เป็นที่ทราบกันดีนะครับว่าผู้ที่มีโรคประจำตัวมีความเสี่ยงที่จะเสียชีวิต หรือมีอาการหนักหากติดเชื้อโควิด-19 มากกว่าคนทั่วไป ฉะนั้นคนกลุ่มนี้ควรรีบเข้ารับการฉีดวัคซีนโดยเร็ว แต่ด้วยวัคซีนฉุกเฉินที่อนุญาตให้ใช้ในปัจจุบันยังมีผลกระทบอยู่บ้าง มาดูกันครับว่ากลุ่มคนที่มีโรคประจำตัวต้องดูแลตัวอย่างไรก่อนไปฉีดวัคซีน โดยผู้ป่วยกลุ่มโรคที่ควรฉีดวัคซีนโควิด-19 มี – โรคมะเร็ง – โรคเบาหวาน – โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง – โรคหัวใจและหลอดเลือด – โรคหลอดเลือดสมอง – โรคไตวายเรื้อรัง – โรคอ้วน – กลุ่มผู้สูงอายุ การดูแลตัวเองก่อนเข้ารับการฉีดวัคซีนสำหรับกลุ่มคนที่มีโรคเสี่ยง การดูแลตัวเองให้มีสภาพร่างกายที่แข็งแรง และดูเป็นปกติเป็นการสร้างความพร้อมที่สุดสำหรับการเข้ารับวัคซีน ในทีนี้ไม่ได้หมายความว่าต้องหายจากโรคก่อนเข้าฉีดวัคซีนนะครับ แต่คือการดูแลตัวเองให้อาการคงที ไม่เหนื่อย ไม่อ่อนเพลีย ความดันเป็นปกติ ด้วยการรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ พบแพทย์ตามนัด ปฏิบัติตามคำสั่งแพทย์อย่างเคร่งครัด หากกังวลสามารถขอคำปรึกษาจากแพทย์เจ้าของไข้จะดีที่สุดครับ ที่สำคัญคือการพักผ่อนในเพียงพอ รับประทานอาหารที่หลากหลาย ผ่อนคลาย ไม่เครียด สามารถรับประทานอาหารเสริมเพื่อเป็นการส่งเสริมให้ร่างกายได้รับทำงานได้ดีขึ้น อย่างคนเป็นโรคหัวใจหรือความดันโลหิต สามารถทานสารสกัดฮอร์ธอร์น โคคิวเท็น เพื่อให้หลอดเลือดอวัยวะสำคัญต่าง ๆ ทำงานได้เต็มเพิ่มประสิทธิภาพมากขึ้น เลือดลมในร่างกายไหลเวียนได้ดีขึ้น สามารถออกกำลังกายเบา ๆ เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ การหายใจ ลดอาการเหนื่อยหอบ ทั้งยังช่วยเรื่องการเผาผลาญ ทานได้ควบคู่ไปพร้อมกับยารักษาได้โดยไม่มีผลข้างเคียงนะครับ […]
อาหารที่ไม่มัน แต่เสี่ยงไขมันในเลือดสูง
บางคนอาจจะเข้าใจผิดนะครับที่คิดว่าอาหารที่มีไขมันสูงจะต้องเป็นอาหารที่มีส่วนประกอบของน้ำมันเท่านั้น อย่างอาหารทอด หรืออาหารที่มีไขมันเยอะ ๆ แต่ที่จริงแล้วอาหารที่มีไขมันสูงที่หมายถึงคืออาหารที่ทำให้เราเสี่ยงมีไขมันในเลือดสูงต่างหาก แม้ว่าอาหารเหล่านั้นจะไม่มีน้ำมันเลยก็ตาม มาทำความรู้จักอาหารเหล่านั้นให้ดีขึ้น และรับประทานให้ถูกวิธีกันดีกว่าครับ รู้จักกับประเภทไขมันให้ดีขึ้น คอเลสเตอรอล มี 2 ประเภท แบ่งออกเป็น – ไขมันดี (High Density Lipoprotein) หรือ HDL เป็นไขมันที่เปรียบเสมือนพาหนะบรรทุกไลโปโปรตีน (Lipoprotein) ที่มีความหนาแน่นสูง โดยจะขนส่งไขมันในเลือดทั่วร่างกายไปทำลายที่ตับ ไขมัน HDL จึงเป็นไขมันชนิดที่ดีต่อร่างกาย ดังนั้นเมื่อร่างกายมีปริมาณไขมัน HDL สูง ก็จะเป็นผลดีต่อสุขภาพ – ไขมันเลว (Low Density Lipoprotein) หรือ LDLเป็นไขมันที่ติดกับหลอดเลือด ทำหน้าที่ลำเลียงคอเลสเตอรอลทั้งหลายออกจากตับเข้าสู่กระแสเลือดในร่างกาย หากไขมันเลวเหลืออยู่ในกระแสเลือดก็จะสะสมเป็นตุ่มเกาะอยู่ตามผนังของหลอดเลือดทำให้หลอดเลือดแข็งตัว ส่งผลให้เกิดภาวะหลอดเลือดอุดตันได้ ไตรกลีเซอไรด์ คือ ไขมันชนิดหนึ่ง ปกติร่างกายสามารถสังเคราะห์ไตรกลีเซอร์ไรด์ได้เองจากตับหรือการรับประทานอาหารต่าง ๆ แต่การรับประทานอาหารที่ประเภทไขมันในปริมาณมาก ๆ จะทำให้ค่าไตรกลีเซอร์ไรด์สูง เพราะร่างกายสร้างไตรกกลีเซอไรด์แล้วขับเข้าสู่กระแสเลือดมากเกินไป ไตรกลีเซอไรด์ควรมีไม่เกินอย่างละ 200 mg/dl อาหารไม่มัน […]
ลิ่มเลือดอุดตัน น่ากลัวกว่าที่คิด!
