ในช่วงที่ผ่านมามีกระแสโรคมะเร็งชนิดหนึ่งที่หลายคนได้ยินคนรู้สึกตกใจเป็นอย่างมากนั่นคือ “โรคมะเร็งหัวใจ” พอได้ยินชื่อก็รู้สึกถึงความอันตรายเพราะเรารู้อยู่แล้วว่าหัวใจเป็นอวัยวะสำคัญที่สุดของร่างกาย แล้วหากเราเป็นมะเร็งที่หัวใจจะสามารถรักษาได้หรือไม่ หรือหายได้จากโรคนี้หรือไม่ มาทำความรู้จักกันครับ มะเร็งหัวใจคืออะไร? มะเร็งหัวใจ หรือ Heart Cancer โดยจัดว่าเป็นหนึ่งในมะเร็งชนิดหายาก จากสถิติผู้ป่วยโรคมะเร็งหัวใจมีน้อยมาก ประมาณ 2 ราย ต่อประชากร 100,000 ราย/ปี ซึ่งโรคมะเร็งหัวใจมักไม่ได้เกิดจากหัวใจโดยตรง แต่เกิดจากการลุกลามของมะเร็งจากอวัยวะอื่น ๆ เช่น มะเร็งปอด มะเร็งเต้านม หรือมะเร็งลำไส้ และเซลล์มะเร็งนั้น ๆ แพร่มายังหัวใจในที่สุด โดยมะเร็งหัวใจแบ่งได้ 2 ชนิดหลัก ๆ ได้แก่ 1. มะเร็งหัวใจปฐมภูมิ (Primary cardiac cancer) คือ มะเร็งที่เกิดจากเนื้อเยื่อของหัวใจเอง ซึ่งพบได้กับเนื้อเยื่อหัวใจทุกชนิด เช่น กล้ามเนื้อหัวใจ ลิ้นหัวใจ เยื่อหุ้มหัวใจ เนื้อเยื่อพังผืด ระบบประสาท เนื้อเยื่อหลอดเลือด ฯลฯ 2. มะเร็งหัวใจทุติยภูมิ (Secondary cardiac cancer […]
รู้จักโรคความดันโลหิตต่ำและความดันโลหิตสูง ต่างอย่างไร ดูแลตัวเองยังไง?
แม้จะมีโรคใหม่เกิดขึ้นเรื่อย ๆ รวมถึงสภาพอากาศที่แปรปรวนทำให้เราต้องเตรียมตัวรับมือกับสิ่งใหม่ที่เกิดขึ้นอย่างระมัดระวังเสมอ แต่ก็อย่าลืมโรคที่เคยมีอยู่เพราะว่าโรคเหล่านี้ก็ยังคงอยู่และสามารถทำให้เราป่วยได้เช่นเดิม อย่างเช่น โรคความดันโลหิต หลายคนเห็นคนใกล้ตัวเป็นจนคิดว่าเป็นเรื่องปกติทั้งที่ความจริงแล้วการเป็นโรคถือว่ามีความผิดปกติเกิดขึ้นกับร่างกายของเราแล้ว ทั้งยังแยกความอันตรายของความดันโลหิตต่ำ-สูง ยาก จึงอยากมาแนะนำความแตกต่างและการดูแลตัวเองที่แตกต่างกันของโรคนี้กันให้มากขึ้นครับ โรคความดันโลหิตต่ำ เป็นภาวะที่ความดันเลือดซิสโตลิกต่ำกว่า 90 มิลลิเมตรปรอท ซึ่งเป็นภาวะที่พบทุกเพศไม่ว่าจะผู้ชายหรือผู้หญิงก็มีความเสี่ยงพอ ๆ กัน ที่สำคัญไม่ว่าอายุเท่าไหร่ก็สามารถเป็นได้ ส่วนมากเกิดจากการขาดสารอาหารบางชนิด เช่น การรับประทานโปรตีนไม่เพียงพอ หรือการขาดวิตามินซีที่ทำให้ผนังหลอดเลือดไม่แข็งแรง จนเกิดการคลายตัว แต่จะสามารถหายเองได้ หากอยู่ในภาวะความดันโลหิตต่ำอาจจะไม่ก่อให้เกิดอาการใด ๆ แต่หากเกิดในผู้ป่วยที่มีภาวะเลือดไปหล่อเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ อาจจะทำให้เวียนหัว หน้ามืด เป็นลมได้ หรือเกิดตาพร่าชั่วขณะ คลื่นไส้ อาเจียน เหนื่อย และกระหายน้ำมากกว่าปกติ ดูแลร่างกายอย่างไรเมื่อความดันโลหิตต่ำ – ควรนั่งพัก โดยพยายามยกเท้าให้สูงกว่าระดับหัวใจเพื่อให้เลือดไปหล่อเลี้ยงสมอง – ไม่ควรยืนหรือเดินนาน ๆ ในทันทีที่มีอาการ – เลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน และแอลกอฮอล์ – เลี่ยงการนอนดึก เพราะการพักผ่อนไม่เพียงพอจะทำให้เกิดความดันโลหิตต่ำได้ง่าย ความดันโลหิตสูง โดยปกติแล้วหากวัดค่าความดันโลหิตคนปกติจะมีค่าอยู่ที่ประมาณ 120/80 มิลลิเมตรปรอท ซึ่งวัดจากการบีบตัวและคลายตัวของหัวใจ แต่หากวัดแล้วได้ค่าตั้งแต่ […]
PM2.5 ส่งผลร้ายต่อหัวใจ
แม้จะไม่อยากสัมผัสกับฝุ่น PM2.5 แต่ก็เป็นสิ่งที่เลี่ยงได้ยาก ยิ่งช่วงต้นปีค่าฝุ่นมักจะเข้มข้นขึ้นจนต้องอาศัยการสวมใส่หน้ากาก N95 ในบางวันที่จำเป็นต้องออกนอกบ้าน ซึ่งหลายคนทราบอยู่แล้วว่าฝุ่น PM2.5 นั้นมีความอันตรายอย่างมาก ก่อให้เกิดโรคที่เกี่ยวกับทางเดินหายใจ เฉพาะโรคมะเร็งปอด แต่สิ่งหนึ่งที่หลากคนอาจจะยังไม่ทราบว่าฝุ่นจิ๋วนี้มีผลร้ายต่อหัวใจของเราด้วย ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น แล้วเราจะลดความเสี่ยงได้อย่างไร? PM2.5 ส่งผลต่อหัวใจได้อย่างไร มีรายงานจากองค์การอนามัยโลกระบุว่า อากาศที่มีฝุ่น PM2.5 เข้มข้นเกิน 10 – 25 ไมโครกรัม / 1 ลูกบาศก์เมตร แล้วร่างกายได้สูดดมเข้าไปเป็นเวลานาน อาจจะเกิดการอักเสบ และส่งผลต่อการแข็งตัวของเลือด และการทำงานของเซลล์เยื่อบุหลอดเลือด อาจจะนำไปสู่โรคหัวใจ ซึ่งมีโอกาสที่จะเกิดเฉียบพลัน โดยส่งผลให้เส้นเลือดเปราะ เส้นเลือดแตก โดยความเสี่ยงสำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคหัวใจอยู่แล้ว หลอดเลือดหนาตัวมากขึ้น ทำให้กล้ามเนื้อผนังหลอดเลือดโตขึ้น นอกจากนี้ยังมีรายงานว่าการได้สูดดมฝุ่น PM2.5 แม้จะเป็นเวลาไม่นาน อาจจะส่งผลให้เกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ รวมไปถึงอาจจะเกิดภาวะหลอดเลือดแข็งตัว ความดันโลหิตสูงขึ้น โดยเฉพาะในผู้ป่วยโรคเบาหวาน หรือโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อการเกิดหลอดเลือดหัวใจตีบตัน และกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันได้ด้วย ซึ่งมีผลร้ายเทียบเท่ากับการสูบบุหรี่ และสำหรับคนทั่วไปก็อาจจะส่งผลให้เกิดโรคหัวใจได้มากยิ่งขึ้น แม้จะไม่ได้สูบบุหรี่ หรือได้รับควันบุหรี่มือสองก็ตาม PM2.5 เพิ่มความเสี่ยงให้คนที่เป็นโรคหัวใจมากขึ้น มีข้อมูลจากสมาคมโรคหลอดเลือดหัวใจในยุโรป […]