รู้ไหมครับ? คนไทยหลายคนมีภาวะอ้วนโดยไม่รู้ตัว เพราะคิดว่าการที่น้ำหนักตัวขึ้นของตัวเองไม่ได้กระทบถึงชีวิตประจำวัน อาศัยการปรับตัวก็พอจะมองข้ามน้ำหนักที่เกินของตัวเองได้ แต่กลับไม่ได้สังเกตความผิดปกติของการสะสมไขมันในร่างกาย โดยเฉพาะการอ้วนลงพุง ซึ่งภาวะอ้วนหรือโรคอ้วนที่หลายคนมองข้าม เป็นภัยเงียบที่อาจนำมาสู่ปัญหาโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือโรครักษาไม่หายในอนาคตได้นะครับ “โรคอ้วน” ภัยเงียบ และประตูสู่โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือ (NCDs) ข้อมูลจากปี 2557 ถึงปัจจุบัน คนไทยกว่า 19.3 ล้านคน คิดเป็น 34.1% มีภาวะ “อ้วน” และมีคนไทยที่รอบเอวเกิน “อ้วนลงพุง” กว่า 20.8 ล้านคน โดยทั้ง 2 กลุ่ม เสี่ยงป่วยเป็นโรค NCDs ไม่ว่าจะเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง หรือกระทั่งโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งเสี่ยงที่จะนำไปสู่ภาวะหัวใจวายหรือหัวใจล้มเหลวเฉียบพลันได้ โรคอ้วน ไม่ใช่แค่น้ำหนักตัวขึ้นเท่านั้น แต่คือภาวะที่ร่างกายมีการสะสมไขมันมากกว่าปกติ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ อ้วนลงพุง พบมากในผู้ชาย มีการสะสมไขมันบริเวณช่องท้องและอวัยวะภายใน เช่น ตับ ไต ลำไส้ กระเพาะอาหาร […]
5 สัญญาณที่บอกว่าร่างกายของเราไม่ใช่วัยรุ่นแล้วนะ!
ใครก็ไม่อยากพ้นวัยรุ่น วัยหนุ่มสาวจริงไหมครับ? แต่กาลเวลาไม่คอยใครจริง ๆ เหมือนเราเพิ่งเรียนจบ ทำงานมาได้ไม่นาน ผ่านมาอีกที ก็ร่วมหลายปีเข้าไปแล้วนะครับ หลายคนอาจจะสังเกตความเปลี่ยนแปลงของร่างกายที่เกิดขึ้น จากอายุที่มากขึ้น วันนี้ชวนเช็กสัญญาณที่บอกว่าเราไม่ใช่วัยรุ่นแล้วนะ แต่ยังมีวิธีเซฟความเป็นวัยรุ่นให้อยู่กับเราแม้อายุจะเลยแล้วก็ตาม! สัญญาณอะไรบ้าง มีข้อปฏิบัติอย่างไร เรามาเช็กกัน ภูมิตกง่ายขึ้น: สังเกตไหมครับว่าเราอายุมากขึ้น รู้สึกร่างกายอ่อนแอลง นอนไม่พอนิดหน่อยก็ป่วยง่าย ยิ่งคนเป็นภูมิแพ้ก็ยิ่งไวต่อสิ่งเร้าได้มากขึ้นเท่าตัวเลย วิธีรับมือ: รับประทานวิตามินเสริมภูมิต้านทาน เช่น เบต้ากลูแคน จะช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน และกระตุ้นให้เซลล์เม็ดเลือดขาวสร้างภูมิคุ้มกันได้ดีขึ้น ป้องกันการป่วยบ่อย คนเป็นภูมิแพ้ลดความเสี่ยงที่จะโดนสิ่งเร้ากระตุ้นได้ ให้เลือกเป็นเบต้ากลูแคนชนิดเบต้า 1,3/1,6 D-กลูแคนที่ทำจากผนังเซลล์ของยีสต์ Saccharomyces Cerevisiae ซึ่งมีส่วนช่วยในการเสริมภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย และมีประสิทธิภาพสูงสุดเท่าที่วงการวิทยาศาสตร์รู้จักในปัจจุบัน น้ำหนักขึ้นง่าย: ทานอะไรนิดอะไรหน่อยก็น้ำหนักขึ้นง่าย ๆ และก็ลงยากมากด้วยเช่นกัน วิธีรับมือ: ต้องเลือกรับประทานอาหารมากขึ้นนะครับ เลี่ยงอาหารที่ไขมันสูง น้ำตาลสูง หรือโซเดียมสูง โดยเฉพาะอาหารประเภทบุฟเฟ่ต์ เนื่องจากอาจจะทำให้เราทานเกินกว่าที่ร่างกายต้องการได้ ค่าสายตาเปลี่ยน: หลายคนสายตาปกติมาทั้งชีวิต อาจจะเริ่มมาเปลี่ยนช่วงที่อายุมากขึ้น ไม่ว่าจะสายตาสั้นหรือยาว วิธีรับมือ: ต้องรีบตัดแว่น เพราะหากพยายามใช้สายตาที่ไม่ปกติจะทำให้เราต้องเพ่งมากขึ้น และค่าสายตาก็จะยิ่งเปลี่ยนนะครับ ที่สำคัญต้องถนอมดวงตา […]
ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง อยากเริ่มออกกำลังกายต้องรู้อะไรบ้าง?
