โรคเบาหวานและโรคอ้วนนับเป็น 2 โรคในกลุ่มไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ที่มีอัตราผู้ป่วยทั่วโลกจำนวนมาก ซึ่งทั้ง 2 โรคนับเป็นโรคที่ชักนำไปสู่โรคอื่น ๆ มากมาย ซึ่งเป็นโรคที่ไม่ว่าจะเป็นเพศไหน วัยไหน อายุเท่าไหร่ ก็มีโอกาสที่จะป่วยเป็นโรคนี้ ปัจจัยหลัก ๆ ที่เกิดขึ้นคือพฤติกรรมการใช้ชีวิตของผู้ป่วยเอง “เบต้ากลูแคน” จึงจะเข้ามาเป็นสารสกัดที่มีส่วนช่วยลดเสี่ยงโรคเบาหวาน โรคอ้วน และลงพุง เบต้ากลูแคนไม่ได้ช่วยแค่เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน แม้เบต้ากลูแคนจะมีคุณสมบัติเด่นคือช่วยเรื่องเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง โดยเฉพาะเบต้ากลูแคนที่สกัดมาจากผนังเซลล์ของยีสต์ Saccharomyces Cerevisiae ซึ่งเป็นชนิดที่มีส่วนช่วยในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันได้มีประสิทธิภาพต่อร่างกาย โดยเข้าไปทำงานกับเม็ดเลือดขาวโดยตรง เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของเม็ดเลือดขาว ทำให้ร่างกายมีประสิทธิภาพในการปกป้องร่างกายจากสิ่งแปลกปลอม และกำจัดก่อนที่จะทำให้เราเจ็บป่วยได้ นอกจากนี้เบต้ากลูแคนยังช่วยลดการอักเสบ ลดการติดเชื้อ สารสำคัญอีกอย่างหนึ่งที่เบต้ากลูแคนมีคือสารต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็ง และโรคไม่ติดต่อเรื้อรังอย่างโรคเบาหวาน โดยมีการศึกษาว่าเบต้ากลูแคนสามารถช่วยชะลอการดูดซึมน้ำตาลเข้าสู่กระแสเลือดได้ ซึ่งนี่เป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในกลุ่มคนทั่วไป ทั้งยังช่วยควบคุมคอเลสเตอรอล และความเสี่ยงที่จะเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจและหลอดเลือดสมองด้วย การรับประทานสารสกัดจากเบต้ากลูแคนเป็นประจำมีโอกาสที่จะลดความเสี่ยงที่จะเป็นโรคอ้วน เบาหวาน ลงได้ ควบคู่ไปกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เลือกเบต้ากลูแคนประสิทธิภาพสูง เนื่องจากเบต้ากลูแคนสกัดจากพืชพรรณได้หลายชนิด แต่มีการศึกษาแล้วว่าชนิดที่มีประสิทธิภาพสูงในการเสริมสร้างภูมิต้านทาน คือ เบต้า 1,3/1,6 D-กลูแคน เนื่องจากเป็นใยอาหารชนิดไม่ละลายน้ำ (Insoluble […]
พรีไบโอติกส์สำคัญสำหรับเด็ก ไม่ใช่แค่ช่วยขับถ่าย แต่ส่งผลต่อภูมิคุ้มกัน
เชื่อว่าการดูแลลูกในยุคปัจจุบันทำได้ไม่ง่ายเลย ยิ่งสำหรับพ่อแม่มือใหม่ที่ต้องคอยดูแลเด็กหนึ่งคนหรือบางบ้านอาจจะมีหลายคน ทั้งยังเจอปัญหาปัจจัยทางสังคมที่ทำให้ต้องเร่งรีบ ทั้งตื่นแต่เช้า ไปโรงเรียน เผชิญรถติด ทำให้ลูกหลายบ้านต้องรับประทานอาหารง่าย ๆ บนรถก่อนไปทำกิจกรรมที่โรงเรียน ซึ่งนี่อาจจะมีส่วนที่ทำให้ลูกไม่ได้รับสารอาหารครบถ้วน และอาจจะส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกันของลูกด้วย สร้างภาวะสมดุลในร่างกายให้เด็กด้วยพรีไบโอติกส์ เด็กควรได้รับสารอาหารครบตามหลักโภชนาการ เพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาการทางร่างกาย อารมณ์ สติปัญหา ซึ่งนอกจากอาหารที่รับประทานทุกวันแล้ว พ่อแม่ต้องใส่ใจจำพวกเส้นใยอาหารต่าง ๆ ซึ่งจะเข้าไปช่วยระบบย่อยอาหาร ซึ่งจะมีสารอาหารบางจำพวกที่ร่างกายมนุษย์ไม่สามารถย่อยได้และไม่ถูกดูดซึมได้ในระบบทางเดินอาหาร ต้องให้เหล่าจุลินทรีย์ในร่างกายช่วยอีกทางซึ่งก็คือ โพรไบโอติก (probiotic) อย่างแลคโตบาซิลัส บิฟิโดแบคทีเรีย