นอกจากอาหารที่ช่วยเรื่องภูมิคุ้มกัน เครื่องดื่มก็เป็นอีกปัจจัยสำคัญไม่แพ้กัน แม้น้ำเปล่าควรจะเป็นเครื่องดื่มที่ต้องดื่มให้เพียงพอ แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าเครื่องดื่มประเภทอื่น ๆ ก็ได้รับความนิยม มีรายงานว่าอุตสาหกรรมเครื่องดื่มของไทยเติบโตขึ้นมาก โดยเฉพาะเครื่องดื่มในกลุ่มไม่มีแอลกอฮอล์ น้ำอัดลม เครื่องดื่มชูกำลัง น้ำผลไม้ แล้วเครื่องดื่มไหนที่เพิ่ม / ลด ภูมิคุ้มกัน ก่อนสั่งก่อนซื้อต้องดูให้ดี เครื่องดื่ม “ลด” ภูมิคุ้มกัน เครื่องดื่มที่ลดภูมิคุ้มกันมักจะเต็มไปด้วยน้ำตาล และให้สารอาหารที่ไม่จำเป็นต่อร่างกาย หรือเกินความจำเป็นต่อร่างกาย จนร่างกายไม่สามารถดูดซึมไปใช้ได้ เช่น – น้ำอัดลม ในน้ำอัดลมประกอบไปด้วย น้ำตาล กรดคาร์บอนิก กรดฟอสฟอริก คาเฟอีน สีและกลิ่นหรือรส รวมถึงสารกันบูด ในน้ำอัดลมปริมาณ 100 มิลลิลิตร จะมีน้ำตาลประมาณ 10.6 กรัม หรือให้พลังงาน 42 กิโลแคลอรี ถ้าดื่มน้ำอัดลมประมาณ 1 ลิตร จะให้พลังงานประมาณ 420 กิโลแคลอรีเลยทีเดียว – เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ติดต่อกันเป็นเวลานาน ส่งผลต่อการทำงานของตับ โดยปกติตับจะขจัดสารพิษและขับของเสียออกได้เอง แต่หากดื่มเป็นประจำจะทำให้เกิดผังผืดและทำให้เกิดไขมันในตับ นอกจากนี้การดื่มแอลกอฮอล์ส่งผลให้เลือดไหลเวียนรวดเร็วกว่าปกติ […]
อาหาร “รสหวาน” แค่ลดได้ ชีวิตเปลี่ยน
พูดถึงอาหารหวานน้อยคนนะครับที่จะไม่ชอบ เพราะอาหารรสหวานเป็นหนึ่งในรสชาติที่ลิ้นของเราสามารถรับรสได้ดีก่อนรสอื่น ๆ เนื่องจากอยู่บริเวณปลายลิ้น ทำให้ของหวาน อาหารรสหวานนำ เป็นรสชาติของอาหารที่ผู้คนนิยมรับประทานและมีเมนูให้เลือกสรรมากมาย แต่การรับประทานรสหวานจนเป็นนิสัยไม่ใช่เรื่องดีเลย เพราะเป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคมากมาย ถ้าเราลดหวานได้ ชีวิตของเราจะเปลี่ยนไปยังไง มาดูกันครับ อาหารรสหวานปัจจัยเสี่ยงสุขภาพของคนไทย โดยพบว่าคนไทยบริโภคน้ำตาลเกินกว่าที่องค์การอนามัยโลกแนะนำไปค่อนข้างมาก โดย WHO แนะนำให้รับประทานน้ำตาลไม่เกิน 24 กรัม / วัน แต่ในขณะที่ค่าเฉลี่ยการรับประทานน้ำตาลของคนไทยคือ 92 กรัม / วัน ซึ่งเกินไปเกือบ 4 เท่า และน้ำตาลก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพ เช่น โรคอ้วน โรคไขมันในเลือดสูง โรคเบาหวาน อาจจะนำไปสู่โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ และโรคไตได้ ทำไมน้ำตาลมีผลเสียต่อสุขภาพมากกว่าที่คิด การบริโภคน้ำตาลที่มากจนเกินไปจะทำให้สมดุลของเลือดเสียไป โดยทำให้อินซูลินในร่างกายผลิตออกมาเกินความจำเป็น และอาจจะตกค้างในกระแสเลือด ซึ่งทำให้ส่งผลต่อระบบไหลเวียนโลหิต ซึ่งหากเกิดขึ้นบ่อย ๆ ทำให้การไหลเวียนเลือดผิดปกติ และน้ำตาลอาจจะกลายสภาพไปเป็นไขมันเกาะตามหลอดเลือด หลอดเลือดตีบตัน เลือดไปเลี้ยงหัวใจและสมองไม่เพียงพอ อาจจะเป็นสาเหตุของโรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดต่าง ๆ โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมองได้ด้วย ลด “รสหวาน” […]
ปัจจัยเสี่ยง “วัณโรค” แม้ไม่สูบบุหรี่ก็เป็นโรคนี้ได้!
