ภาวะแพ้อาหารเป็นปัญหาสุขภาพที่ส่งผลกระทบต่อคนหลายล้านคนทั่วโลก โดยเฉพาะการแพ้นมวัวที่เป็นเรื่องที่พบได้บ่อยมาก ผู้ที่มีภาวะแพ้นมวัวโดยเฉพาะในเด็ก อาจจะเสี่ยงต่อภาวะการขาดแคลนสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย โดยเฉพาะโปรตีน แต่ปัจจุบันโปรตีนจากพืชสามารถเป็นทางเลือกที่ดีในการช่วยฟื้นฟูและเสริมสร้างสุขภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ ภาวะแพ้อาหารแพ้นมวัวและผลกระทบต่อสุขภาพ การแพ้นมวัวเกิดจากการที่ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายตอบสนองผิดปกติต่อโปรตีนนมวัว เช่น เคซีนและเวย์ ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการแพ้ต่างๆ เช่น ผื่นคัน ท้องอืด ท้องเสีย หายใจไม่ออก และอาจรุนแรงถึงขั้นช็อกได้ การหลีกเลี่ยงนมวัวและผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของนมวัวจึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผู้ที่มีภาวะแพ้นี้ ทานโปรตีนจากพืชทดแทน: ทางเลือกที่ปลอดภัยและมีประโยชน์ โปรตีนจากพืชเป็นทางเลือกที่ปลอดภัยและมีประโยชน์สำหรับผู้ที่มีภาวะแพ้นมวัว เพราะโปรตีนจากพืชไม่มีโปรตีนที่กระตุ้นการแพ้ที่พบในนมวัว โดยสามารถบริโภคร่วมกับการทานอาหารให้ครบตามโภชนาการ ก็จะช่วยให้ได้รับโปรตีนตามที่ร่างกายต้องการ ที่สำคัญโปรตีนจากพืชยังมีประโยชน์กับสุขภาพและสุขภาวะในหลาย ๆ ด้าน เช่น 1. ลดความเสี่ยงต่อการแพ้ โปรตีนจากพืชไม่มีโปรตีนที่กระตุ้นการแพ้ในผู้ที่มีภาวะแพ้นมวัว จึงสามารถรับประทานได้อย่างปลอดภัย โดยไม่ต้องกังวลเรื่องการแพ้ 2. เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน โปรตีนจากพืชบางชนิด เช่น ถั่วเหลือง ถั่วลันเตา ข้าวกล้อง เมล็ดฟักทอง ควินัว และอัลมอนด์ มีสารต้านอนุมูลอิสระและวิตามินที่ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ทั้งยังช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเรื้อรังได้ เช่น โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน โรคที่เกี่ยวกับภูมิคุ้มกัน เป็นต้น 3. ช่วยในการย่อยอาหาร โปรตีนจากพืชมีใยอาหารสูงที่ช่วยในการย่อยอาหารและการทำงานของลำไส้ […]
โปรตีนพืชช่วยลดความเสี่ยงโรคเรื้อรัง มีวิธีการทานอย่างไรให้ได้ผล
ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา แนวโน้มพฤติกรรมการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากในภาพใหญ่ ๆ โดยเฉพาะในเรื่องของการบริโภคโปรตีนพืช ที่มีความนิยมมากขึ้น โดยผู้บริโภคเองนอกจากจะใส่ใจในเรื่องสุขภาพและปัญหาผลกระทบของสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังมีงานการวิจัยสนับสนุนและแสดงให้เห็นว่าโปรตีนพืชสามารถช่วยลดความเสี่ยงของโรคเรื้อรังได้อย่างมีนัยสำคัญ มาดูกันครับว่ามีเรื่องน่าสนใจอะไรบ้าง ความสำคัญของโปรตีนพืช โปรตีนเป็นสารอาหารที่มีความจำเป็นต่อการเจริญเติบโตและการซ่อมแซมเนื้อเยื่อในร่างกาย ปกติแล้วโปรตีนที่เราได้รับมักมาจากเนื้อสัตว์ ที่เราสามารถบริโภคได้ในทุก ๆ วัน ทั้งเนื้อหมู เนื้อวัว เนื้อปลา ฯลฯ แต่ปัจจุบันโปรตีนจากพืชก็เป็นแหล่งโปรตีนที่สำคัญไม่แพ้กัน เช่น ถั่ว, เมล็ดพืช, ธัญพืช, และพืชตระกูลถั่วต่างๆ ซึ่งโปรตีนจากพืชบางชนิดก็สามารถให้ปริมาณโปรตีนมากพอ ๆ กับโปรตีนจากสัตว์ และที่สำคัญกวนการผลิตยังมีผลกระทบต่อสุขภาพน้อยกว่าด้วย โปรตีนพืชและการป้องกันโรคเรื้อรัง 1. ลดความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด: การบริโภคโปรตีนพืชแทนโปรตีนจากสัตว์ช่วยลดปริมาณไขมันอิ่มตัวและคอเลสเตอรอลในอาหาร ทำให้ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด นอกจากนี้โปรตีนพืชยังมีสารต้านอนุมูลอิสระและใยอาหารที่ช่วยในการควบคุมระดับคอเลสเตอรอลในเลือด 2. ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด: การบริโภคโปรตีนพืช เช่น ถั่วลันตา เมล็ดฟักทอง หรือข้าวกล้อง มีผลในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่มีความเสี่ยงหรือเป็นโรคเบาหวาน โดยโปรตีนพืชมีใยอาหารสูงที่ช่วยในการควบคุมการดูดซึมน้ำตาลในลำไส้ 3. ลดความเสี่ยงโรคมะเร็ง: งานวิจัยบางชิ้นแสดงให้เห็นว่าการบริโภคโปรตีนพืชสามารถลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งบางชนิด เช่น มะเร็งลำไส้ใหญ่ เนื่องจากโปรตีนพืชมีสารต้านอนุมูลอิสระและใยอาหารที่ช่วยในการล้างสารพิษและสารเคมีที่เป็นอันตรายออกจากร่างกาย 4. เสริมสร้างสุขภาพลำไส้: โปรตีนพืชมีใยอาหารสูงที่เป็นประโยชน์ต่อระบบย่อยอาหารและการทำงานของลำไส้ […]
ทำไมคนอายุน้อยก็เสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง
โรคความดันโลหิตสูง (Hypertension) เป็นภาวะที่มีความดันเลือดในหลอดเลือดสูงกว่าปกติ ซึ่งปกติแล้วเรามักจะเห็นผู้ป่วยโรคนี้กับวัยกลางคนหรือผู้สูงอายุ แต่ในปัจจุบันพบว่าคนหนุ่มสาวและวัยรุ่นก็สามารถเสี่ยงเป็นโรคนี้ได้เช่นกัน เรามาดูกันว่าทำไมคนที่อายุยังน้อยถึงมีความเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง รวมถึงวิธีการป้องกันและดูแลสุขภาพที่ควรทำตั้งแต่ตอนนี้ ปัจจัยที่ทำให้คนอายุน้อยเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูงเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตเป็นปัจจัยหลัก 1. การบริโภคอาหารที่มีโซเดียมสูง การทานอาหารฟาสต์ฟู้ด ขนมขบเคี้ยว และอาหารที่มีรสเค็มจัดเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคความดันโลหิตสูงได้มากขึ้น โดยหากสังเกตอาหารยอดฮิตในปัจจุบันมักเป็นอาหารที่มีความเค็มสูง รสจัด ซึ่งอาหารรสเหล่านี้มักจะทำให้ผู้คนบริโภคมากขึ้นโดยไม่รู้ตัว เพราะอาหารที่มีโซเดียมสูงเปิดการรับรสได้ดี จึงทำให้ผู้บริโภคสัมผัสถึงรสอาหารได้มากขึ้น และรับประทานในปริมาณที่มากขึ้นเช่นกัน 2. การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนสูง การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จะทำให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนแอลโดสเตอโรน (aldosterone) สูงขึ้น ทำให้ร่างกายมีการสะสมน้ำและโซเดียมมากกว่าปกติ หากดื่มเป็นประจำก็จะเกิดโรคความดันโลหิตสูงได้ ส่วนการดื่มคาเฟอีนเป็นประจำจะทำให้หัวใจทำงานหนักขึ้น เนื่องจากคาเฟอีนจะไปกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง นอกจากจะทำให้ติดแล้ว ยังทำให้ร่างกายตื่นตัว การดื่มคาเฟอีนในปริมาณมากในเวลาใกล้เคียงกัน เพราะอาจทำให้ความดันโลหิตทั้งขณะหัวใจบีบตัวและคลายตัวเพิ่มขึ้นด้วย 3. การไม่ออกกำลังกาย ในคนที่มีความดันโลหิตอยู่ในเกณฑ์ปกติ การออกกำลังกายจะช่วยลดความดันโลหิตให้อยู่ในระดับที่ดีได้ มีการศึกษาว่าการออกกำลังกายแบบแอโรบิค (Aerobic) สามารถช่วยลดความดันโลหิตในค่า Systolic ได้ประมาณ 2-3 mmHG และยังพบว่าถ้าความดันโลหิตลดลงอย่างน้อย 2 mmHG จะส่งผลให้ลดความเสี่ยงต่อการเกิดหลอดเลือดสมองตีบหรือแตกได้ (Stroke ) ได้ถึงร้อยละ 14 และลดความเสี่ยงต่อการที่จะเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจได้ร้อยละ 9 การออกกำลังจึงเป็นหนึ่งปัจจัยที่สำคัญในการรักษา […]