไมถึงเกิดโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจหรือมะเร็งปอดได้? แม้ว่าเราจะไม่ได้สูบบุหรี่หรือทำงานที่ต้องสูดดมสารเคมีที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็ง แต่การอยู่ท่ามกลาง PM2.5 และต้องสูดดมเป็นเวลานานและต่อเนื่อง สามารถเกิดโรคมะเร็งปอดได้มากกว่าปกติ 1 – 1.4 เท่า ทำให้ฝุ่นขนาดเล็กจิ๋วสามารถเข้าไปในหลอดลมและปอด และเกิดการอักเสบขึ้น จนเซลล์ปอดมีการกลายพันธุ์จนกลายเป็นมะเร็งได้ในที่สุด โดยมะเร็งที่พบสัมพันธ์กับ PM2.5 คือ มะเร็งชนิดต่อม โดยผู้หญิงมีโอกาสเป็นมะเร็งชนิดนี้ได้มากกว่าผู้ชาย แต่หากมีการสูบบุหรี่ร่วมด้วยจะทำให้มีโอกาสเกิดมะเร็งเพิ่มขึ้น ทำไมการมีภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงถึงลดเสี่ยงจากโรคที่เกิดจาก PM2.5 ได้ ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายถือเป็นกลไกที่วิเศษอย่างมาก ที่สำคัญมีความซับซ้อนมากกว่าที่เราคิด เพราะทำงานร่วมกับอวัยวะต่าง ๆ ทั่วร่างกาย การมีภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงจึงหมายถึงการที่เรามีสภาวะที่สามารถต้านทานสิ่งแปลกปลอมที่จะเข้าสู่ร่างกายของเราได้ โดยเซลล์ภูมิต้านทานจะสามารถดักจับ ตรวจค้น และพร้อมทำลายสิ่งแปลกปลอมที่จะทำให้ร่างกายของเราป่วยหรือเป็นโรค เช่นเดียวกัน PM2.5 ถือเป็นสิ่งแปลกปลอมอย่างหนึ่งที่เข้าสู่ร่างกายของเรา ร่างกายจะพยายามกำจัดออก และระบบภูมิคุ้มกันก็จะทำงานในระดับเซลล์ที่จะไปควบคุมไม่ให้เซลล์มีการกลายพันธุ์ไปเป็นเซลล์มะเร็งได้ และโรคที่เกี่ยวกับทางเดินหายใจได้ จะเห็นได้ว่าหากเรามีภูมิคุ้มกันในร่างกายที่แข็งแรงเป็นทุนเดิม […]
New Year Resolution เป้าหมายของปีนี้ คือ มีสุขภาพดีมาพร้อมภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง
สวัสดีปีใหม่ชาว YOUR ที่รักสุขภาพทุกคนนะครับ เป็นอีกปีที่เชื่อว่าหลายคนตั้งเป้าหมายทำสิ่งใหม่ ๆ ที่เป็นการต้อนรับการเริ่มต้นใหม่ แม้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 จะดูคลี่คลายลงบ้างแล้ว แต่เชื่อว่าหลายคนยังคงกังวลเกี่ยวกับการระบาดของโรคนี้ด้วยที่ว่ายังสามารถกลายพันธุ์และสามารถติดได้แม้จะเคยติดมาแล้วก็ตาม ฉะนั้นหนึ่งในเป้าหมายที่อยากให้ทุกคนมีคือสุขภาพดีและภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง พร้อมรับมือกับทุกสถานการณ์ การสร้างภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงทำได้อย่างไรบ้าง? ภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงคือสภาวะที่สามารถต้านทานโรคได้ เรียกได้ว่าระบบภูมิคุ้มกันหรือระบบภูมิต้านทานสามารถปกป้องร่างกายของเราจากสิ่งแปลกปลอม ไม่ว่าจะเป็น แบคทีเรีย เชื้อโรค ไวรัส ปรสิต ฯลฯ เข้ามาคุกคามร่างกายของเราได้ โดยระบบภูมิคุ้มกันเป็นอีกหนึ่งระบบในร่างกายที่ซับซ้อนเพราะประกอบด้วยการทำงานของอวัยวะที่หลากหลาย ลึกระดับเซลล์และโมเลกุลเลยทีเดียว การทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของเราทำงานได้อย่างดีต้องอาศัยการปรับพฤติกรรมเหล่านี้ 