สมาคมโรคข้อแห่งประเทศไทย พบว่าผู้ป่วยโรคเกาต์ในประเทศไทยมีจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ พบว่าประชากรผู้ชายมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคเกาต์มากกว่าผู้หญิงในอัตราประมาณ 4 ต่อ 1 อายุที่เพิ่มมากขึ้นเป็นปัจจัยสำคัญ โดยกลุ่มผู้ชายอายุ 40 ปีขึ้นไปและผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนมักจะเป็นโรคเกาต์ ในขณะที่สถิติคนไทยเป็นโรคข้ออักเสบมีอายุ 60 ปีขึ้นไป มีปัญหาข้อเสื่อมกว่า 2 ล้านคน ซึ่งมักพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย การเพิ่มขึ้นของผู้ป่วยทั้งโรคเกาต์และข้ออักเสบในไทยส่วนหนึ่งเกิดจากพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีไขมันสูง พลังงานสูง การขาดการออกกำลังกาย และความเสื่อมของร่างกายตามอายุ โรคเกาต์และข้ออักเสบ เป็นปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับระบบข้อและกระดูก โรคเกาต์เกิดจากการสะสมของกรดยูริกในร่างกาย ซึ่งสามารถตกผลึกในข้อและเนื้อเยื่อ ทำให้เกิดการอักเสบ บวม และปวด ขณะที่ข้ออักเสบ คือภาวะที่ข้อเสื่อมหรือเกิดการอักเสบ อาจมีสาเหตุมาจากพันธุกรรม การบาดเจ็บ หรือโรคภูมิคุ้มกันในร่างกาย การบริโภคอาหารจึงมีบทบาทสำคัญในการจัดการกับอาการของโรคทั้งสองชนิดนี้ โดยเฉพาะการเลือกโปรตีนจากพืชที่มีประโยชน์มากกว่าโปรตีนจากสัตว์ โปรตีนจากสัตว์กับกรดยูริก โปรตีนจากสัตว์มักมีปริมาณของพิวรีน (purines) สูง ซึ่งเป็นสารที่ถูกเผาผลาญกลายเป็นกรดยูริก เมื่อกรดยูริกในร่างกายมีมากเกินไป จึงเกิดการสะสมที่ข้อและทำให้เกิดโรคเกาต์ การลดการบริโภคโปรตีนจากสัตว์ เช่น เนื้อแดงและอาหารทะเล จึงช่วยลดความเสี่ยงของการสะสมกรดยูริก และลดความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเกาต์และข้ออักเสบได้ด้วย ข้อดีของโปรตีนจากพืช 1. ลดการสะสมของกรดยูริก: พืชส่วนใหญ่มีพิวรีนต่ำกว่าพืชอาหารประเภทสัตว์ […]