ปัญหาการขับถ่ายของลูกเป็นหนึ่งในปัญหาที่พ่อแม่หลายคนหนักใจ เพราะการที่ลูกไม่ถ่ายนั้นหมายถึงปัญหาสุขภาพของเด็ก ๆ ที่น่าเป็นกังวล โดยเฉพาะในเด็กที่ยังสื่อสารได้ไม่ดี หรือยังไม่สามารถบอกความเจ็บปวดของตัวเองได้ ทำให้พ่อแม่ต้องคอยสังเกตและใส่ใจมากยิ่งขึ้น แล้วจริง ๆ จำเป็นไหมที่เด็กต้องถ่ายทุกวัน หรือลูกไม่ถ่ายนานเท่าไหร่ถึงจะเรียกได้ว่าผิดปกติ รวมถึงทำยังไงจะให้ลูกขับถ่ายได้ปกติ วันนี้มีคำแนะนำมาฝากครับ ลูกขับถ่ายแบบไหนถึงเรียกว่าปกติและไม่ปกติ จำเป็นต้องถ่ายทุกวันมั๊ย? สำหรับเด็กทารกการขับถ่ายในช่วงแรกคลอดจะถี่ประมาณวันละ 3 – 4 ครั้ง แต่พอพ้น 6 เดือนก็จะเริ่มน้อยลงเป็น 1 – 2 ครั้งต่อวัน ส่วนเด็กเล็กจะมีความถี่ห่างออกไปอีก บางคนอาจจะถ่ายวันละครั้งหรือวันเว้นวัน สิ่งที่พ่อแม่ควรสังเกตลูกว่าท้องผูกหรือไม่ คือ ถ่ายน้อย ใช้แรงเบ่งมาก อุจจาระเป็นก้อนแข็ง เริ่มมีปัญหาเรื่องการกิน กินน้อยลง ฯลฯ นั่นเพราะลูกกำลังไม่สบายตัว หรือสังเกตภาวะทางอารมณ์ เช่น หงุดหงิดง่าย งอแงมากกว่าปกติ นอนหลับ นั่นอาจจะเป็นเพราะลูกรู้สึกไม่สบายตัวที่ไม่ได้ถ่ายก็ได้ ภาวะท้องผูกหรือถ่ายยากของลูกเกิดจากอะไร? สาเหตุหลัก ๆ มักมาจากอาหารที่ลูกรับประทานเข้าไปมีเส้นใยอาหารที่น้อย เมื่อย่อยจนหมดแล้วไม่เหลือกากใยที่ทำให้ขับถ่ายได้ อีกทั้งยังถ่ายยากเนื่องจากมวลสารแข็งเกินไป พ่อแม่ต้องใส่ใจเรื่องนี้เป็นพิเศษ หากลูกไม่ชอบรับประทานผัก ก็ควรเน้นให้ทานผลไม้ […]
หยุดพฤติกรรมสู่ “โรคหัวใจขาดเลือด” สาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1
โรคที่เกี่ยวกับหัวใจเป็นโรคที่องค์การอนามัยโลกส่งสัญญาณเตือนมาถึงประชาคมโลกมาอย่างต่อเนื่อง เพราะมีอัตราเสียชีวิตสูงมากขึ้นทุกปี แซงโรคร้ายอย่างโรคมะเร็งเลยก็ว่าได้ ด้วยวิทยาการทางการแพทย์ทำให้โรคมะเร็งเริ่มมีทางเลือกในการรักษาที่มีประสิทธิผลมากขึ้น ในขณะที่โรคหัวใจมักจะเป็นภาวะโรคที่เฉียบพลัน โดยไม่ค่อยแสดงอาการ นั่นจึงทำให้ผู้ป่วยมีการเสียชีวิตกะทันหันมากขึ้นโดยเฉพาะ “โรคหัวใจขาดเลือด” โรคหัวใจขาดเลือดเฉลี่ยมีคนเสียชีวิตเฉลี่ย 2 คนต่อชั่วโมง สถิติที่น่ากังวลของประเทศไทย คือ ผู้ป่วยที่เสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดหัวใจเฉลี่ยเสียชีวิต 2 คนต่อชั่วโมง โดยพบว่ากว่า 45% เป็นการเสียชีวิตแบบเฉียบพลัน ซึ่งนับเป็นหนึ่งในโรคที่ต้องเฝ้าระวัง เพราะทุกวินาทีหมายถึงชีวิตหากรักษาหรือปฐมพยาบาลไม่ทันก็อาจจะสายเสียชีวิตโดยไม่ได้บอกลาคนที่รักได้เลย ปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลให้เป็นโรคหัวใจขาดเลือด 1. ปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ – พันธุกรรม หากมีคนในครอบครัวที่ใกล้ชิด เช่น พ่อ แม่ ปู่ ยา ตา ยาย หรือพี่น้อง มีประวัติเป็นโรคหัวใจ ก็อาจจะทำให้เรามีโอกาสที่จะเสี่ยงเป็นโรคหัวใจได้เช่นกัน – อายุที่เพิ่มมากขึ้น ด้วยอายุมากขึ้นก็มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจได้มากขึ้น – เพศ โดยเฉพาะผู้ชายที่มีความเสี่ยงที่จะเป็นมากกว่าผู้หญิง เพราะผู้หญิงมีฮอร์โมนเพศหญิงที่ช่วยควบคุมปริมาณไขมันให้อยู่ในระดับที่พอดี แต่ผู้หญิงที่อยู่ในวัยหลังหมดประจำเดือนแล้วก็อาจความเสี่ยงการเป็นโรคได้เช่นกัน 2. ปัจจัยที่สามารถควบคุมได้ – การสูบบุหรี่ พฤติกรรมนี้เป็นความเสี่ยงสูงสุดที่จะทำให้เกิดโรคหัวใจขาดเลือด เพราะสารพิษในควันบุหรี่สามารถเข้าไปสู่หลอดเลือดได้ ทำให้เลือดข้น […]