การพักผ่อนด้วยการนอนสำหรับเด็กถือเป็นสิ่งสำคัญมากในการพัฒนาการด้านต่าง ๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะสมองเพื่อพร้อมเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รวมไปถึงเรื่องสมาธิในการจดจ่อกับเรื่องหนึ่งได้ดี ยิ่งกับเด็กในช่วงวัยเรียนการพักผ่อนอย่างเพียงพอมีผลอย่างมากในการเรียนรู้และการจดจำเรื่องต่าง ๆ ที่ได้เรียนรู้ในแต่ละวัน แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าลูกของเราพักผ่อนอย่างเพียงพอ พ่อแม่จะช่วยลูกเรื่องนี้อย่างไรมาดูกันครับ เด็กในแต่ละวัยควรได้รับพักผ่อนที่เพียงพอสมวัย เช่น เด็กเล็ก ต้องการเวลานอนไม่ต่ำกว่า 10 ชั่วโมงในแต่ละวัน เด็กในวัยเรียน ต้องการเวลานอนประมาณ 9 – 12 ชั่วโมง เด็กช่วงวัยรุ่น ต้องการเวลานอนประมาณ 8 – 10 ชั่วโมง สังเกตว่าลูกนอนพักผ่อนเพียงพออย่างไร? เด็กในแต่ละวัยต้องการการพักผ่อนในเวลาที่แตกต่างกัน พ่อแม่สามารถสังเกตว่าลูกพักผ่อนเพียงพอหรือไม่ในแต่ละวันจากพฤติกรรมเหล่านี้ครับ – ตื่นมาแล้วสดใส ไม่งัวเงีย ปลุกแล้วตื่นเลยไม่งอแงขอต่อเวลา – ไม่หลับตอนกลางวัน อาจจะถามจากคุณครูที่โรงเรียน – รับประทานอาหารเช้าได้ปกติ ไม่เบื่อ ไม่เลี่ยงที่จะรับประทานอาหารเช้า – วางแผนในกิจกรรมของตัวเองในแต่ละวัน พ่อแม่อาจจะถามว่าวันนี้เรียนอะไรบ้าง – ลูกไม่ง่วงก่อนเวลา พยายามให้พวกเขาเข้านอนเวลาเดิม หากลูกง่วงก่อนเวลานั่นหมายความว่าเขาอาจจะพักผ่อนไม่เพียงพอ กับการใช้แรงในการทำกิจกรรมในแต่ละวัน – เลี่ยงการใช้อุปกรณ์สื่อสารก่อนนอน เพราะแสงสีฟ้าอาจจะทำให้เด็ก ๆ […]
PM2.5 ส่งผลต่อเด็กกว่าผู้ใหญ่ เสริมภูมิคุ้มกันอย่างไรให้เหมาะสม
หลายหน่วยงานด้านสารธารณสุขได้ออกมาเตือนกรณีฝุ่น PM2.5 เพิ่มขึ้นในปริมาณสูงทั่วประเทศ โดยเฉพาะกับกลุ่มเปราะบางอย่างเด็ก ผู้สูงอายุ หรือผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว เพราะกลุ่มคนเหล่านี้เสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบมากกว่าคนอื่น โดยเฉพาะเด็กที่มีความสามารถในการป้องกันตัวเองต่ำ ทั้งยังต้องออกจากบ้านเพื่อไปโรงเรียน และทำกิจกรรมกลางแจ้ง มาดูว่าพ่อแม่จะมีวิธีป้องกันให้ลูก ๆ อย่างไรเพื่อไม่ให้ภูมิคุ้มกันตก เด็กเสี่ยงที่ภูมิคุ้มกันตกได้ง่ายกว่าผู้ใหญ่ เนื่องจากเด็กอยู่ในช่วงพัฒนาการทางด้านร่างกาย ทำให้อวัยวะหลาย ๆ ส่วนยังไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่เท่าในวัยผู้ใหญ่ โดยเฉพาะภูมิคุ้มกันที่ยังไม่แข็งแรง การที่ต้องเผชิญกับมลภาวะที่ส่งผลต่อร่างกายโดยตรง เสี่ยงที่เด็กจะได้รับผลกระทบมากกว่าหลายเท่า ทั้งร่างกายอาจจะยังไม่เคยเจอกับสิ่งแปลกปลอมต่าง ๆ จากไวรัส แบคทีเรีย ปรสิต ฯลฯ นั่นจึงทำให้ภูมิคุ้มกันในเด็กอ่อนแอและพ่อแม่ต้องเฝ้าระมัดระวัง PM2.5 ทำให้เด็กอยู่ในสภาวะอ่อนแอและภูมิคุ้มกันตกได้ง่ายขึ้น เนื่องจากเด็กอยู่ในวัยที่ร่างกายและอวัยวะต่าง