ผลกระทบจาก PM2.5 มีรายงานและการศึกษาออกมาเรื่อย ๆ ว่าส่งผลต่อสุขภาพในเรื่องอะไรบ้าง ซึ่งฝุ่นจิ๋วนี้มีผลกระทบต่อสุขภาพทั้งในระยะสั้น และระยะยาวมากกว่าที่หลายคนคิดและเข้าใจ โดยเฉพาะผู้ที่ป่วยเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด มาดูกันครับว่าอันตรายจากฝุ่น PM2.5 กระทบต่อหัวใจและหลอดเลือดได้อย่างไรบ้าง และเราจะมีวิธีดูแลสุขภาพหัวใจได้อย่างไร ฝุ่นPM2.5 ส่งผลต่อหัวใจและหลอดเลือดมากกว่าที่คิด ข้อมูลล่าสุดจากองค์การอนามัยโลกระบุว่า มากกว่า 20% ของการเสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือดมีสาเหตุมาจากมลพิษทางอากาศ และมีมากกว่า 3 ล้านคนที่เสียชีวิต โดยมีปัจจัยด้านสภาพอากาศที่เป็นพิษเป็นตัวเร่งด้วย หากในอากาศมีฝุ่น PM 2.5 เกิน 10 – 25 ไมโครกรัมใน 1 ลูกบาศก์เมตรแล้วร่างกายได้รับเข้าไปติดต่อกันเป็นระยะเวลานานจะทำให้เกิดการอักเสบ ทำให้หลอดเลือดแข็งตัวได้มากกว่าปกติ การทำงานของเซลล์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับหัวใจ หลอดเลือด และสมองก็จะผิดเพี้ยนไปด้วย ซึ่งในระยะยาวทำให้เกิดโรคเรื้อรัง เช่น โรคปอด โรคหัวใจ และโรคมะเร็งได้ ฝุ่นPM2.5 ส่งผลเสียต่อหัวใจและหลอดเลือดได้อย่างไร ด้วยความที่มีขนาดเล็กมากจึงสามารถเข้าสู่ร่างกายได้ง่าย ในภาวะเฉียบพลันสำหรับบางคนอาจจะส่งผลทำให้เส้นเลือดเปราะแตก และเกิดภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันได้เลย โดยเฉพาะกับผู้ที่เป็นโรคหัวใจและโรคที่เกี่ยวกับหัวใจ เพราะสามารถเข้าไปกระตุ้นให้โรครุนแรงขึ้น กระตุ้นให้เกิดการอักเสบ หลอดเลือดหนาขึ้น ส่งผลให้ผนังหัวใจหนาขึ้น […]
โรคหัวใจขาดเลือด ไม่เลือกวัย อายุน้อยก็เป็นได้
หัวใจเป็นหนึ่งในอวัยวะที่ทำงานหนักมากตลอดช่วงชีวิตของเรา เพราะต้องสูบฉีดเลือดไปหล่อเลี้ยงทุกอวัยวะของร่างกายตลอดเวลา ซึ่งจากสถิติผู้ป่วยพบว่า กว่า 45% ของการเสียชีวิตเฉียบพลันมาจากโรคหัวใจขาดเลือด ซึ่งไม่ได้เกิดแค่กับผู้สูงอายุเท่านั้น คนที่อายุน้อยก็สามารถเกิดโรคหัวใจขาดเลือดได้ มารู้จักกับโรคนี้พร้อมหมั่นสังเกตอาการตัวเอง รวมถึงวิธีป้องกันกันครับ โรคหัวใจขาดเลือดเกิดจากอะไร? โรคหัวใจขาดเลือดเกิดจากหลอดเลือดที่ไปหล่อเลี้ยงหัวใจตีบหรือตัน จนทำให้กล้ามเนื้อหัวใจมีเลือดไปหล่อเลี้ยงไม่เพียงพอ ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจทำงานผิดปกติ หากรุนแรงก็อาจจะทำให้กล้ามเนื้อหัวใจตาย