1. สุขภาพดีได้ ด้วยการรับประทานสารสกัดจากเบต้ากลูแคน สารสกัดจากเบต้ากลูแคนนับเป็นสิ่งที่วงการวิทยาศาสตร์ให้การยอมรับว่าเป็นสารสกัดที่สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดีที่สุด ซึ่งนับเป็นทางเลือกสำหรับผู้ต้องการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันด้วยการรับประทานรูปแบบอาหารเสริม โดยเบต้ากลูแคนจะเข้าไปทำงานกับระบบภูมิคุ้มกันโดยตรง โดยเฉพาะเซลล์เม็ดเลือดขาว โดยไปกระตุ้นเซลล์ภูมิคุ้มกันเม็ดเลือดขาวขนาดใหญ่ แมคโครฟาจ (Macrophage) เซลล์ภูมิคุ้มกันเม็ดเลือดขาว นิวโตรฟิล (Neutrophil) และกระตุ้นเซลล์ภูมิคุ้มกัน เอ็น เค เซลล์ (Natural Killer Cell) ซึ่งเป็น 3 เซลล์ที่สำคัญมาก ๆ ต่อกลไกการทำงานของเซลล์ภูมิคุ้มกัน โดยจะทำการค้นหา ตรวจจับ และกำจัด สิ่งแปลกปลอม ก่อนจะเข้าสู่ร่างกายของเราได้ แน่นอนว่าการที่ร่างกายมีระบบภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง […]
นอนกรนสัญญาณโรคร้ายอะไรบ้าง?
แม้พฤติกรรมการนอนกรนจะดูเหมือนเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้กับหลาย ๆ คน แต่รู้ไหมครับว่าการนอนกรนนั้นสามารถที่บอกได้นะครับว่าคุณเสี่ยงจะเป็นโรคอะไรบ้าง เพราะการกรนถือเป็น “เรื่องไม่ปกติ” ในการนอนหลับพักผ่อนครับ มาดูกันครับว่าการนอนกรนทำไมถึงอันตราย และเสี่ยงโรคอะไรบ้าง? การนอนกรนเกิดจากอะไร? โดยปกติเมื่อเรานอนหลับกล้ามเนื้อต่าง ๆ จะหย่อนตัวหรือคลายตัวลง ซึ่งอวัยวะในทางเดินหายใจของเรา ไม่ว่าจะเป็นเพดานอ่อน โคนลิ้น ก็อาจจะหย่อนลงมาทำให้ทางเดินหายใจตีบหรือแคบลงได้ โดยเฉพาะท่านอนหงาย พอเราหายใจเอาอากาศเข้าลมที่ผ่านช่องนี้ก็จะทำให้กล้ามเนื้อกระพือจนเกิดเสียงเหมือนลมเป่าผ่านท่อ หากกรนเสียงดังมากและต่อเนื่องทั้งคืน แม้จะพลิกตัวก็แล้วการกรนก็ยังไม่หาย หรือเรียกได้ว่ากรนเป็นกิจวัตร อันนี้ต้องระวังเพราะเสี่ยงที่จะเป็นโรคได้ สาเหตุที่นอนกรนมีอะไรบ้าง? – น้ำหนักตัวเกินกว่าเกณฑ์มาตรฐาน เป็นโรคอ้วน – ไขมันในช่องคอหนา เนื่องจากมีการสะสมไขมันในร่างกายจำนวนมาก – ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เป็นประจำ ก็ทำให้กล้ามเนื้อหย่อนได้ – สูบบุหรี่เป็นประจำ ทำให้ลำคอและหลอดลมทำงานผิดปกติ – ความเหนื่อย กับการนอนกรน ก็มีส่วนเกี่ยวข้องกันอย่างมาก – ติดนิสัยนอนนอนหงายเป็นประจำ – อายุมากขึ้นทำให้กล้ามเนื้อหย่อนคล้อย นอนกรนเสี่ยงโรคเหล่านี้ โรคหัวใจ เนื่องจากการนอนกรนเกิดจากทางเดินหายใจที่แคบและตีบลง อาจจะทำให้ออกซิเจนไม่เพียงพอในร่างกาย และกลับทำให้ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้น ซึ่งมีงานวิจัยว่าผู้ที่มีอาการนอนกรนอาจจะเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจสูงมากกว่าคนทั่วไป โรคมะเร็ง อาจจะดูเป็นเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องกัน แต่พฤติกรรมการนอนกรนอาจจะเป็นสาเหตุของโรคมะเร็งได้ เนื่องจากการที่ร่างกายขาดออกซิเจนบ่อย ๆ […]