ซึ่งสารอาหารเหล่านี้ช่วยกระตุ้นการทำงานของจุลินทรีย์ รวมเรียกสารอาหารเหล่านี้ว่าพรีไบโอติกส์ (prebiotics) สารอาหารพรีไบโอติกส์ (prebiotics) นอกจากจะมีในน้ำนมแม่แล้ว สารสกัดกาแลกโต โอลิโกแซ็กคาไรด์ หรือ GOS ก็เป็นอีกหนึ่งสารสกัดที่มีพรีไบโอติกส์ สามารถสร้างกรดอินทรีย์ในลำไส้ใหญ่ได้มากขึ้น ช่วยการดูดซึมสารอาหาร ทั้งยังช่วยให้การบีบตัวของลำไส้เป็นไปได้ดี ป้องกันท้องผูกของลูก ไม่เพียงเท่านี้หากร่างกายเด็กมีภาวะสมดุลของพรีไบโอติกส์ยังลดโอกาสที่จะดูดซับพิษจากลำไส้ ป้องกันการท้องเสีย ท้องร่วง และแก๊สในกระเพาะได้ สมดุลของพรีไบโอติกส์สร้างภูมิคุ้มกันให้เด็กได้ดี สิ่งสำคัญของการที่เด็กมีพรีไบติกส์ในร่างกายที่สมดุล คือ สามารถช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันให้เด็กได้ดี ลดการติดเชื้อ ลดการอักเสบ ช่วยให้ร่างกายเด็กแข็งแรง ซึ่งพรีไบโอติกส์จะเข้าไปกระตุ้นให้ร่างกายสังเคราะห์วิตามินและกระตุ้นให้ภูมิคุ้มกันสามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ จะมีความสามารถในการป้องกันสิ่งแปลกปลอมที่จะเข้าสู่ร่างกายได้ ไม่ว่าจะเป็นไวรัส […]
วิธีป้องกันหลอดเลือดสมอง แค่เปลี่ยนพฤติกรรมก็ลดความเสี่ยงได้
โรคหลอดเลือดสมองเป็นหนึ่งในโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่ส่งผลให้เกิดการเสียชีวิตมากเป็นอันดับต้น ๆ โดยมีสถิติการเพิ่มจำนวนของคนไข้โรคนี้เพิ่มขึ้นปีละ 10-15 ล้านคนทั่วโลก ในจำนวนนี้มีโอกาสที่จะเสียชีวิตและเป็นอัมพาตเกินกว่าครึ่ง การป้องกันโรคหลอดเลือดสมองไม่ต้องรอให้อายุมาก เพราะโรคนี้คนอายุน้อยก็มีโอกาสที่จะเป็นได้เช่นกัน มาดูกันว่าพฤติกรรมอะไรที่เราต้องปรับบ้าง โรคหลอดเลือดสมองแบ่งออกเป็น 2 ประเภท 1. โรคหลอดเลือดสมองแบบเฉียบพลัน โดย 80-90% มักเป็นผู้ป่วยที่มีโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเป็นโรคประจำตัวอยู่แล้ว ซึ่งทำให้เกิดเลือดไม่สามารถไปหล่อเลี้ยงสมองได้เนื่องจากหลอดเลือดอุดตัน เช่น ผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง รวมไปถึงการบริโภคอาหารที่มีไขมันสูง สูบบุหรี่มานาน การไม่ออกกำลังกาย รวมถึงทำงานหนัก มีภาวะเครียด และไม่ได้พักผ่อนเพียงพอ ซึ่งผู้ป่วยประเภทนี้มีโอกาสที่จะเป็นอัมพาต นอกจากนี้ยังพบว่าเกิดจากภาวะหัวใจวายหรือหัวใจเต้นผิดจังหวะ รวมไปถึงโรคเลือดบางชนิดด้วย 2. โรคหลอดเลือดสมองแตก เกิดจากผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่เป็นมานานแล้วไม่ได้รับการรักษา นอกจากนี้ยังมีปัจจัยกระตุ้นอื่น ๆ เช่น การดื่มแอลกอฮอล์ติดต่อกันเป็นเวลานาน รวมถึงการใช้ยาบางชนิดด้วย พฤติกรรมอะไรบ้างที่นำไปสู่โรคหลอดเลือดสมอง ต้องบอกเลยว่าพฤติกรรมในชีวิตประจำวันของเราส่งผลต่อการเกิดโรคหลอดเลือดในสมองหลายอย่าง สิ่งสำคัญคือการป้องกันไม่ให้ตัวเองน้ำหนักเกินมาตรฐาน จะลดความเสี่ยงที่จะเป็นโรคอ้วน โรคเบาหวาน รวมไปถึงโรคความดันโลหิตสูง เพราะโรคเหล่านี้เป็นชนวนให้เกิดโรคหลอดเลือดสมองทั้งสิ้น หากเปลี่ยนพฤติกรรมก็จะลดโอกาสที่จะเผชิญกับโรคหลอดเลือดสมองได้ 1. รับประทานอาหารตามโภชนาการ อาจจะเป็นเรื่องที่หลายคนทราบอยู่แล้ว แต่น้อยคนนักที่จะสามารถทำได้ ด้วยวิถีชีวิตในปัจจุบันที่เร่งรีบ การที่สามารถเลือกทานอาหารดี ๆ ในแต่ละมื้อทำได้ยาก ไม่พอเวลาได้ทานมื้อพิเศษก็ยังเลือกอาหารที่ถูกปากมากกว่าอาหารที่ดีต่อสุขภาพ […]