โปรตีนเป็นสารอาหารสำคัญที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย โดยทั่วไปแล้ว โปรตีนสามารถได้มาจาก 2 แหล่งที่มาใหญ่ ๆ คือ โปรตีนจากสัตว์และโปรตีนจากพืช ซึ่งทั้งสองประเภทนี้มีคุณสมบัติและประโยชน์ที่แตกต่างกันออกไป มาดูความแตกต่างของโปรตีนจากสัตว์และโปรตีนจากพืช เพื่อให้ผู้ป่วยและผู้ดูแลสามารถเลือกทานโปรตีนได้อย่างเหมาะสมกับสภาวะสุขภาพของแต่ละคน โปรตีนจากสัตว์ 1. คุณภาพและความครบถ้วนของสารอาหาร: โปรตีนจากสัตว์ เช่น เนื้อสัตว์ ไข่ และผลิตภัณฑ์นม มักจะเป็นโปรตีนที่มีคุณภาพสูง เนื่องจากมีกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกายครบถ้วน ทำให้ร่างกายสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทันที 2. การย่อยและการดูดซึม: โปรตีนจากสัตว์มักจะย่อยและดูดซึมได้ดี เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบย่อยอาหารสามารถได้รับประโยชน์จากโปรตีนชนิดนี้ได้มากกว่า 3. สารอาหารอื่น ๆ: โปรตีนจากสัตว์มักมีสารอาหารเพิ่มเติม เช่น วิตามิน B12, เหล็ก, และสังกะสี 4. ความเสี่ยง: การบริโภคโปรตีนจากสัตว์มากเกินไป อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด และโรคไต เนื่องจากมีไขมันอิ่มตัวและคอเลสเตอรอลสูง 5. โปรตีนจากสัตว์สำหรับผู้ป่วย: การเลือกทานโปรตีนจากสัตว์ต้องพิจารณาหลายเรื่อง เนื่องจากโปรตีนในสัตว์มีไขมันค่อนข้างสูง อย่างในไข่แดงของไข่ไก่เต็มไปด้วยคอเลสเตอรอล การรับประทานในปริมาณมากติดต่อกันอาจจะเสี่ยงที่จะทำให้ไขมันอุดตันในเส้นเลือดได้ ที่สำคัญโปรตีนจากสัตว์มักมีสารตกค้างจากกระบวนการปศุสัตว์ ซึ่งผู้ป่วยที่มีร่างกายที่อ่อนแอ โดยเฉพาะผู้ป่วยที่ได้รับเคมีบำบัดในการรักษาโรคมะเร็งควรจะศึกษาที่มาขอโปรตีนเหล่านั้นก่อนรับประทาน ไม่เพียงเท่านี้ ไขมันในโปรตีนจากสัตว์ยังไปยับยั้งกระบวนการสร้างภูมิคุ้มกันได้อีกด้วย […]