การรับประทานอาหาร “รสเค็ม” หรือ การบริโภคโซเดียมหรือเหลือในปริมาณมาก หลายคนอาจจะคิดว่าเสี่ยงที่จะเป็นโรคเกี่ยวกับไตอย่างเดียว แท้จริงแล้วการทานรสเค็มส่งผลเสียต่อสุขภาพมากกว่าที่หลายคนเข้าใจ และอาหารในปัจจุบันก็มีปริมาณโซเดียมสูงเกินกว่าที่ร่างกายต้องการ และทำให้เราบริโภคแบบที่ละเลยสุขภาพมาโดยตลอด มาดูกันว่าการบริโภคโซเดียมจำนวนมาก ส่งผลเสียต่อสุขภาพของเรามากแค่ไหน การบริโภคโซเดียมส่งผลต่อการทำงานของความดันโลหิตและหัวใจ การบริโภคโซเดียมในปริมาณมากจะทำให้เลือดมีความเข้มข้นของโซเดียมมาก ปฏิกิริยาของร่างกายจะต้องลดความเข้มข้นลง โดยดึงน้ำเข้ามาในหลอดเลือดเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้หัวใจทำงานหนัก ต้องสูบฉีดเลือดในปริมาณมากตลอดเวลาที่เกิดปฏิกิริยานี้ หัวใจเต้นเร็ว กล้ามเนื้อหัวใจทำงานหนัก อาจจะทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจหนา ซึ่งเป็นปัจจัยให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด หากเกิดภาวะนี้ต่อร่างกายบ่อยเข้า อาจจะเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน เกิดเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ และหลอดเลือดสมอง ไม่เพียงเท่านี้การบริโภคโซเดียมในปริมาณมากจะเกิดการคั่งของสารน้ำในร่างกาย ทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น ซึ่งเสี่ยงที่จะเป็นโรคความดันโลหิตสูงพอ ๆ กับโรคเบาหวานหรือโรคอ้วน ซึ่งหากใครที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงก็เหมือนเปิดประตูสู่โรคหัวใจตามมา และแน่นอนว่าเสี่ยงที่จะเป็นโรคไตเพราะร่างกายต้องกรองของเสียผ่านไตเพื่อขับถ่ายออกทางปัสสาวะมากขึ้น จะเห็นได้เลยว่าการรับประทานอาหารรสเค็มจนติดเป็นนิสัยไม่ได้ทำให้เป็นโรคไตอย่างเดียว แต่ยังเป็นสาเหตุของโรคอื่น ๆ ได้อีก อาหารที่มีโซเดียมสูง แต่หลายคนมองข้าม 1. หมูกระทะ/ชาบู โซเดียมแทบจะอยู่ในทุก ๆ วัตถุดิบของการรับประทานหมูกระทะและชาบูเลยก็ว่าได้ ทั้งหมูหมัก เนื้อหมัก อาหารแปรรูปอย่างไส้กรอก เบคอน ลูกชิ้น น้ำซุปสำหรับต้ม ที่สำคัญในน้ำจิ้มที่หลายคนขาดไม่ได้ ยังไม่รวมถึงอาหารทานเล่นที่เป็นเครื่องเคียง 2. ยำ/ส้มตำ […]