ในช่วงที่ผ่านมา สถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ยังคงเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง ด้วยการปรากฏของสายพันธุ์ใหม่ที่มีการแพร่กระจายที่รวดเร็วและอาจมีผลกระทบต่อประสิทธิภาพของวัคซีน การดูแลสุขภาพและเสริมสร้างภูมิคุ้มกันจึงเป็นสิ่งสำคัญมากขึ้นกว่าเดิม ชวนมาทบทวนวิธีการดูแลสุขภาพและเสริมสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อรับมือกับโควิดสายพันธุ์ใหม่กัน โควิด-19 2567 โควิดล่าสุดที่ระบาดอยู่ในไทยขณะนี้เป็นสายพันธุ์ JN.1 ที่เป็นสายพันธุ์ย่อยของโอมิครอน ซึ่งกลายพันธุ์มาจากสายพันธุ์ย่อยโอมิครอนอย่าง BA.2.86 อีกที ดังนั้นก็ยังไม่ใช่โควิดสายพันธุ์ใหม่อย่างที่กังวลกัน ทั้งนี้ โควิด JN.1 มีความสามารถในการแพร่กระจายเชื้อได้ง่ายและรวดเร็ว เนื่องจากดื้อต่อภูมิคุ้มกันมากกว่าสายพันธุ์อื่น ๆ หลายเท่า อีกทั้งสามารถติดเชื้อซ้ำได้ แต่ความรุนแรงของโรคไม่ได้เพิ่มขึ้นจากสายพันธุ์เดิม อาการเป็นอย่างไร? อาการของโควิดระลอกใหม่นี้อาจจะมีความแตกต่างจากเดิมบ้าง แต่อาการไม่รุนแรงเท่าที่กังวล เดิมจะมีอาการทางเดินหายใจส่วนล่าง หลอดลม และปอด กลายเป็นอาการของทางเดินหายใจส่วนบน คอ จมูก แทนมากกว่า โดยผู้ที่ติดเชื้อในประเทศมีอาการเด่น เช่น เจ็บคอมาก ๆ มีไข้ต่ำ มีน้ำมูก คัดจมูกเล็กน้อย จมูกได้กลิ่น อาการไออาจจะไม่ได้เด่นชัดเหมือนที่ผ่านมา สามารถรับประทานยาตามอาหาร และพักผ่อนให้เพียงพอ ก็จะสามารถหายจากการติดเชื้อได้ภายใน 5-7 วัน ทบทวนการดูแลตัวเองในช่วงโควิดระบาดอีกครั้ง – การสวมหน้ากากอนามัยเสมอ เมื่อต้องอยู่ในสถานที่ที่แออัด […]
อากาศร้อนกระทบผู้ป่วยหลายโรค เสี่ยงเสียชีวิตเฉียบพลัน
เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นผลกระทบที่ตามมาไม่เพียงแค่ทำให้รู้สึกไม่สบายตัว หลายคนที่มีภูมิคุ้มกันต่ำยังอาจจะส่งผลให้ป่วยง่าย โดยเฉพาะผู้ที่มีโรคประจำตัวจะได้รับผลกระทบมากกว่าคนทั่วไป อย่างผู้ป่วยที่มีโรคเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิต และโรคปอด ซึ่งอาจเสี่ยงต่อการเสียชีวิตเฉียบพลันได้ มาเข้าใจถึงสาเหตุและการป้องกันกันครับ โรคประจำตัวการเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคลมแดด (Heat Stroke) ภาวะลมร้อน หรือ การเกิดโรคลมแดด (Heat Stroke) จะเกิดขึ้นเมื่อร่างกายไม่สามารถควบคุมอุณหภูมิได้เหมาะสม เนื่องจากอากาศภายนอกร่างกายที่สูงจัดจนเกิดไป ซึ่งอาจนำไปสู่อาการรุนแรง เช่น วิงเวียนศีรษะ ชัก และอาจส่งผลให้หัวใจวายจนเสี่ยงที่จะเสียชีวิตได้ ผู้ป่วยโรคเรื้อรังมักมีภูมิคุ้มกันที่ลดลง ทำให้เสี่ยงต่อภาวะลมร้อนมากกว่าคนทั่วไปอีกด้วย ในภาวะนี้ต้องอาศัยการปฐมพยาบาลเบื้องต้นอย่างเหมาะสม และต้องหลีกเลี่ยงสถานที่ที่อากาศร้อนจัดสำหรับผู้ป่วยโรคเรื้อรังโดยเด็ดขาด อากาศร้อนส่งผลกระทบต่อการทำงานของหัวใจ อากาศร้อนเพิ่มภาระให้กับหัวใจ เนื่องจากต้องทำงานหนักขึ้นเพื่อรักษาอุณหภูมิร่างกายให้เหมาะสม สำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง