เคยสงสัยกันไหมว่า? เวลาที่เราทำงานเยอะเกินไป มีภาวะตึงเครียดกับเรื่องอะไรบางอย่างเวลานาน ทำไมรู้สึกร่างกายของเราอ่อนแอ อาจจะป่วยร่วมด้วย หรือรู้สึกไม่สบายตัว นั่นเป็นผลพวงจากสภาวะจิตใจที่ผูกโยงกับสภาวะร่างกายอย่างแยกไม่ออก ทำให้เมื่อเราไม่สบายใจ กายของเราก็จะพลอยไม่สบายไปด้วย มาไขความลับที่หยั่งถึงของจิตใจที่มีผลต่อร่างกายและภูมิคุ้มกันของเรากันครับ ระบบภูมิคุ้มกัน (Immune System) ทำงานอย่างไร? ระบบภูมิคุ้มกัน เป็นกลไกหนึ่งของร่างกาย ซึ่งเป็นกลไกตามธรรมชาติที่ทำหน้าที่ป้องกันและต้านทานไม่ให้เชื้อโรคจากภายนอกเข้าสู่ร่างกาย หรือปกป้องไม่ให้เราติดเชื้อจากโรคเหล่านั้น โดยมีสารเคมีสำคัญที่สร้างขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่นั้นและทำลายเชื้อโรค และเซลล์ที่ทำหน้าที่สำคัญนั้นคือเซลล์เม็ดเลือดขาว ที่มีอยู่ในกระแสเลือดของเรา คอยช่วยตรวจจับสิ่งแปลกปลอมภายในร่างกายและทำลายไป แล้วสภาพจิตใจและภูมิคุ้มกันเกี่ยวข้องกันอย่างไร? ระบบในร่างกายของเราทำงานเกี่ยวพันกันอย่างแยกไม่ออก เมื่อเราเกิดความเครียด มีความไม่มั่นคงทางจิตใจ หรือสภาพแวดล้อมที่ทำให้รู้สึกกังวลใจ สมองก็จะตอบสนองสภาวะนั้นทันทีโดยการหลั่งฮอร์โมนส์ “คอร์ติซอล” หรือฮอร์โมนความเครียดออกมา โดยจะทำให้เกิดการหายใจและอัตราการเต้นของหัวใจเร็วขึ้น สามารถจดจ่อ และพยายามหาทางออกกับเรื่องที่เผชิญตรงหน้าได้ อย่างเวลากำลังแข่งขันหรือแก้ปัญหาเฉพาะหน้าต่าง ๆ แต่ไม่เป็นผลดีหากฮอร์โมนส์ชนิดนี้ถูกหลั่งบ่อย ๆ เพราะนั่นแปลว่ากำลังจะเจอความเครียดเรื้อรังได้นะครับ อย่างเช่นสถานการณ์โควิด-19 ที่ยังคงเป็นปัญหาหลักและเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้การใช้ชีวิตเปลี่ยนไปอย่างกู่ไม่กลับ การเผชิญกับข้อมูลข่าวสารที่สร้างความตระหนก บรรยากาศที่เต็มไปด้วยความหดหู่ ความหวาดกลัวที่จะติดโรค การต้องทำงานอยู่บ้านเป็นเวลานาน รวมไปถึงการบริหารจัดการต่าง ๆ ทำให้ใครหลายคนอาจจะเจอภาวะความเครียดอย่างต่อเนื่อง ทั้งที่รู้ตัวและไม่รู้ตัว อาจจะนำไปสู่การทำงานของภูมิคุ้มกันในร่างกายต่ำจากความเครียดก็เป็นได้ครับ สังเกตอย่างไรว่าตัวเองกำลังภูมิคุ้มกันต่ำจากความเครียด? นอนไม่หลับ – เป็นจุดสังเกตง่ายมาก ๆ เมื่อเวลาเราเจอภาวะเครียดเรามักจะนอนไม่หลับ […]
บุหรี่ตัวร้ายที่ทำให้ไขมันเลวสูง!
