ต้องยอมรับว่าตั้งแต่เกิดการระบาดของโควิด-19 ทำให้ปัจจุบันมีโรคแปลก ๆ ที่เราอาจจะไม่ได้เคยได้ยินชื่อเกิดใหม่มากมาย เช่น โรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง (Autoimmune) หลายคนอาจจะเข้าใจว่าเหมือนโรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง (SLE) หรือไม่ ที่จริงแล้วมีความแตกต่างและอาจจะต้องใช้วิธีการรักษาที่แตกต่างออกไป ดังนั้น เรามาทำความรู้จักโรคนี้และวิธีการป้องกันกันครับ โรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง (Autoimmune) คืออะไร โรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง หรือ ภูมิเพี้ยน เกิดจากระบบร่างกายทำงานผิดเพี้ยนจากระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายต้องปกป้องร่างกายจากสิ่งแปลกปลอม สารเคมี หรือเชื้อโรค แต่กลับไม่สามารถแยกสิ่งแปลกปลอมเหล่านั้นกับเซลล์เชื้อโรคได้ จึงได้ทำลายเซลล์ดีจนทำให้เกิดความผิดปกติกับร่างกาย โดยการสร้างโปรตีนชื่อ Autotimmune Antibody ย้อนกลับมาทำลายเซลล์ในร่างกายของตัวเอง จากความผิดปกติของการทำงานของเซลล์ภูมิคุ้มกัน แทนที่จะปกป้องร่างกายจากเชื้อโรค หรือสิ่งแปลกปลอมภายนอกร่างกาย แต่กลับเข้าใจผิดมาทำลายเซลล์ปกติต่าง ๆ ของร่างกายเราแทน จึงส่งผลให้ร่างกายแสดงอาการของโรคออกมาให้เห็นภายนอกอย่างชัดเจน เช่น มีตุ่มพุพอง เป็นโรคสะเก็ดเงิน เป็นโรคหนังแข็ง ผิวหนังเป็นแผลเรื้อรัง มีแผลในปากและเพดานปาก ผื่นแดงเป็นวง คันไม่หาย ผิวหนังแดงแสบร้อนทรมานตลอดเวลา สาเหตุของโรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง โรคนี้เกิดได้จากหลายสาเหตุ หนึ่งในนั้นคือกรรมพันธุ์ โดยมีการศึกษาว่าสารพันธุกรรมบางชนิดส่งผลต่อการเกิดโรคภูมิคุ้มกันทำลายตัวเอง ซึ่งหากมีเซลล์มีฝังอยู่ในสารพันธุกรรมแล้วมีปัจจัยภายนอกมากระตุ้นเพิ่มก็อาจจะแสดงอาการชัดเจนมากขึ้นได้ ซึ่งปัจจัยที่กระตุ้น เช่น – […]
อยากบำรุงสมอง ความจำดีให้ลูก ต้องให้ทานอะไร?
แม้ความฉลาดหรือ IQ จะสามารถถ่ายทอดจากพันธุกรรมของพ่อและแม่ได้ แต่รู้หรือไม่ว่าพฤติกรรมการเลี้ยงดูอย่างใส่ใจทั้งด้าน IQ, EQ และ HQ (Health Quotient) สำคัญสำหรับการพัฒนาการของเด็กมากยิ่งกว่า การที่พ่อแม่อยากให้ลูกฉลาดหรือสามารถเรียนรู้สิ่งต่างๆและมีความจำที่ดีขึ้นนั้น ควรดูแลควบคู่ไปในหลายๆ เรื่อง โดยเฉพาะเรื่องโภชนาการของเด็ก เพราะในวัยเด็กยังต้องมีการสารอาหารที่ช่วยเข้าพัฒนาการด้านต่าง ๆ ของร่างกาย มาดูว่าเด็ก ๆ ควรได้รับสารอาหารอะไรบ้างที่จะไปกระตุ้นพัฒนาการให้การเจริญเติบโตสมวัย ความฉลาดในเด็กจะได้มาอย่างไร? 1. ปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ “ถ่ายทอดทางพันธุกรรมของพ่อแม่” มีงานวิจัยมากมายบอกไว้ว่าความฉลาดของเด็กส่งตรงการพันธุกรรมของพ่อแม่ แต่ 40 – 60% ขึ้นอยู่กับการเลี้ยงดูอย่างใส่ใจ ซึ่งอาจจะมีส่วนตั้งแต่เตรียมความพร้อมก่อนตั้งครรภ์ การตรวจความเสี่ยงของพาหะโรคต่าง ๆ อย่าง โรคธาลัสซีเมีย เพราะโรคนี้หากเป็นแล้วจะส่งผลต่อร่างกายและพัฒนาการสมองของเด็กมาก อาจจะทำให้เด็กเรียนรู้ช้า มีพัฒนาการไม่สมวัยได้ในอนาคตด้วย 2. ปัจจัยที่ควบคุมได้ – การเลี้ยงดูแลการอบรมสั่งสอน นับว่าเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับการพัฒนาการของเด็ก เพราะเด็กในช่วงวัยเรียนรู้หากได้รับการดูแลเอาใจใส่จากพ่อแม่จะสามารถเรียนรู้ได้เร็ว เพราะมีกำลังใจที่เข้มแข็ง และมีคนคอยซัพพอร์ตอยู่เสมอ ยิ่งพ่อแม่ใช้เวลาด้วย ลูกจะยิ่งรู้สึกปลอดภัยและพร้อมกับการเรียนรู้มากยิ่งขึ้น ไม่ใช่ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของคนอื่น เช่น ครูที่โรงเรียน พี่เลี้ยง […]