สภาพแวดล้อมที่ร้อนจัดอาจทำให้เกิดอาการแทรกซ้อน เช่น หมดสติ ช็อก และหัวใจวายเฉียบพลันได้ โดยเฉพาะผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง มักไม่ค่อยรู้ว่าตัวเองเป็นโรคนี้ เพราะอาการไม่ได้แน่ชัดจึงเสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบจากอากาศร้อน หัวใจสูบฉีดเลือดไม่ปกติ และเสี่ยงที่จะช็อกและเป็นอัมพฤกษ์หรืออัมพาตได้ ผู้ป่วยโรคเบาหวานเฝ้าระวังอากาศเป็นพิเศษ ผู้ป่วยเบาหวานต้องระมัดระวังในหน้าร้อนเป็นพิเศษ เนื่องจากความร้อนสามารถทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดผันผวน นอกจากนี้ความร้อนยังส่งผลต่อการทำงานของอินซูลินในร่างกายด้วย ฉะนั้นผู้ป่วยเบาหวานต้องรักษาระดับน้ำตาลในเลือดในสมดุลอยู่เสมอ อากาศร้อนเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะขาดน้ำ […]
ไม่ควรทานอาหารค้างคืน เสี่ยงติดเชื้อภูมิตกได้จริงไหม?
ในช่วงที่ผ่านมาหลายคนอาจจะเห็นข่าวที่อาจจะทำให้หลายคนรู้สึกงงและเป็นกังวลต่อสุขภาพ คือ ไม่ควรรับประทานอาหารค้างคืน สร้างความเสี่ยงต่อสุขภาพได้หลายอย่าง โดยเฉพาะระบบภูมิคุ้มกันของเรา วันนี้ชวนหาคำตอบว่าทำไมอาหารค้างคืนถึงควรเลี่ยง และวิธีเพิ่มภูมิคุ้มกันอย่างมีประสิทธิภาพ อันตรายจากอาหารค้างคืน 1. เสี่ยงอาหารเป็นพิษ เพราะถูกเก็บในอุณหภูมิที่ไม่เหมาะสม และระยะเวลายาวนานเกินไปเสี่งต่อการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ที่ก่อโรคที่จะสามารถเข้าไปปนเปื้อนในอาหารได้ อุณหภูมิที่เหมาะจะเก็บอาหารค้างคืนควรต่ำกว่า 5°C หากอุณหภูมิที่สูงกว่านี้จะทำให้เกิดอาหารเป็นพิษได้ เนื่องจากเชื้อโรคเติบโตได้ดี เสี่ยงที่จะท้องเสีย ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน หรืออาจจะติดเชื้อในลำไส้ เกิดลำไส้อักเสบ และที่สำคัญอาจจะเสี่ยงชีวิตจากภาวะจากน้ำได้ หากไปโรงพยายามไม่ทัน 2. อาหารค้างคืนให้คุณค่าทางโภชนาการลดลง อาหารค้างคืนที่นำมาอุ่นจะทำให้สารอาหารที่ควรได้รับลดลง ไม่ว่าจะใช้ความร้อนของไมโครเวฟหรือตั้งเตาไฟจะสามารถทำลายวิตามินที่สำคัญกับร่างกาย ได้แก่ วิตามินซี วิตามินบี และวิตามินเอ นอกจากนี้อาหารที่ใช้กรรมวิธีทำนาน เช่น ตุ๋น ต้ม มากกว่า 4 ชั่วโมง จะทำให้สารอาหารที่มีประโยชน์สลายไป ร่างกายอาจจะไม่ได้รับสารอาหารตามต้องการ 3. ส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกัน การรับประทานอาหารที่มีสารอาหารไม่เพียงพอส่งผลต่อการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน เพราะเซลล์ไม่สามารถดึงสารอาหารที่จำเป็นไปใช้ได้ ยิ่งใครที่รับประทานอาหารค้างคืนบ่อย ๆ เสี่ยงที่จะท้องเสียหรือลำไส้อักเสบได้มากกว่าคนทั่วไปด้วย ซึ่งหารขับถ่ายผิดปกติส่งผลต่อระดับความสมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้ และส่งผลกระทบต่อระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย อาจจะเสี่ยงภูมิตกได้ไม่รู้ตัว หากจำเป็นต้องเก็บอาหารค้างคืนควรทำอย่างไร เชื่อว่าหลายบ้านจำเป็นต้องเก็บอาหารค้างคืนเนื่องด้วยปัจจัยหลายอย่าง […]