อากาศที่ร้อนขึ้นส่งผลกระทบกับชีวิตมากกว่าที่คิด โดยเฉพาะหน้าร้อนของประเทศไทย ที่นอกจากร้อนแล้วยังทำให้เกิดการแสบผิว และหายใจลำบาก โดยเฉพาะกลุ่มผู้เปราะบางอย่างผู้สูงอายุ เด็ก และผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว จะได้รับผลกระทบจากความร้อนได้ง่ายกว่าคนอื่น วันนี้ชวนทุกคนมาเปลี่ยนเมนูอาหารที่บ้าน เพื่อช่วยบรรเทาและคลายความร้อนได้อีกทาง มาดูกันว่าจะมีอะไรบ้าง การรับประทานอาหารตามฤทธิ์ร้อนหรือเย็นเป็นศาสตร์การแพทย์แผนไทยประยุกต์ เมื่อร่างกายสะสมความร้อนมาก ๆ อาจจะทำให้เกิดอาการเจ็บป่วย ไม่สบายตัว หลายคนที่มีโรคประจำตัวอาจจะอาการกำเริบได้ง่ายขึ้น เช่น คนเป็นไมเกรนก็อาจจะปวดศีรษะถี่ขึ้น หรือคนที่เป็นโรคเบาหวานอาจจะน้ำตาลสูง เพราะต้องการพลังงานและอยากทานน้ำตาลมากกว่าปกตินั่นเอง นอกจากนี้การมีความร้อนสะสมในร่างกายอาจจะทำให้เกิดอาการท้องผูก ขับถ่ายลำบาก ร้อนใน ผิวกร้าน ไหม้ พุพองจากแดดแรง หรือเนื้อเยื่ออักเสบ รวมไปถึงภูมิคุ้มกันตกได้ง่าย ยิ่งไปกว่านั้นอาจจะส่งผลให้อวัยวะไม่สามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ เซลล์ทำงานไม่ปกติ และกลายพันธุ์ไปเป็นเนื้องอกหรือมะเร็งได้ด้วย อาหารที่มีรสจืด-รสเย็น ก็เป็นอาหารฤทธิ์เย็น โดยเฉพาะอาหารประเภทต้มจะช่วยลดความร้อนและเพิ่มความสมดุลของอุณหภูมิในร่างกายได้ดี เช่น ไก่ตุ๋นฟัก แกงจืดตำลึง สามารถทำให้ร่างกายเย็นลง ช่วยดับพิษร้อนที่สะสมในร่างกาย และเพิ่มความเย็นจากภายใน ช่วยลดอาการไข้ ตัวร้อน เจ็บคอได้ดี นอกจากนี้อาหารประเภทผัด อย่างเช่น ผัดบวบ ผัดฟักทอง ก็มีฤทธิ์เย็นเหมือนกันครับ อยากให้เลี่ยงอาหารประเภทที่มีน้ำมันหรือไขมันจำนวนมาก เพราะร่างกายจะต้องใช้พลังงานในการย่อยมากกว่าอาหารประเภทอื่น อาจจะทำให้ร่างกายสะสมความร้อนได้ อาหารที่มีรสขม อาหารที่มีรสขมส่วนมากมักจะมีฤทธิ์เย็น เช่น […]
ทำไมไม่ควรหายาฆ่าเชื้อทานเองเมื่อมีอาการป่วยเล็กน้อย?
