แม้ในไทยจะมีผู้ป่วยโรคเบาหวานกว่า 4.8 ล้านคน และมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ แต่เชื่อว่าหลายคนมองว่าโรคนี้ไม่ได้มีความอันตราย เพราะมีวิธีการรักษาด้วยนวัตกรรมทางการแพทย์ที่ก้าวหน้า ผู้ป่วยหลายคน หรือกระทั่งคนที่ยังไม่เป็นโรคนี้ก็ละเลยในการดูแลตัวเอง ไม่ควบคุมปริมาณน้ำตาลในเลือด ซึ่งทำให้อวัยวะที่ได้รับผลกระทบต่อมาคือไต และเสี่ยงที่จะเป็นโรคไตเรื้อรังแทรกซ้อนเข้ามาอีก ทำไมเป็นโรคเบาหวานแล้วเสี่ยงโรคไตเรื้อรัง โรคเบาหวานจะมีการสะสมน้ำตาลในเลือดสูง ซึ่งปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคไตแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเบาหวาน คือ ระดับน้ำตาลในเลือกที่สูงมากนั้นก่อให้เกิดสารพิษตัวหนึ่งที่ไปกระตุ้นกลไกต่าง ๆ ที่ทำลายเนื้อไต จนไตไม่สามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ การกรองของเสียก็ลดลง รวมไปถึงความสามารถในการกักเก็บโปรตีนก็เสื่อมลงอย่างช้า ๆ จนทำให้เป็นโรคไตเรื้อรังได้ และหากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีก็เสี่ยงที่ผู้ป่วยจะไตวายเฉียบพลัน และทำให้เสียชีวิตได้เลยนะครับ สังเกตอย่างไรว่ามีโรคไตเรื้อรังแทรกซ้อนผู้ป่วยโรคเบาหวาน ในช่วงแรกจะสังเกตได้ยากเพราะมักไม่ค่อยแสดงอาหาร ผู้ป่วยโรคเบาหวานต้องไปพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอเพื่อตรวจโปรตีนในปัสสาวะ แต่หากผู้ป่วยโรคเบาหวานรู้สึกถึงความผิดปกติ เช่น มีอาการบวมที่เท้า บวมที่แขน มือ หรือเริ่มบวมไปทั่วตัว ก็อาจจะเสี่ยงที่จะเป็นโรคแทรกซ้อนไตเรื้อรังได้ หรือหากเลยไปถึงที่เป็นไตวายแล้ว จะมีอาการ เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ปวดหัว อ่อนเพลีย ชาตามปลายมือและเท้า หายใจหอบ ซึม ชัก หรือกระทั่งหมดสติ ป้องกันผู้ป่วยโรคเบาหวานจากภาวะแทรกซ้อนโรคไตเรื้อรังได้อย่างไร? การควบคุมปริมาณน้ำตาลในเลือดคือปัจจัยสำคัญในการป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากโรคไตเรื้อรัง เพราะหากสามารถควบคุมน้ำตาลในเลือดอยู่ในระดับที่ปกติได้ อวัยวะต่าง ๆ เช่น หลอดเลือด […]