เสี่ยงที่จะเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน อันตรายจนสามารถเสียชีวิตได้ สาเหตุของโรคหัวใจขาดเลือดเกิดได้จากอะไรบ้าง? – การสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์เป็นเวลานาน และมากจนเกินไป ซึ่งจะไปกระตุ้นให้หัวใจทำงานหนักตลอดเวลา – การรับประทานอาหารที่มีไขมันมากเกินไป จนไปสะสมในเลือด และเกิดการอุดตันในหลอดเลือด จนเลือดไม่สามารถไหลเวียนได้ – ผู้ที่มีน้ำหนักเกินหรือโรคอ้วน เพราะเสี่ยงที่จะมีไขมันปะปนในเลือด จนไปเกาะตามผนังหลอดเลือด และอุดตันในหลอดเลือดได้มากกว่าคนทั่วไป – เกิดจากพันธุกรรมหรือหัวใจผิดปกติแต่กำเนิด ก็อาจจะเสียงเกิดโรคหัวใจขาดเลือดได้มากกว่าคนปกติ สัญญาณเตือนของโรคหัวใจขาดเลือด – แน่นหน้าอก เหมือนโดนบีบรัด หรือกดทับเรื่อย ๆ อาการจะยิ่งแสดงออกเวลาต้องออกแรง เช่น ออกกำลังกาย ทำงานหนัก – เจ็บหน้าอกจนปวดร้าวไปที่บริเวณกล้ามเนื้ออื่น ๆ เช่น สันกราม สะบักหลัง หัวไหล่ […]
โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) วัยไหนก็เป็นได้!
ใครที่คิดว่าโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) เป็นโรคที่ผู้สูงวัยเท่านั้นจะเป็นได้ อาจจะต้องเปลี่ยนความคิดใหม่ เพราะโรคนี้แม้จะชุกในผู้ป่วยที่อายุ 65 ปี แต่ปัจจุบันพบเห็นผู้ป่วยที่อายุน้อยลงได้มากขึ้น โดยอาจจะเกิดขึ้นในคนที่อายุน้อยกว่า 50 ได้แล้ว ทั้งยังมีอาการที่ค่อนข้างรุนแรงและเสี่ยงที่จะเสียชีวิตได้ ปัจจัยที่ทำให้คนอายุน้อยป่วยเป็นโรคหลอดเลือดสมอง รายงานจากกระทรวงสาธารณสุขพบผู้ป่วยที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในคนอายุ 18-50 ปี ฉะนั้นแล้วโรคนี้สามารถเกิดขึ้นกับใครก็ได้ โดยสาเหตุสำคัญที่ทำให้คนอายุน้อยป่วยด้วยโรคนี้ยังไม่มีสาเหตุที่แน่ชัด แต่ปัจจัยสำคัญคือป่วยเป็นโรค เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ซึ่งทำให้เสี่ยงที่จะเป็นโรคหลอดเลือดสมองตีบและภาวะลิ่มเลือดหัวใจไหลไปอุดตันหลอดเลือดสมองอยู่แล้ว พฤติกรรมที่ส่งผลอย่างมาต่อการเป็นโรคหลอดเลือดสมองในคนอายุน้อย 1. การสูบบุหรี่เป็นเวลานาน 2. การมีภาวะไขมันในเลือดสูง จากการรับประทานอาหารไขมันสูง น้ำตาลสูง 3. การมีภาวะอ้วน 4. การไม่ออกกำลังกาย 5. ภาวะความเครียดเรื้อรัง สัญญาณโรคหลอดเลือดสมอง – มีอาหารเวียนศีรษะบ่อยครั้ง เดินเซ ตาพร่า – หลังตื่นนอนมักจะรู้สึกวิงเวียน บ้านหมุน – เห็นภาพซ้อนทับ ไม่สามารถแยกแยะได้ สายตาแย่ลง – รู้สึกชาตามใบหน้า ยิ้มแล้วมุมปากกระตุก […]