ๆ กำลังเติบโต ปอดกำลังขยายตัว ทำให้พวกเขาหายใจถี่และเร็วกว่าวัยผู้ใหญ่ กิจกรรมกลางแจ้งแม้จะช่วยพัฒนาการของเด็ก แต่เมื่ออากาศเต็มไปด้วยฝุ่นก็จะทำให้เด็กสูดเอาฝุ่นละอองขนาดเล็กนี้เข้าปอดได้มากและลึกกว่าผู้ใหญ่เสียอีก ที่สำคัญฝุ่นเล็กเหล่านี้ยังสามารถเข้าสู่เซลล์ กระแสเลือด และสมอง ผ่านระบบทางเดินหายใจได้ นอกจากจะส่งผลต่อพัฒนาการด้านต่าง ๆ ของเด็กแล้ว ยังส่งผลต่อสุขภาพระยะสั้นและระยะยาวได้ด้วย เด็กที่มีปัญหาในเรื่องทางเดินหายใจ เช่น เป็นภูมิแพ้ โรคหอบหืด และโรคทางเดินหายใจอื่น ๆ จะมีอาการทันทีหลังเผชิญกับฝุ่นเป็นเวลานาน เช่น ไอ น้ำมูกไหล […]
ทำไม “หมูกรอบ” ถึงเป็นแหล่งรวมโรคร้ายที่ไม่ควรมองข้าม
“หมูกรอบ” อาจจะเป็นอาหารจานโปรดของใครหลายคน สีเหลืองทองของหลังที่กรอบ เนื้อสัมผัสก็นุ่มฉ่ำ รับประทานพร้อมน้ำจิ้มเลิศรสทานกี่ครั้งก็ไม่เคยเบื่อ แต่กว่าจะมาเป็นเมนูหมูกรอบผ่านกรรมวิธีมากมายโดยเฉพาะการทอดให้กรอบ ทั้งตัวหมูกรอบเองก็ทำจากหมูสามชั้นเนื้อหนา นั่นจึงไม่แปลกเลยที่ทำไมเราไม่ควรทานหมูกรอบเป็นเมนูประจำวัน มาดูว่าหมูกรอบทำให้เราเป็นโรคอะไรได้บ้าง โรคอ้วน หมูกรอบเต็มไปด้วยไขมันเนื่องจากทำมาจากหมูสามชั้นหนังหนา ซึ่งเป็นแหล่งไขมันชั้นดี ทั้งยังนำไปทอดในน้ำมันที่ต้องเดือดจัดให้เหลืองกรอบและสีสันน่าทาน การรับประทานหมูกรอบ 100 กรัม ให้พลังงานมากขึ้น 385-420 กิโลแคลอรี ซึ่งแน่นอนว่าการรับประทานมาก ๆ จะทำให้น้ำหนักขึ้นและอาจจะเกิดโรคอ้วนได้ด้วย โรคไขมันในเลือดสูง เนื่องจากหมูกรอบมีปริมาณไขมันที่สูงมาก การรับประทานในปริมาณที่มากจะไปทำให้ไขมันเพิ่มในกระแสเลือด ซึ่งอาจจะทำให้เลือดไหลเวียนได้ยากขึ้น จากการที่ไขมันไปเกาะผนังหลอดเลือด ซึ่งปัจจัยนี้ยังส่งผลให้เกิดโรคความดันโลหิตสูงได้ด้วย โรคเบาหวาน โรคเบาหวานไม่ได้เกิดจากการรับประทานอาหารรสหวานเพียงอย่างเดียว ปัจจัยหนึ่งที่ก่อให้เกิดโรคเบาหวานคือการที่มีน้ำหนักตัวเกินหรือมีภาวะโรคอ้วน ก็ทำให้เสี่ยงเป็นโรคเบาหวานได้เหมือนกัน ซึ่งการบริโภคหมูกรอบที่ไขมันสูงก่อให้เกิดโรคอ้วนและโรคเบาหวานตามมาได้ โรคหัวใจ โรคที่เกี่ยวกับหัวใจส่วนหนึ่งเกิดจากการที่มีไขมันในเลือดสูง ซึ่งการมีไขมันในเลือดสูงทำให้เลือดไม่สามารถไหลเวียนได้ดี ส่งผลให้หัวใจต้องทำงานหนักมากขึ้น เพราะต้องพยายามให้เลือดไปหล่อเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย แต่อุปสรรคใหญ่คือไขมันที่ไปเกาะตามผนังหลอดเลือด แต่ปะปนอยู่กับกระแสเลือดนั่นเอง โรคไต ก่อนหมูกรอบจะทอดมีการทาด้วยเกลือ ทำให้หมูกรอบมีปริมาณโซเดียมค่อนข้างสูง รวมไปถึงน้ำจิ้มที่ใช้ทานคู่หมูกรอบด้วย ทำให้คนที่ชอบทานหมูกรอบอาจจะได้รับปริมาณโซเดียมที่สูงเกินกว่าความจำเป็นของร่างกายไปด้วย หรือเมนูข้าวหมูกรอบ 1 จานอาจจะมีโซเดียมสูงถึง 700 – 1,000 มิลลิกรัม (ปกติร่างกายไม่ควรได้รับโซเดียมเกิน […]