การรักษาโรคมะเร็งด้วยการใช้ยาเคมีบำบัดเป็นวิธีการรักษาที่มีประสิทธิภาพวิธีหนึ่งในปัจจุบัน แต่กลับเป็นวิธีที่มาพร้อมกับผลข้างเคียงที่กระทบต่อร่างกาย ไม่ว่าจะทำให้ผู้ป่วยอ่อนแอ ภูมิคุ้มกันต่ำ และเสี่ยงจะติดเชื้อต่าง ๆ ได้ง่าย ซึ่งอาจรวมถึงความเสียหายต่อเนื้อเยื่อดีและการสูญเสียมวลกล้ามเนื้อรอบ ๆ เซลล์มะเร็งที่โดนทำลายไปด้วย โปรตีนจึงกลายเป็นสารอาหารที่สำคัญยิ่งสำหรับการฟื้นฟูและรักษาความแข็งแรงของร่างกายสำหรับผู้ป่วยที่รักษามะเร็งอย่างมากครับ โปรตีนช่วยฟื้นฟูผู้ป่วยมะเร็งอย่างไร – ซ่อมแซมเนื้อเยื่อ: โปรตีนเป็นองค์ประกอบหลักของกระบวนการสร้างและซ่อมแซมเนื้อเยื่อในร่างกาย เคมีบำบัดอาจทำลายเซลล์ที่แบ่งตัวอย่างรวดเร็ว ซึ่งรวมถึงเซลล์ที่ดีรอบข้างเซลล์มะเร็งไปด้วย โปรตีนจำเป็นในการช่วยซ่อมแซมและการเจริญเติบโตของเซลล์ใหม่ – สนับสนุนระบบภูมิคุ้มกัน: โปรตีนมีส่วนช่วยในการผลิตแอนติบอดีและเซลล์ภูมิคุ้มกันอื่น ๆ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการต่อสู้กับการติดเชื้อและยับยั้งการเติบโตของเนื้อร้าย – ป้องกันการสูญเสียกล้ามเนื้อ: โปรตีนช่วยป้องกันภาวะการสูญเสียมวลกล้ามเนื้อ ซึ่งเป็นผลข้างเคียงที่พบบ่อยจากการรักษามะเร็งและสามารถนำไปสู่ความอ่อนแอทั่วไปได้ การเลือกโปรตีนในอาหารของผู้ป่วยเคมีบำบัด การรับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูงสำคัญอย่างยิ่งสำหรับผู้ป่วยที่รับเคมีบำบัด เพื่อให้แน่ใจว่าร่างกายมีสารอาหารที่เพียงพอในฟื้นตัวและซ่อมแซมเนื้อเยื่อของร่างกาย ควรรู้ว่าปกติร่างกายคนทั่วไปที่ไม่ได้ป่วยเป็นโรค ควรได้รับโปรตีนตามปริมาณน้ำหนักตัว เช่น น้ำหนัก 50 กิโลกรัม ควรได้รับโปรตีนประมาณ 50 กรัมต่อวัน ซึ่งหากเป็นผู้ป่วยที่รับเคมีบำบัดต้องการโปรตีนในปริมาณที่มากกว่านั้นอย่างน้อย 60 – 75 กรัมต่อวัน เพราะต้องนำไปฟื้นฟูและซ่อมแซมเซลล์ต่าง ๆ ที่ถูกทำลายไป รวมไปถึงสร้างภูมิคุ้มกันในร่างกายเพื่อช่วยให้ร่างกายแข็งแรงขึ้น อาหารที่มีโปรตีนสูง เช่น – โปรตีนจากสัตว์ ควรเลือกโปรตีนที่ย่อยง่าย […]
“ผู้ป่วย” ต้องการโปรตีนมาก แตกต่างกับคนทั่วไปเพื่อฟื้นฟูร่างกาย
โปรตีนเป็นหนึ่งในสารอาหารหลักที่มีบทบาทสำคัญต่อการเจริญเติบโตและการซ่อมแซมเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย สำหรับผู้ป่วยแล้ว โปรตีนไม่เพียงแต่ช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันแข็งแรง แต่ยังช่วยในการฟื้นฟูร่างกายหลังการบาดเจ็บหรือผ่าตัด หรือกระทั่งช่วยให้ร่างกายแข็งแรงหากเป็นโรคประจำตัวต่าง ๆ ที่สำคัญโปรตีนสำหรับผู้ป่วยนั้นถือเป็นสารอาหารสำคัญและจำเป็นอย่างมาก ความต้องการโปรตีนของร่างกาย โดยปกติร่างกายมนุษย์ปกติต้องการโปรตีนประมาณ 1 กรัมต่อกิโลกรัมของน้ำหนักตัวต่อวัน เช่น น้ำหนักตัว 50 กิโลกรัม ร่างกายต้องการโปรตีนประมาณ 50 กรัม / วัน แต่ความต้องการโปรตีนของผู้ป่วยอาจสูงกว่านี้ ขึ้นอยู่กับสภาพโรคและความเสียหายที่เกิดขึ้นกับร่างกาย อาจจะสูงถึง 75 – 100 กรัม เพื่อทดแทนและซ่อมและเนื้อเยื่อที่เสียหายจากการรักษาโรคและการฟื้นฟูสมรรถภาพของอวัยวะต่าง ๆ ผู้ป่วยที่ต้องการโปรตีนเพิ่มเติม ผู้ป่วยที่มีบาดแผลหรือผ่าตัด: การรักษาบาดแผลต้องการโปรตีนสูงเพื่อช่วยซ่อมแซมเนื้อเยื่อและสร้างเนื้อเยื่อใหม่ ผู้ป่วยที่มีโรคเรื้อรัง: เช่น โรคไต, มะเร็ง หรือโรคเบาหวาน ซึ่งมีการแสดงให้เห็นว่าโปรตีนช่วยในการบริหารจัดการอาการของโรค ผู้สูงอายุที่มีสุขภาพอ่อนแอ: การเพิ่มโปรตีนในอาหารช่วยป้องกันการสูญเสียมวลกล้ามเนื้อที่อาจเกิดขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น ผู้ป่วยที่อยู่ในระหว่างการฟื้นฟูร่างกาย: โปรตีนมีบทบาทสำคัญในการฟื้นฟูพลังงานและกำลังกาย ผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันร่างกายอ่อนแอ: โปรตีนสามารถช่วยกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรงได้ โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคมะเร็งที่กำลังได้รับยาเคมีบำบัด ที่อาจจะได้รับผลข้างเคียงจากการรักษา ซึ่งหากผู้ป่วยได้รับโปรตีนอย่างเพียงพอก็จะช่วยฟื้นฟูร่างกายได้ดียิ่งขึ้น แหล่งโปรตีนที่สำคัญสำหรับผู้ป่วย โปรตีนสามารถพบได้ทั้งในอาหารจากสัตว์และพืช เช่น […]
ความเชื่อผิด ๆ ของผู้สูงอายุ ทำให้ร่างกายขาด “โปรตีน”
อย่างที่หลายคนทราบว่าโปรตีนเป็นหนึ่งในสารอาหารพื้นฐานที่ร่างกายต้องการ ซึ่งเป็นโภชนาการที่วัยไหนก็ขาดไม่ได้ แต่มีความเชื่อผิด ๆ ที่ผู้สูงอายุเข้าใจกัน คือ การรับประทานโปรตีน โดยเฉพาะโปรตีนจากพืชนั้นไม่ดีต่อร่างกาย ก่อให้เกิดโรคต่าง ๆ ทำให้ผู้สูงอายุเน้นไปที่การรับประทานผักและผลไม้เป็นหลัก หลายคนเลือกที่ปฏิเสธการทานโปรตีนไปเลยก็มี ซึ่งนี่ถือเป็นความเชื่อที่ผิด ๆ ที่ส่งผลต่อสุขภาพของผู้สูงอายุอย่างมาก เพราะอะไรมาดูเหตุผลกันครับ ความเชื่อผิด ๆ ของผู้สูงอายุที่มีต่อโปรตีน ด้วยองค์ความรู้ที่สมัยก่อนมีอยู่อย่างจำกัด รวมไปถึงการส่งต่อความเชื่อที่ผิด ๆ ด้วยคติทางศาสนาและรสนิยม ทำให้ผู้สูงอายุหลายคนมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อโปรตีน โดยเฉพาะโปรตีนที่มาจากสัตว์ ทำให้หลาย ๆ คนเลือกที่จะไม่ทาน ไม่ดื่ม ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของสัตว์เลย เพราะเชื่อว่าโปรตีน (จากสัตว์) ทำให้เป็นโรคต่าง ๆ เช่น โรคความดัน โรคไขมันสูง และโรคมะเร็ง นั่นจึงทำให้ผู้สูงอายุหลายคนเลือกจะทานแค่ผัก ผลไม้ และธัญพืชบางชนิด ทำให้ร่างกายของผู้สูงอายุได้รับสารอาหารที่ไม่เพียงพอ โดยเฉพาะโปรตีน และเสี่ยงที่ร่างกายจะอ่อนแล ภูมิคุ้มกันตก เสี่ยงติดเชื้อ และเป็นโรคต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น โปรตีนจากพืชทางเลือกสำหรับผู้สูงอายุ โปรตีนจากพืชถือเป็นทางเลือกที่เหมาะกับผู้สูงอายุที่มีความเชื่อที่ผิด ๆ และกลัวการทานโปรตีน […]