สำหรับผู้ป่วยความดันโลหิตสูงหลาย ๆ อาจจะกลัวการออกกำลังกาย เพราะการขยับร่างกายเร็ว ๆ หลายคนก็อาจจะเวียนหัวหน้ามืดได้ เลยไม่พยายามที่จะออกกำลังกาย แต่รู้หรือไม่ว่าการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ไม่ต้องหนัก ไม่ต้องฝืน หรือเหนื่อยจะจนเกิน สามารถช่วยให้ความดันโลหิตกลับมาเป็นปกติได้นะครับ มาดูกันครับว่าสิ่งที่ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงควรรู้ก่อนออกกำลังกายมีอะไรบ้าง ความเข้าใจผิด โรคความดันโลหิตสูงไม่ควรออกกำลังกาย การเกิดโรคความดันโลหิตมีหลายสาเหตุ แต่หนึ่งในปัจจัยที่มองข้ามไม่ได้ คือ การรับประทานอาหารรสจัดเป็นประจำ ซึ่งส่งผลให้เลือดมีความหนาแน่นและความดันสูงขึ้น ไขมันจะซึมผ่านหลอดเลือดเข้าไป ทำให้รูหลอดเลือดแคบลง สิ่งที่ตามมาคือเลือดไหลเวียนได้ลำบากมากขึ้น ซึ่งทำให้หลายคนเข้าใจผิดว่าการออกกำลังของคนที่เป็นโรคความดันสูงจะทำให้หัวใจเต้นแรงขึ้น เสี่ยงที่จะทำให้เส้นเลือดแตก แล้วกลายเป็นอัมพฤกษ์หรืออัมพาต หรือเสี่ยงภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน จึงเลี่ยงที่จะออกกำลังกาย แต่มีรายงานและวิจัยในปัจจุบันต่างบอกว่าการออกกำลังกายเป็นหนึ่งในปัจจัยที่จะสามารถควบคุมความรุนแรงของโรคได้นะครับ การออกกำลังกายช่วยควบคุมความดันโลหิตสูงได้ การออกกำลังกายสามารถช่วยควบคุมความดันโลหิตสูงได้ เพราะสามารถไปช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นของเส้นเลือด ลดไขมันทั้งร่างกายและในหลอดเลือด เนื่องจากช่วงที่ออกกำลังกายร่างกายจะนำส่วนของไขมันไปใช้ ทำให้ความต้านทานในหลอดเลือดและหัวใจลดลง เลือดไหลเวียนและสูบฉีดได้ดีขึ้น ทำให้โดยรวมความดันโลหิตที่เคยสูงกว่าเกณฑ์ลดลงได้ นอกจากนี้การออกกำลังกายยังช่วยเพิ่มกล้ามเนื้อตามส่วนต่าง ๆ ช่วยให้การเผาผลาญเป็นไปได้ดีมากขึ้น ควบคุมประสิทธิภาพในการควบคุมน้ำหนัก ส่งผลให้ผู้ป่วยมีรูปร่างที่ดีขึ้น และมั่นใจในการรักษามากขึ้นอีกด้วย ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงออกกำลังกายแบบไหนดี แนะนำให้ออกกำลังกายที่เหนื่อยไม่มาก รู้สึกไม่หอบ หายใจได้ตามจังหวะ เช่น การออกกำลังกายแบบแอโรบิก การเดินเร็ว การว่ายน้ำ หรือโยคะ เป็นต้น ในช่วงแรกอาจจะทำครั้งละ 20-30 […]