เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นผลกระทบที่ตามมาไม่เพียงแค่ทำให้รู้สึกไม่สบายตัว หลายคนที่มีภูมิคุ้มกันต่ำยังอาจจะส่งผลให้ป่วยง่าย โดยเฉพาะผู้ที่มีโรคประจำตัวจะได้รับผลกระทบมากกว่าคนทั่วไป อย่างผู้ป่วยที่มีโรคเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิต และโรคปอด ซึ่งอาจเสี่ยงต่อการเสียชีวิตเฉียบพลันได้ มาเข้าใจถึงสาเหตุและการป้องกันกันครับ โรคประจำตัวการเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคลมแดด (Heat Stroke) ภาวะลมร้อน หรือ การเกิดโรคลมแดด (Heat Stroke) จะเกิดขึ้นเมื่อร่างกายไม่สามารถควบคุมอุณหภูมิได้เหมาะสม เนื่องจากอากาศภายนอกร่างกายที่สูงจัดจนเกิดไป ซึ่งอาจนำไปสู่อาการรุนแรง เช่น วิงเวียนศีรษะ ชัก และอาจส่งผลให้หัวใจวายจนเสี่ยงที่จะเสียชีวิตได้ ผู้ป่วยโรคเรื้อรังมักมีภูมิคุ้มกันที่ลดลง ทำให้เสี่ยงต่อภาวะลมร้อนมากกว่าคนทั่วไปอีกด้วย ในภาวะนี้ต้องอาศัยการปฐมพยาบาลเบื้องต้นอย่างเหมาะสม และต้องหลีกเลี่ยงสถานที่ที่อากาศร้อนจัดสำหรับผู้ป่วยโรคเรื้อรังโดยเด็ดขาด อากาศร้อนส่งผลกระทบต่อการทำงานของหัวใจ อากาศร้อนเพิ่มภาระให้กับหัวใจ เนื่องจากต้องทำงานหนักขึ้นเพื่อรักษาอุณหภูมิร่างกายให้เหมาะสม สำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง สภาพแวดล้อมที่ร้อนจัดอาจทำให้เกิดอาการแทรกซ้อน เช่น หมดสติ ช็อก และหัวใจวายเฉียบพลันได้ โดยเฉพาะผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง มักไม่ค่อยรู้ว่าตัวเองเป็นโรคนี้ เพราะอาการไม่ได้แน่ชัดจึงเสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบจากอากาศร้อน หัวใจสูบฉีดเลือดไม่ปกติ และเสี่ยงที่จะช็อกและเป็นอัมพฤกษ์หรืออัมพาตได้ ผู้ป่วยโรคเบาหวานเฝ้าระวังอากาศเป็นพิเศษ ผู้ป่วยเบาหวานต้องระมัดระวังในหน้าร้อนเป็นพิเศษ เนื่องจากความร้อนสามารถทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดผันผวน นอกจากนี้ความร้อนยังส่งผลต่อการทำงานของอินซูลินในร่างกายด้วย ฉะนั้นผู้ป่วยเบาหวานต้องรักษาระดับน้ำตาลในเลือดในสมดุลอยู่เสมอ อากาศร้อนเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะขาดน้ำ […]