ในช่วงที่ผ่านมามีข่าวเกี่ยวกับโรคหนึ่งหรือภาวะหนึ่งที่ถูกพูดถึงจำนวนมากคือ “ลิ่มเลือดอุดตัน” ที่เกิดผลข้างเคียงของวัคซีนที่ใช้ป้องกันโควิด-19 จะพาไปดูว่าโรคนี้คืออะไร ความน่ากลัวของมันส่งผลต่อชีวิตเรายังไงได้บ้าง และเราจะป้องกันโรคนี้ได้อย่างไร? ภาวะลิ่มเลือดอุดตันเกิดจากอะไร? โดยปกติแล้วในหลอดเลือดของคนเรา จะมีเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว เกล็ดเลือด และน้ำเหลือง ไหลเวียนอยู่ โดยมีผนังหลอดเลือดเป็นเหมือนท่อลำเลียง แต่เมื่อไรก็ตามที่เกิดบาดแผล เลือดจะเกิดการแข็งตัว โดยในร่างกายจะมีสารโปรตีนที่ช่วยห้ามการแข็งตัวของเลือดอยู่ด้วย ดังนั้นหากโปรตีนในร่างกายทำงานไม่เป็นปกติ สารห้ามการแข็งตัวของเลือดทำงานน้อยลง เลือดก็จะไหลเวียนผิดปกติตามไปด้วย ฉะนั้นโรคลิ่มเลือดอุดตันจึงเกิดจากลิ่มเลือดขัดขวางการไหลเวียนของเลือดในหลอดเลือดแดงหรือหลอดเลือดดำ การจับตัวกันเป็นลิ่มเลือดจะขัดขวางการไหลเวียนของเลือดอย่างช้า ๆ ซึ่งหากปล่อยทิ้งเอาไว้ ก็อาจเป็นอันตรายถึงชีวิต สาเหตุของการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตัน จริง ๆ ภาวะของการเกิดลิ่มเลือดอุดตันนับเป็นสาเหตุการเสียชีวิตเป็นอันดับต้น ๆ ของโลกเลยก็ว่าได้ โดยเกิดจาก – การไหลเวียนของเลือดผิดปกติ เกิดได้จากหลายปัจจัย อย่างการที่หัวใจเต้นผิดจังหวะทำให้การบีบตัวของหัวใจในการสูบฉีดเลือดขาดความต่อเนื่อง – เกิดจากตัวผนังหลอดเลือดมีความโป่งพองทำให้เมื่อหัวใจบีบเลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย จะเกิดการวน ติดขัด ไม่ราบรื่น – ภาวะเจ็บป่วยบางอย่างที่ทำให้ร่างกายขยับไม่ได้ การไหลเวียนของเลือดก็จะช้าลง อย่างการต้องรักษาพยาบาลนาน ๆ ของคนเป็นทุพพลภาพ การต้องรักษาตัวหลังผ่าตัดนาน ๆ เป็นต้น โดยเสี่ยงทำให้เลือดเกิดตะกอนได้ง่าย เม็ดเลือดแดงและเม็ดเลือดขาวอาจเกิดการกระจุกอุดตัน จนทำให้เกิดลิ่มเลือดขึ้นมาได้ในที่สุด […]