ไข้แดดหรือภาวะลมร้อน เป็นสภาวะที่เกิดขึ้นเมื่อร่างกายได้รับความร้อนมากเกินไปจนไม่สามารถควบคุมอุณหภูมิได้ สภาวะนี้พบได้บ่อยในเด็กเนื่องจากร่างกายของเด็กมีพื้นที่ผิวต่อน้ำหนักมากกว่าผู้ใหญ่ ทำให้สูญเสียความร้อนได้ง่าย แต่ในขณะเดียวกัน กลไกการระบายความร้อนของเด็กยังไม่พัฒนาเต็มที่ ทำให้เสี่ยงต่อภาวะลมร้อนสูง การรู้วิธีป้องกันและดูแลเมื่อเด็กเป็นไข้แดดจะช่วยลดความเสี่ยงและปกป้องลูกน้อยจากผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นได้ มาดูกันบ้างว่าพ่อแม่ควรรับมืออย่างไร อันตรายจากไข้แดดสำหรับเด็ก โรคไข้แดดถือเป็นโรคพบบ่อยในเด็กสาเหตุเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในขณะนี้โลกกำลังเผชิญกับ “ภาวะโลกร้อน” ทำให้แสงแดดมีความร้อนรุนแรงมากขึ้น จึงมีโอกาสมากขึ้นที่จะเกิดอาการหวัดแดดเพราะอุณหภูมิที่สูงทำให้ร่างกายปรับตัวตามไม่ทัน ผู้ปกครองมักจะแยกอาการไข้แดดและไข้หวัดธรรมดาได้ยากเพราะอาการคล้ายกัน แต่ในความจริงแล้วไข้หวัดธรรมดาจะมีอาการคัดจมูก มีน้ำมูก เจ็บคอ มีเสมหะ ร่วมด้วยส่วนไข้หวัดแดดจะไม่ค่อยมีน้ำมูก หรือมีน้ำมูกใส ๆ เพียงเล็กน้อย และไม่มีอาการเจ็บคอ แต่จะรู้สึกขมปาก คอแห้ง แสบคอ และอ่อนเพลียมากกว่าปกติ แม้ไข้แดดจะไม่ใช่โรคที่รุนแรง แต่การสะสมพิษในร่างกายเป็นเวลานานอาจจะส่งผลต่อการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ เช่น ม้าม กระเพาะอาหาร ของลูกในระยะยาวได้ จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกเกิดภาวะลมร้อน 1. ผิวแดงและอุณหภูมิสูง เมื่อสัมผัสที่ผิวของลูกจะรู้สึกได้ถึงความร้อนผ่านผิวหนัง หรือผิวขึ้นสีแดงระเรื่อ โดยเฉพาะบริเวณใบหน้า และตามแขน 2. ปวดศีรษะ ลูกอาจบ่นเรื่องมีอาการปวดศีรษะ เวียนหัว หรือรู้สึกไม่สบายตัว โดยเฉพาะหลังออกไปเจอแดดมา 3. คลื่นไส้หรืออาเจียน อาการเหล่านี้เกิดจากการที่ร่างกายพยายามกำจัดความร้อน ทำให้ลูกมีอาการไม่สบายตัว […]