ต้องยอมรับเลยครับว่าปัจจุบันนี้ โลกโซเชียลมีผลต่อชีวิตของเรามาก ๆ แม้ว่าเราจะมีโลกแห่งความเป็นจริงที่เราต้องใช้ชีวิตจริง ๆ ของเรา แต่โซเซียลที่คู่ขนานกับโลกจริงของเรามีอิทธิพลต่อการใช้ชีวิตมหาศาล ซึ่งก็มีข้อดีมากมาย ไม่ว่าจะทำให้เรารู้จักโลกที่กว้างใหญ่ใบนี้อย่างไร้ขีดจำกัด รวมไปถึงได้มองเห็นความหลากหลาย และสร้างวัฒนธรรมในการใช้ชีวิตใหม่ ๆ ได้มากมาย แต่ก็ต้องยอมรับว่าข้อเสียที่อาจจะทำให้ผู้คนป่วยได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะโรคที่ใครก็ไม่อยากเป็นอย่างโรคหัวใจและหลอดเลือด ทำไมโซเชียลมีผลมาดูเหตุผลกันครับ? ความรวดเร็วและพฤติกรรมที่พลาดไม่ได้ พฤติกรรมการใช้โซเชียลของผู้คนต้องการความรวดเร็วมากยิ่งขึ้น ทำให้คอนเท็นหรือเนื้อหาต้องรวดเร็ว ว่องไว ทำให้สร้างพฤติกรรมที่พลาดไม่ได้ขึ้นมา ส่งผลให้ผู้คนรู้สึกว่าการรอเป็นเรื่องที่ทำได้ยากขึ้น หลายครั้งการติดตามข่าวสารเรื่องหนึ่ง ๆ จนไม่สามารถทนรอได้จนกลายเป็นความกระวนกระวายใจ หงุดหงิด เกิดภาวะทางอารมณ์ที่ยากต่อการควบคุม และแน่นอนว่าทำให้เกิดความเครียดจากการต้องเฝ้ารอหน้าจอตลอดเวลา ส่งผลต่อสุขภาพจากความเครียดและพักผ่อนไม่เพียงพอ นี่ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่อาจจะทำให้เกิดโรคหัวใจได้ในอนาคตนะครับ เนื้อหาที่รุนแรงที่ส่งผลต่อหัวใจ ในโลกโซเชียลเราไม่สามารถควบคุมการไหลบ่าของเนื้อหาที่มากมายมหาศาลได้ แม้แพล็ตฟอร์มต่าง ๆ จะมีมาตรการในการปิดกั้นข้อมูลที่รุนแรงหรือมีความกระทบกระเทือนจิตใจผู้ใช้ แต่เนื่องจากข้อมูลที่มากมายมหาศาลก็ไม่สามารถควบคุมได้หมดนะครับ หลายครั้งทำให้เราเห็นภาพ เสียง หรือคลิปวิดีโอที่มีเนื้อรุนแรง กระทบกระเทือนจิตใจ เป็นภาพจำที่ส่งผลต่อจิตใจและร่างกายของเรา โดยเฉพาะในผู้สูงอายุหรือผู้ที่ป่วยเป็นโรคเกี่ยวกับหัวใจ จะมีความอ่อนไหวต่อเรื่องที่กระทบจิตใจเป็นพิเศษ การที่ต้องเสพสื่อเหล่านี้ก็นับว่าเพิ่มปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้อาการของโรคเพิ่มขึ้น และเสี่ยงที่จะเกิดเหตุไม่คาดคิดอย่างหัวใจวายเฉียบพลันได้ด้วย สร้างพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ทำลายสุขภาพ การเลียนแบบเนื้อหาจากในโลกออนไลน์หรือที่หลายคนเรียกว่าเทรนด์ ถือเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นในสังคมในยุคนี้เลยก็ว่าได้ เพราะมักจะมีเทรนด์ใหม่ ๆ เกิดขึ้นอยู่เสมอ ซึ่งบางเทรนด์ก็ดูไม่มีพิษภัย แต่บางเทรนด์ก็อาจจะสร้างความเสียหายให้ตัวเองและคนอื่นได้ แต่เนื้อหาที่สร้างผลกระทบในระยะยาวให้หลาย ๆ […]
ทำงานหนักเกิน เสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองมากขึ้น!
หลายคนที่อยู่ในวัยกำลังสร้างเนื้อสร้างตัว ไม่ว่าจะมีโอกาสอะไรเข้ามาก็ต้องรีบไขว่คว้าไว้ โดยมักจะเป็นช่วงที่ร่างกายยังแข็งแรงและสามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ จึงยกให้เรื่องงานเป็นความสำคัญอันดับหนึ่งในชีวิต หลายคนทำงานจนลืมวันลืมคืน หลายคนไม่ได้ทานข้าวให้ตรงเวลา และมีหลายคนที่ทำงานหนักจนไม่ได้พักผ่อนให้เต็มที่ รู้ไหมครับในอนาคตจะสร้างผลเสียต่อสุขภาพ โดยเฉพาะสุขภาพหลอดเลือดในสมองที่เรามักมองข้ามเสมอ โรคหลอดเลือดในสมองเกิดขึ้นได้อย่างไร? หลายคนอาจจะเข้าใจว่าโรคหลอดเลือดในสมองเกิดขึ้นกับคนที่อายุมากเท่านั้น แต่จริง ๆ โรคนี้เกิดขึ้นได้ในวัยรุ่นไปจนถึงผู้สูงวัยเลยนะครับ ซึ่งอาการหรือความผิดปกติที่เกิดขึ้นก็สามารถเกิดขึ้นได้หลายรูปแบบ โดยจะพบได้ 2 รูปแบบใหญ่ ๆ ได้แก่ 1. หลอดเลือดในสมองอุดตันหรือตีบตัน เป็นสาเหตุที่เกิดได้บ่อย เกิดจากการที่เส้นเลือดใหญ่แข็งตัวและตีบตัน หรือมีก้อนเลือดไปอุดตันเป็นลิ่มเลือดในเส้นเลือดใหญ่ในสมอง 2. หลอดเลือดสมองแตกเฉียบพลัน เกิดจากการที่ผนังเส้นเลือดเสื่อมสภาพ หรือการแตกของเส้นเลือดโป่งพอง ทำให้เกิดเลือดออกในสมอง และอาจจะถึงขั้นเสี่ยงที่จะหมดสติ และเสียชีวิตฉับพลันได้เลย ทำไมวัยทำงาน ทำงานหนัก ถึงเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดในสมอง? อย่างที่กล่าวไปข้างต้นนะครับว่าวัยทำงานมักจะโฟกัสที่การทำงานมากกว่าเรื่องอื่น ๆ ในชีวิต จึงทำให้ละเลยในการดูแลสุขภาพ โดยเฉพาะอาหารที่ทานในทุกวัน เน้นเร็ว สะดวก อิ่มท้อง ไม่ได้เลือกอาหารที่มีประโยชน์มากนัก ทั้งยังปฏิเสธการออกกำลังกาย รวมไปถึงใช้เวลาไปกับการสังสรรค์ ดื่มแอลกอฮอล์ รวมไปถึงการสูบบุหรี่ พร้อมกับความเครียดสะสม ทำให้ฮอร์โมนในร่างกายและภูมิคุ้มกันทำงานได้ไม่ปกติอีกด้วย ปัจจัยในชีวิตเหล่านี้เป็นตัวเร่งที่ดีที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดในสมองเลยก็ว่าได้ สังเกตสัญญาณจากร่างกายเสี่ยงเป็น “โรคหลอดเลือดในสมอง” อาการผิกปกติที่สังเกตได้ เช่น […]
สำรวจพฤติกรรมเสี่ยง “เบาหวาน” ของคนยุคใหม่!
หลายคนอาจจะคิดว่าโรคเบาหวานเกิดขึ้นกับคนที่อายุมาก และมีน้ำหนักตัวเยอะเท่านั้น แต่ปัจจุบัน “โรคเบาหวาน” สามารถเกิดขึ้นกับคนที่อายุน้อย ๆ ได้มากขึ้น จากสถิติที่ผู้ป่วยเบาหวานทั่วโลกอายุน้อยลงเรื่อย ๆ ซึ่งเป็นเรื่องน่ากังวลทางด้านสาธารณสุขหลายประเทศเลยครับ และสาเหตุหลักมาจากการใช้ชีวิตของผู้คนในยุคปัจจุบันด้วย มาดูกันครับว่าพฤติกรรมอะไรที่เราทำแล้วเสี่ยงเบาหวานบ้าง? 1. ทำงานหนัก ในยุคที่เศรษฐกิจถดถอยทำให้หลาย ๆ ต้องทำงานหนักมากขึ้น บางคนทำงานหลาย ๆ อย่าง เพราะจากภาระค่าใช้จ่ายหรืออื่นๆ ทำให้ร่างกายไม่ได้รับการพักผ่อนอย่างเต็มที่ นอกจากจะทำให้ฮอร์โมนทำงานได้ไม่เต็มที่และผิดปกติแล้ว ยังส่งผลให้ร่างกายเครียดไม่รู้ตัว ซึ่งปัจจัยนี้อาจจะทำให้ร่างกายของหลาย ๆ คนต้องการอาหารที่มีพลังงานสูง เพื่อชดเชยความเครียดและเหนื่อยล้าจากการทำงาน และอาจจะทำให้ต้องทานเยอะกว่าปกติเพราะร่างกายทำงานหนัก ซึ่งอาหารที่ชดเชยได้อย่างรวดเร็วจะเป็นอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตสูง น้ำตาลสูง เพราะช่วยให้คลายเครียดได้ เป็นปัจจัยที่เสี่ยงให้เป็นโรคเบาหวานได้ไม่ยากเลย 2. ติดการอยู่บ้าน ไม่เคลื่อนไหว การที่โลกของเราเผชิญกับโควิด-19 หลายปี หลายคนคุ้นชินกับการอยู่บ้าน เลี่ยงการเข้าสังคม เปลี่ยนบ้านเป็นทั้งสถานที่ทำงาน พักผ่อน และทำกิจกรรมหลายอย่าง ซึ่งการที่หลายคนอยู่บ้านนาน ๆ อาจจะส่งผลต่อสภาวะจิตใจ รวมทั้งการไม่ได้ใช้พลังงานอย่างที่เคยได้ใช้ เช่น การต้องเดินทางไปทำงาน การออกไปทานข้าวเที่ยง การพบปะพูดคุยกับผู้คน ซึ่งพลังงานเหล่านี้ก็จะถูกสะสมและเปลี่ยนไปเป็นไขมันสะสมตามร่างกายได้เช่นกัน เพราะเรายังคงต้องทานอาหารเท่าเดิม แต่พลังงานที่เราเคยได้เอาไปใช้ชีวิตกลับไม่ได้ถูกใช้ ที่สำคัญหลายคนไม่ออกกำลังกายด้วย […]