ความเครียดเป็นหนึ่งในปัญหาสุขภาพจิตของคนไทย ข้อมูลกรมสุขภาพจิตเผยคนไทยเครียดมีปัญหาสุขภาพจิต ซึมเศร้าเพิ่ม 1-2% ในปี 2564 โดยมีสถิติที่น่าเป็นห่วงคือมีผู้ป่วยโรคซึมเศร้าในไทยถึง 1.5 ล้านคน สอดคล้องกับผลการศึกษาของ WHO ที่ในอนาคตโรคซึมเศร้าจะเป็นปัญหาโรคอันดับ 2 ของโลกอีกด้วย ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากความเครียดที่ผู้คนต้องรับมือกับปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในสังคม สิ่งที่จะเป็นปัญหาตามมาคือความเครียดเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้หัวใจและหลอดเลือดทำงานหนักอีกด้วย ความเครียดส่งผลต่อหัวใจและหลอดเลือดอย่างไร? ในขณะที่เกิดความเครียดทั้งที่รู้ตัวและไม่รู้ตัว ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนอะดรีนาลีนซึ่งจะช่วยให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายกระฉับกระเฉงพร้อมสำหรับการรับมือกับการแก้ปัญหา ส่วนฮอร์โมนคอร์ติซอลจะหลั่งออกมาเพื่อให้เราพร้อมรับมือกับการแก้ปัญหาอยู่เสมอ ซึ่งหากปัญหาไม่ถูกแก้ฮอร์โมนนี้ก็จะหลั่งต่อเนื่อง ยิ่งมีความเครียดบ่อยสะสมก็จะยิ่งทำให้หัวใจทำงานหนักมากขึ้น และอาจจะส่งผลให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจได้ในอนาคต ความเครียดสะสมส่งผลต่อการแก้ปัญหาด้วยวิธีที่ผิด หลาย ๆ คนที่เผชิญความเครียดเป็นประจำมักจะหาวิธีแก้ปัญหาและหาทางคลายความเครียดที่ง่าย เพื่อให้หลุดพ้นจากวังวนความเครียด เช่น การสูบบุหรี่ การทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ โดยเฉพาะการรับประทานน้ำตาลเพื่อคลายความเครียด การดื่มแอลกอฮอล์เพื่อให้ร่างกายผ่อนคลายและนอนหลับได้ดี ซึ่งวิธีการแก้ปัญหาเหล่านี้จะนำพาปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ตามมา เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคอ้วน ซึ่งเป็นประตูที่พร้อมจะเปิดต้อนรับโรคหัวใจและหลอดเลือดได้อย่างดี ปกป้องและดูแลหัวใจด้วยฮอร์ธอร์น ความเครียดเป็นภาวะหนึ่งที่เราไม่อาจควบคุมได้ เพราะบางครั้งเราก็เครียดโดยไม่รู้ตัวได้เช่นกัน วิธีสังเกตง่าย ๆ อาจจะดูว่าเรานอนหลับได้ประสิทธิภาพหรือไม่ เพราะหากรู้สึกว่านอนไม่หลับ หลับยาก หรือรู้สึกไม่กระปรี้กระเปร่า ฉะนั้นการบำรุงหัวใจอย่างสม่ำเสมอจึงเป็นเรื่องสำคัญและจำเป็น สารสกัดจากฮอร์ธอร์นสามารถช่วยกระตุ้นให้หลอดเลือดขยายมากขึ้น […]