แม้การซื้อยารับประทานเองจะเป็นเรื่องที่สามารถทำได้ แต่หลาย ๆ คนอาจจะไม่ทราบว่าการซื้อยาแก้อักเสบหรือยาปฏิชีวนะรับประทานเองในขณะที่ป่วยเล็กน้อยอย่างไข้หวัด เจ็บคอ หรือเป็นแผลอักเสบ เป็นเรื่องที่ผู้ป่วยควรระมัดระวัง และเภสัชกรหรือร้านขายยาต้องซักประวัติก่อนขายยา เพราะการรับประทานยาฆ่าเชื้อแบบผิดวิธีอาจจะทำให้เกิดผลกระทบระยะยาวได้ ยาฆ่าเชื้อไม่ใช่ยาแก้อักเสบ เวลาเป็นหวัด เจ็บคอ การซื้อยาแก้อักเสบมารับประทานเอง เพราะเข้าใจว่าทานยานี้แล้วอาการจะดีขึ้น และหายเป็นปกติได้ไวขึ้น แต่ความจริงแล้วหวัดเกิดจากการติดเชื้อไวรัสและแบคทีเรีย ซึ่งยาฆ่าเชื้อหรือยาปฏิชีวนะนั้นเป็นการยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย ไม่สามารถกำจัดเชื้อไวรัสได้ อาการอักเสบของเนื้อเยื่อเวลาเจ็บคอหรือเป็นหวัด สามารถทานยาแก้ปวด ยาลดไข้ ฉะนั้นยาแก้อักเสบและยาปฏิชีวนะจึงไม่ใช่ยาตัวเดียวกันนั่นเอง โดยกลุ่ม 3 โรคที่ไม่จำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะ เช่น โรคหวัด แผลสด และโรคท้องร่วง หากใช้ยาฆ่าเชื้อผิดวิธีจะเสี่ยงอะไรบ้าง? 1. การแพ้ยา เพราะยาปฏิชีวนะที่ไม่ได้จ่ายโดยแพทย์อาจจะสุ่มเสี่ยงที่จะเกิดการแพ้ เพราะไม่ได้ตรวจวินิจฉัยโรคอย่างชัดเจน อาจจะมีอาการคัน มีผื่นขึ้นตามร่างกาย หากเป็นมากอาจจะเป็นแผล มีรอยไหม้ หรือรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ 2. เชื้อดื้อยา การกินยาเองโดยไม่จำเป็นหรือเกินความจำเป็น ทั้งยังกินไม่ครบโดสตามกำหนด อาจจะทำให้เชื้อแบคทีเรียกลายพันธุ์ หรือกำจัดไม่หมด หลงเหลืออยู่ภายในร่างกายได้ 3. อาจจะเกิดโรคแทรกซ้อน ยาปฏิชีวนะฆ่าเชื้อแบคทีเรียทั้งที่ก่อโรคและแบคทีเรียที่มีประโยชน์ในร่างกาย อย่างแบคทีเรียช่วยย่อยในลำไส้ ซึ่งอาจจะทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนได้นั่นเอง ป้องกันป่วยเล็กน้อยด้วยการเสริมภูมิคุ้มกันในร่างกาย แม้การป่วยเล็กน้อยอย่างไข้หวัด เจ็บคอ หรืออ่อนเพลีย […]
เครื่องดื่มที่เพิ่ม / ลด ภูมิคุ้มกัน รู้ไว้ก่อนสั่งก่อนซื้อเครื่องดื่มทุกครั้ง
นอกจากอาหารที่ช่วยเรื่องภูมิคุ้มกัน เครื่องดื่มก็เป็นอีกปัจจัยสำคัญไม่แพ้กัน แม้น้ำเปล่าควรจะเป็นเครื่องดื่มที่ต้องดื่มให้เพียงพอ แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าเครื่องดื่มประเภทอื่น ๆ ก็ได้รับความนิยม มีรายงานว่าอุตสาหกรรมเครื่องดื่มของไทยเติบโตขึ้นมาก โดยเฉพาะเครื่องดื่มในกลุ่มไม่มีแอลกอฮอล์ น้ำอัดลม เครื่องดื่มชูกำลัง น้ำผลไม้ แล้วเครื่องดื่มไหนที่เพิ่ม / ลด ภูมิคุ้มกัน ก่อนสั่งก่อนซื้อต้องดูให้ดี เครื่องดื่ม “ลด” ภูมิคุ้มกัน เครื่องดื่มที่ลดภูมิคุ้มกันมักจะเต็มไปด้วยน้ำตาล และให้สารอาหารที่ไม่จำเป็นต่อร่างกาย หรือเกินความจำเป็นต่อร่างกาย จนร่างกายไม่สามารถดูดซึมไปใช้ได้ เช่น – น้ำอัดลม ในน้ำอัดลมประกอบไปด้วย น้ำตาล กรดคาร์บอนิก กรดฟอสฟอริก คาเฟอีน สีและกลิ่นหรือรส รวมถึงสารกันบูด ในน้ำอัดลมปริมาณ 100 มิลลิลิตร จะมีน้ำตาลประมาณ 10.6 กรัม หรือให้พลังงาน 42 กิโลแคลอรี ถ้าดื่มน้ำอัดลมประมาณ 1 ลิตร จะให้พลังงานประมาณ 420 กิโลแคลอรีเลยทีเดียว – เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ติดต่อกันเป็นเวลานาน ส่งผลต่อการทำงานของตับ โดยปกติตับจะขจัดสารพิษและขับของเสียออกได้เอง แต่หากดื่มเป็นประจำจะทำให้เกิดผังผืดและทำให้เกิดไขมันในตับ นอกจากนี้การดื่มแอลกอฮอล์ส่งผลให้เลือดไหลเวียนรวดเร็วกว่าปกติ […]