โรคความดันโลหิตสูงถือเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่มีคนเป็นมากที่สุดหนึ่งโรค และนับเป็นภัยเงียบที่น่ากลัวต่ออวัยวะสำคัญอย่างหลอดเลือดและหัวใจ ซึ่งถือเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะหัวใจวาย หัวใจเต้นผิดจังหวะ มีโอกาสเกิดภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ซึ่งความน่ากลัวของโรคนี้คือไม่แสดงอาการ และไม่สามารถวินิจฉัยได้ในครั้งเดียวอีกด้วย โรคความดันโลหิตสูงคือหนึ่งในภัยเงียบที่คนไทยเป็นมากที่สุด การสำรวจสุขภาพประชากรไทยในปี พ.ศ. 2562-2563 พบว่าประชากรอายุ 18 ปีขึ้นไป เป็นโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 13 ล้านคน และในจำนวนนี้มีมากถึง 7 ล้านคน ไม่ทราบว่าตนเองป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงอยู่ ซึ่งองค์การอนามัยโลกได้ออกรายงานว่าโรคความดันโลหิตสูงเป็นหนึ่งในปัญหาสุขภาพของประชากร มีกลุ่มผู้ป่วยอายุ 30-79 ปี ป่วยเป็นโรคนี้กว่า 1.3 พันล้านคนทั่วโลกอีกด้วย นับว่าโรคนี้คนเป็นเยอะแต่หลายคนมักจะละเลย เพราะไม่แสดงอาการ และเมื่อตรวจพบก็รู้สึกว่าอาการไม่หนัก จึงไม่ให้ความสำคัญกับการควบคุมความดันเท่าไหร่นัก ทำไมการควบคุมความดันโลหิตถึงสำคัญกับผู้ป่วยความดันโลหิตสูง เนื่องจากความดันโลหิตสูงทำให้หัวใจทำงานหนักขึ้น ผนังหัวใจหนาขึ้น ถ้าหากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี อาจจะทำให้ผนังหัวใจยืดออก และไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพเท่าควร อาจจะส่งผลให้หัวใจโต หัวใจวายเฉียบพลันได้ ถ้าหากปล่อยให้ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงต่อเนื่อง อาจจะทำให้ปวดศีรษะรุนแรง หายใจถี่ขึ้น เลือดกำเดาไหล ถึงขั้นเป็นลมหมดสติได้ อาการนี้หากเกิดในผู้ป่วยสูงอายุค่อนข้างอันตราย เพราะอาจจะทำให้ล้มหัวกระแทก หรือบาดเจ็บรุนแรงจากการล้มได้ ไม่เพียงเท่านี้หากไม่สามารถควบคุมความดันโลหิตได้ก็อาจจะส่งผลให้เกิดโรคเรื้อรังอื่น ๆ ตามมา เช่น โรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง […]
พฤติกรรมที่ทำให้เรา “ไม่แก่เร็ว” ด้วยการดูแลหัวใจให้แข็งแรง
ใคร ๆ ก็ไม่อยากแก่จริงไหมครับ แต่ใครก็ไม่สามารถห้ามกาลเวลาได้ ยิ่งอายุประมาณหนึ่งยิ่งเริ่มเห็นความเปลี่ยนแปลงของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นผิวหนังที่เริ่มมีริ้วรอย เส้นผมแซมสีขาว สายตาที่เปลี่ยนไป หรือกระทั่งการปวดตามข้อต่าง ๆ ก็เป็นบ่อยมากยิ่งขึ้น กระทั่งระบบภายในก็ไม่เหมือนก่อน เช่น การย่อยอาหารยากขึ้น เหนื่อยง่ายขึ้น หรือนอนหลับยากขึ้น แต่รู้ไหมครับอาการทั้งหมดนี้หากเราดูแลหัวใจให้แข็งแรง จะชะลอเรื่องพวกนี้ได้นะ! เราจะดูแลหัวใจให้แข็งแรงและไม่แก่เร็วได้ด้วยวิธีไหนบ้าง? 1. การรับประทานสารสกัดจากฮอร์ธอร์น ฮอร์ธอร์นเป็นหนึ่งในสารสกัดที่มีชื่อเสียงด้านการดูแลและบำรุงหัวใจ โดยมีสรรพคุณที่ช่วยขยายหลอดเลือดหัวใจ ให้หลอดเลือดมีความยืดหยุ่นมากยิ่งขึ้น ช่วยให้เลือดสามารถไหลเวียนไปหล่อเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ ได้ดี หัวใจไม่ต้องทำงานหนัก ช่วยลดการอุดกั้นของไขมันในหลอดเลือด ทั้งยังรักษาสมดุลของไขมันคอเลสเตอรอลในร่างกายได้อีกทางหนึ่ง ช่วยควบคุมไม่ให้น้ำตาลในเลือดสูงเกินไป เพราะหากน้ำตาลในเลือดสูงอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายก็จะทำงานหนักตามไปด้วย ทั้งยังลดความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ที่สำคัญสารสกัดจากฮอร์ธอร์นมีสารต้านอนุมูลอิสระช่วยชะลอวัย ให้ผิวพรรณดูเต่งตึง ลดผมร่วง และไม่ให้ผิวแห้งกร้านได้ด้วย 2. รับประทานสารสกัดจากโคคิวเท็น โคคิวเท็นเป็นหนึ่งในสารสำคัญที่ช่วยเติมพลังให้หัวใจได้อย่างดี เดิมโคคิวเท็นร่างกายสามารถสร้างเองได้ แต่เมื่อนานวันเข้าก็จะสร้างได้น้อยลงตามวัย ซึ่งมีงานวิจัยว่าคนที่เป็นโรคหัวใจมักขาดโคคิวเท็น โดยโคคิวเท็นเป็นพลังงานของอวัยวะสำคัญต่าง ๆ เช่น หัวใจ ปอด ตับ ไต ฯลฯ […]
“ภาวะหัวใจวายเฉียบพลัน” คนอายุน้อยก็เสี่ยงได้! ให้ฮอร์ธอร์นบำรุงหัวใจ
อายุน้อยก็เสี่ยงเป็นโรคหัวใจได้ ด้วยพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่กระตุ้นการเต้นของหัวใจโดยไม่รู้ตัว ทำให้หัวใจทำงานหนักขึ้น โดยหลาย ๆ คนมักจะไม่รู้ตัวว่ากิจกรรมอะไรที่เสี่ยงทำให้ร่างกายนำไปสู่ภาวะหัวใจวายเฉียบพลัน เพราะละเลยคิดว่าอายุของตัวเองยังน้อยและมีโอกาสที่จะเป็นโรคเกี่ยวกับหัวใจน้อยมาก วันนี้จะพามาสำรวจความเสี่ยงของคนอายุน้อยกับการเป็นโรคหัวใจกันครับ แล้วสารสกัดจากฮอร์ธอร์นจะช่วยได้อย่างไร หัวใจวายเฉียบพลันในคนอายุน้อยเกิดจากอะไร? สาเหตุหลัก ๆ มี 3 เรื่องด้วยกันครับ 1. การออกกำลังกายที่หักโหมจนเกินไป โดยเฉพาะในกลุ่มนักกีฬาที่ต้องออกแรงมาก ๆ จะทำให้ผนังหัวใจหนาและทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะได้ 2. มีภาวะโรคหัวใจแอบแฝง เช่น ผู้ที่มีอายุประมาณ 35 – 40 ปี อาจจะมีโรคหัวใจหลอดเลือดตีบตันแอบแฝงอยู่ โดยไม่เคยตรวจอย่างละเอียดมากก่อน หรือบางคนอาจจะมีลิ้นหัวใจผิดปกติตั้งแต่กำเนิดแต่ไม่เคยตรวจพบเลยก็เป็นไปได้ 3.เกิดจากความผิดปกติของคลื่นไฟฟ้าในหัวใจ ซึ่งอาจจะเป็นตั้งแต่กำเนิด แล้วดันเกิดเหตุขณะที่ออกกำลังกายพอดี ทำให้เกิดภาวะหัวใจวายเฉียบพลันได้เช่นกัน อายุน้อยเช็กอาการ “หัวใจ” ก่อนเสี่ยงหัวใจวายเฉียบพลัน – มีอาการเหนื่อยหอบง่ายผิดปกติ โดยให้สังเกตตัวเอง หากออกกำลังกายแล้วออกโดยใช้แรงเท่าเดิมแต่กลับรู้สึกเหนื่อยเร็ว หายใจหอบถี่ หัวใจเต้นเร็ว หรือเหนื่อยจนแทบพูดไม่ได้ หัวใจอาจจะผิดปกติได้ – รู้สึกเจ็บแน่นที่หน้าอก ร้าวไปถึงแขน หรือรู้สึกหายใจอึดอัดบริเวณกลางหน้าอก เหมือนของหนักกดทับอยู่ตลอดเวลา – รู้สึกใจสั่น ใจหวิว หัวใจเต้นเร็วเกิน […]