หากคุณเป็นหนึ่งคนที่ต้องใช้ชีวิตในเมืองหลวงที่เต็มไปด้วยฝุ่นควัน และมลพิษมากมาย เริ่มต้นตั้งแต่นั่งวินมอเตอร์ไซค์ นั่งรถเมล์ลม เดินริมฟุทบาท สูดควันข้างจากร้านขายของข้างทาง รับลมที่เต็มไปด้วยฝุ่นจากการก่อสร้างขนาดใหญ่ นี่ก็นับว่าเป็นปัจจัยที่ทำให้เพื่อน ๆ สูดฝุ่นควันเข้าปอดได้แล้วในแต่ละวัน ซึ่งทวีความรุนแรงด้วยฝุ่น PM2.5 สมทบไปอีก โรคที่หลายคนไม่กล้าพูดถึงอย่าง “โรควัณโรค” อาจจะเป็นความเสี่ยงที่มาเร็วกว่าโรคมะเร็ง แม้จะไม่สูบบุหรี่เลยก็ได้นะครับ โรควัณโรคปอดเกิดจากอะไรได้บ้าง? วัณโรค (Tuberculosis หรือ TB) เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่ง ซึ่งจริง ๆ วัณโรคเกิดได้ทุกอวัยวะของร่างกาย แต่ส่วนใหญ่ 80% พบบ่อยที่ปอด เป็นโรคติดเชื้อร้ายแรงประเภทหนึ่งที่ส่งผลโดยตรงต่อปอด เพราะเชื้อติดต่อผ่านทางลมหายใจ จึงทำให้เชื้อเข้าไปฝังตัวที่ปอดเป็นอวัยวะแรกนั่นเอง โดยวัณโรคปอดจะแพร่เชื้อได้และติดต่อได้ง่ายผ่านทางอากาศด้วยการหายใจ ซึ่งติดกันได้ผ่านละอองฝอยจากการไอและจาม โรควัณโรคสามารถแบ่งออกไป 2 ประเภท 1. วัณโรคแฝง ซึ่งจะไม่แสดงอาการและวัณโรคชนิดนี้จะไม่แพร่กระจายไปยังบุคคลอื่น ยกเว้นได้รับการเชื้อแบคทีเรีย หรือผู้ที่มีปัญหาสุขภาพ ภูมิคุ้มกันบกพร่อง ร่างกายอ่อนแอ อาจจะกลายมาเป็นระยะแสดงอาการหรือกำเริบได้ 2. วัณโรคระยะแสดงอาการหรือระยะกำเริบ ผู้ป่วยที่สามารถแพร่เชื้อได้ วัณโรคติดไม่ง่าย รักษาได้ เมื่อได้รับเชื้อวัณโรค หากร่างกายมีระบบภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงจะสามารถกำจัดเชื้อได้หมด และไม่เกิดการติดเชื้อ แต่ถ้าร่างกายไม่สามารถกำจัดได้หมด อาจจะยังมีเชื้อวัณโรคระยะแฝงอยู่ได้ […]