โปรตีนเป็นสารอาหารสำคัญที่ร่างกายต้องการเพื่อสร้างและซ่อมแซมเนื้อเยื่อ เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน และรักษาสมดุลของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่ต้องการการฟื้นฟูร่างกาย และเพื่อให้รับมือกับความเครียดจากอาการเจ็บป่วย การขาดโปรตีนจึงสามารถส่งผลเสียอย่างรุนแรงต่อสุขภาพของผู้ป่วยทั้งในด้านร่างกายและจิตใจ ที่หลาย ๆ คนอาจจะมองข้ามความสำคัญของโปรตีนไป ดังนี้ 1. ภูมิคุ้มกันอ่อนแอ โปรตีนมีบทบาทในการสร้างแอนติบอดี้ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของระบบภูมิคุ้มกันในการป้องกันการติดเชื้อ หากขาดโปรตีน ร่างกายของผู้ป่วยจะอ่อนแอและเสี่ยงต่อการติดเชื้อมากขึ้น เช่น ติดเชื้อในปอดหรือทางเดินหายใจ ซึ่งเป็นอันตรายอย่างยิ่งสำหรับผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแออยู่แล้ว 2. ผมร่วงและผิวหนังแห้ง โปรตีนเป็นส่วนสำคัญในการสร้างเคอราตินที่เป็นองค์ประกอบของเส้นผมและผิวหนัง การขาดโปรตีนทำให้ผมร่วง ผิวหนังแห้งและเปราะบาง เป็นปัจจัยที่อาจทำให้ผู้ป่วยรู้สึกไม่มั่นใจในตัวเองและอาจส่งผลทางจิตใจ ยิ่งอาจจะทำให้ผู้ป่วยยิ่งหมดกำลังใจในการรักษาโรคต่าง ๆ มากขึ้นด้วย การได้รับโปรตีนอย่างเพียงพอเป็นสิ่งจำเป็นต่อการดูแลผู้ป่วยอย่างมาก 3. อารมณ์แปรปรวนและซึมเศร้า โปรตีนมีบทบาทในการสร้างสารสื่อประสาท เช่น เซโรโทนินและโดพามีน ซึ่งช่วยควบคุมอารมณ์ การขาดโปรตีนอาจทำให้ผู้ป่วยรู้สึกหดหู่ ซึมเศร้า และอารมณ์แปรปรวนได้ง่าย ซึ่งอาจทำให้การฟื้นฟูช้าลง เนื่องจากสภาพจิตใจที่ไม่พร้อมต่อการฟื้นฟู รวมถึงขาดกำลังใจในการดูแลสุขภาพในการรักษาและการดูแลตัวเองอีกด้วย 4. สมองและความจำถดถอย โปรตีนมีส่วนสำคัญในการทำงานของสมอง การได้รับโปรตีนไม่เพียงพอ อาจจะทำให้การทำงานของสมองและความจำจะถดถอย ปฏิกิริยาการรับรู้และการคิดวิเคราะห์ช้าลง ส่งผลให้การทำกิจกรรมต่าง ๆ ยากขึ้น โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่มีปัญหาทางสมองอยู่แล้ว อาจจะยิ่งทำให้อาการแย่ลง 5. […]
10 เรื่องที่คิดไม่ถึง ถ้าร่างกายขาดโปรตีน
โปรตีนเป็นสารอาหารที่สำคัญ แต่หลายคนมักมองข้าม เพราะคิดว่าเราได้รับโปรตีนเพียงพอจากอาหารในชีวิตประจำวัน แต่ความจริงแล้ว หลายครั้งโปรตีนที่เราทานเข้าไปอาจไม่เพียงพอ ซึ่งการขาดโปรตีนอาจส่งผลต่อสุขภาพในแบบที่คุณคาดไม่ถึงได้เลย มาดูกันว่าการขาดโปรตีนสามารถส่งผลกระทบอะไรได้บ้าง 1. กล้ามเนื้อฝ่อลง โปรตีนเป็นส่วนประกอบหลักของกล้ามเนื้อ หากร่างกายขาดโปรตีน จะเริ่มย่อยกล้ามเนื้อมาใช้เป็นพลังงาน ส่งผลให้กล้ามเนื้อฝ่อลง การรับประทานโปรตีนเสริมสามารถช่วยให้ร่างกายได้รับโปรตีนเพียงพอและรักษามวลกล้ามเนื้อได้ 2. ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ โปรตีนมีบทบาทสำคัญในการสร้างแอนติบอดี หากร่างกายได้รับโปรตีนไม่เพียงพอ อาจส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานได้ไม่เต็มที่ การทานโปรตีนเพียงพอจะช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง 3. แผลหายช้า โปรตีนช่วยซ่อมแซมเนื้อเยื่อในร่างกาย การขาดโปรตีนทำให้ร่างกายฟื้นฟูแผลได้ช้าลง หากมีแผล การทานโปรตีนอย่างเพียงพอจะช่วยเร่งการซ่อมแซมเนื้อเยื่อได้ดี 4. ผมร่วงและเล็บเปราะ โปรตีนช่วยสร้างเคอราติน ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของเส้นผมและเล็บ การขาดโปรตีนอาจทำให้ผมหลุดร่วงง่ายและเล็บเปราะ การได้รับโปรตีนและกรดอะมิโนที่เพียงพอช่วยบำรุงผมและเล็บให้แข็งแรงขึ้น 5. การเจริญเติบโตล่าช้า สำหรับเด็กและวัยรุ่น การขาดโปรตีนส่งผลให้การเจริญเติบโตล่าช้า เพราะโปรตีนช่วยพัฒนากล้ามเนื้อและร่างกายโดยรวม หากต้องการส่งเสริมการเติบโต ควรเน้นโปรตีนในช่วงวัยนี้เป็นพิเศษ 6. อารมณ์แปรปรวน โปรตีนช่วยสร้างสารสื่อประสาท เช่น โดพามีนและเซโรโทนิน การขาดโปรตีนอาจทำให้อารมณ์ไม่สมดุล การทานโปรตีนจะช่วยให้สมองทำงานได้ดีขึ้นและช่วยปรับสมดุลของอารมณ์ 7. สมองทำงานลดลง โปรตีนช่วยส่งเสริมการส่งสัญญาณระหว่างเซลล์สมอง การขาดโปรตีนอาจส่งผลต่อสมาธิ ความจำ และการเรียนรู้ โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในวัยเรียนหรือวัยทำงาน การได้รับโปรตีนอย่างเพียงพอจึงจำเป็นต่อสมอง 8. […]
“โรคไหลตาย” กับการดูแลสุขภาพหัวใจ ด้วยฮอร์ธอร์นและโคคิวเท็น
หลายคนอาจจะเข้าใจว่าโรคไหลตายเป็นเพียงความเชื่อของชาวบ้านและผูกโยงกับความเชื่อเท่านั้น แต่โรคไหลตายนี้สามารถอธิบายตามหลักวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ได้ เพื่อป้องกันและเข้าใจโรคให้มากขึ้น มาดูข้อมูลชุดนี้กันครับ โรคไหลตายคืออะไร? โรคไหลตาย (Sudden Cardiac Arrest, SCA) เป็นภาวะที่หัวใจหยุดเต้นอย่างกะทันหัน ทำให้ไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปยังอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายได้ ส่งผลให้ร่างกายขาดออกซิเจนในทันที ซึ่งหากไม่ได้รับการช่วยเหลืออย่างทันท่วงที อาจส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อสมองและนำไปสู่การเสียชีวิตได้ การป้องกันโรคไหลตายจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ทุกคนตระหนัก เพราะโรคนี้นับว่าเป็นภัยเงียบที่คร่าชีวิตผู้คนแบบไม่รู้ตัวจำนวนมากในแต่ละปี โดยเฉพาะผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยง เช่น โรคหัวใจหรือประวัติครอบครัวเกี่ยวกับโรคหัวใจ ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคไหลตาย 1. โรคหัวใจ โดยส่วนมากผู้ที่เสียชีวิตจากโรคนี้มักเป็นผู้ที่มีประวัติเป็นโรคหัวใจ เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจตีบหรือโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคไหลตาย 2. ความดันโลหิตสูง ผู้ที่มีความดันโลหิตสูงมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและไหลตาย ยิ่งหลายคนมองข้ามเรื่องการดูแลโรคความดันโลหิตสูง เพราะคิดว่าไม่มีอาการร้ายแรง บางคนไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องด้วย ทำให้อาจจะเสี่ยงเกิดโรคไหลตายได้กะทันหัน 3. ระดับคอเลสเตอรอลสูง การมีระดับคอเลสเตอรอล (LDL) สูงสามารถเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจได้ เพราะเสี่ยงที่ไขมันจะเข้าไปอุกตัน หรือทำให้เส้นเลือดตีบตัน และการไหลเวียนของเลือดไปยังหัวใจทำได้ไม่ดี 4. พฤติกรรมการการสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป และการขาดการออกกำลังกายเป็นปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจได้มากกว่าคนที่ไม่ได้บริโภค การดูแลสุขภาพหัวใจป้องกันโรคไหลตาย การดูแลสุขภาพหัวใจเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันโรคไหลตาย หนึ่งในวิธีที่มีประสิทธิภาพสารสกัดที่ช่วยส่งเสริมสุขภาพหัวใจ เช่น […]