เชื่อว่าหลายคนรู้ว่าบุหรี่เป็นสิ่งหนึ่งที่ก่อให้เกิดปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพหลายอย่าง แต่ใครที่ติดไปแล้วก็ใช่ว่าจะหลุดออกมาจากการเสพติดได้ง่าย ๆ เพราะนิโคตินที่ร่างกายซึมซับมาเป็นเวลานานจะรู้สึกโหยหาเมื่อขาดนิโคตินไปช่วงระยะเวลาหนึ่ง มาดูอีกเหตุผลสำคัญที่คุณควรเลิกบุหรี่คือทำให้ร่างกายมีคอเลสเตอรอลที่เป็นไขมันเลวในร่างกายสูงกว่าคนที่ไม่สูบนะครับ อันตรายจากบุหรี่มาจากไหน? ในบุหรี่มีใบยาสูบที่มีนิโคตินซึ่งทำให้เกิดการเสพติด แต่อันตรายจากบุหรี่มาจากควันที่มีทั้งสารพิษกว่า 7,000 ชนิด สารพิษอัตรายมาก 250 ชนิด และสารก่อมะเร็งอีกมากกว่า 70 ชนิด รวมไปถึงคาร์บอนมอนนอกไซด์จากการเผาไหม้ บุหรี่ที่เข้าไปในร่างกายจะสามารถแทรกซึมเข้าไปตามกระแสเลือดในทุกส่วนของร่างกาย ตั้งแต่สมอง ทางเดินหายใจ ทางเดินอาหาร และเป็นปัจจัยสำคัญในการทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ทั้งหลอดเลือดหัวใจ มะเร็ง อาจจะส่งผลต่อสมรรถภาพทางเพศ และผู้หญิงที่ตั้งภรรภ์อาจจะทำให้ทารกพิการตั้งแต่กำเนิดได้ บุหรี่ทำให้เกิดคอเลสเตอรอล”ไขมันเลว”ในร่างกายได้อย่างไร? สารพิษในบุหรี่ทำให้ไขมันชนิดไม่ดี (LDL) ในเลือดมีความหนืด ข้น และเหนียวมากขึ้น และไปลดระดับไขมันดี (HDL) ในเลือดให้ลดลง ทำให้ไขมันไปเกาะตัวจนเกิดลิ่มเลือดที่ไปอุดตันในเส้นเลือดได้ง่ายขึ้น เลือดไม่สามารถไปเลี้ยงหัวใจและสมองได้ ซึ่งส่งผลให้เกิดโรคต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับหัวใจได้มากกว่าคนที่ไม่สูบบุหรี่ ที่สำคัญสารพิษในบุหรี่ทำให้ร่างกายไม่สามารถดูดซึมสารอาหารดี ๆ อย่างแคลเซียม วิตามิน และแร่ธาตุบางอย่างได้นะครับ มีผลการศึกษาบอกว่าถึงแม้ว่าคุณจะสูบบุหรี่เพียงมวนเดียวต่อวัน ผู้สูบจะมีความเสี่ยงต่ออาการหัวใจวายเพิ่มขึ้นถึง 50 เปอร์เซ็นต์ เเละเสี่ยงมากขึ้นถึง 30 เปอร์เซ็นต์ต่ออาการอุดตันในเส้นเลือดที่หล่อเลี้ยงหัวใจ หรือการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันในเส้นเลือดที่ไปหล่อเลี้ยงหัวใจเเละสมอง […]
ภาวะ Burnout จาก Work From Home
ใครช่วงนี้ยัง Work From Home อยู่บ้างครับ? อาจจะมีหลายคนเลยใช่ไหมครับ เพราะสถานการณ์โควิดยังไม่แน่นอน บางคนถึงกับ Work From Home มาตั้งแต่ปีที่แล้วตามนโยบายความปลอดภัยของบริษัท แต่รู้หรือไม่ครับว่าการที่เราต้องทำงานอยู่บ้านนาน ๆ นั้นอาจจะส่งผลให้เครียดจนเกิดเป็นภาวะ Burnout Syndrome ได้นะครับ ภาวะ Burnout Syndrome คืออะไร? Burnout Syndrome หรือ ภาวะหมดไฟในการทำงาน โดยนับว่าเป็นโรคใหม่ที่องค์การอนามัยโลก (WHO) ขึ้นทะเบียน เกิดจากความเครียดสะสมและถึงขั้นเรื้อรังจากการทำงาน ต้องได้รับการดูแลจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพราะจะกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้ โดยสามารถสังเกตอาการเบื้องต้นได้ ดังนี้ – รู้สึกเหนื่อยล้ามากกว่าปกติ แม้ว่าวันนั้นจะไม่ได้ทำงานหนักมากก็ตาม – รู้สึกหมดพลัง ไม่อยากทำอะไรนอกจากอยู่เฉย ๆ หรือทำในสิ่งที่อยากทำ แต่ไม่ทำในสิ่งที่ต้องทำ – ขาดความเชื่อมั่นในการตัดสินใจในการทำงานของตัวเอง คิดลบต่องานของตัวเองที่ทำอยู่หรืองานที่ทำออกมา – ไม่อยากมีส่วนร่วมในการทำงาน รวมถึงไม่อยากพูดคุยกับเพื่อนร่วมงาน – กังวล กลัว เมื่อต้องพูดคุยเรื่องงานของตัวเองกับคนอื่น โดยอาการเหล่านี้ยังไม่จัดว่ารุนแรงเท่ากับโรคซึมเศร้า แต่จะส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพของการทำงานในระยะยาว […]