“หมูกรอบ” อาจจะเป็นอาหารจานโปรดของใครหลายคน สีเหลืองทองของหลังที่กรอบ เนื้อสัมผัสก็นุ่มฉ่ำ รับประทานพร้อมน้ำจิ้มเลิศรสทานกี่ครั้งก็ไม่เคยเบื่อ แต่กว่าจะมาเป็นเมนูหมูกรอบผ่านกรรมวิธีมากมายโดยเฉพาะการทอดให้กรอบ ทั้งตัวหมูกรอบเองก็ทำจากหมูสามชั้นเนื้อหนา นั่นจึงไม่แปลกเลยที่ทำไมเราไม่ควรทานหมูกรอบเป็นเมนูประจำวัน มาดูว่าหมูกรอบทำให้เราเป็นโรคอะไรได้บ้าง โรคอ้วน หมูกรอบเต็มไปด้วยไขมันเนื่องจากทำมาจากหมูสามชั้นหนังหนา ซึ่งเป็นแหล่งไขมันชั้นดี ทั้งยังนำไปทอดในน้ำมันที่ต้องเดือดจัดให้เหลืองกรอบและสีสันน่าทาน การรับประทานหมูกรอบ 100 กรัม ให้พลังงานมากขึ้น 385-420 กิโลแคลอรี ซึ่งแน่นอนว่าการรับประทานมาก ๆ จะทำให้น้ำหนักขึ้นและอาจจะเกิดโรคอ้วนได้ด้วย โรคไขมันในเลือดสูง เนื่องจากหมูกรอบมีปริมาณไขมันที่สูงมาก การรับประทานในปริมาณที่มากจะไปทำให้ไขมันเพิ่มในกระแสเลือด ซึ่งอาจจะทำให้เลือดไหลเวียนได้ยากขึ้น จากการที่ไขมันไปเกาะผนังหลอดเลือด ซึ่งปัจจัยนี้ยังส่งผลให้เกิดโรคความดันโลหิตสูงได้ด้วย โรคเบาหวาน โรคเบาหวานไม่ได้เกิดจากการรับประทานอาหารรสหวานเพียงอย่างเดียว ปัจจัยหนึ่งที่ก่อให้เกิดโรคเบาหวานคือการที่มีน้ำหนักตัวเกินหรือมีภาวะโรคอ้วน ก็ทำให้เสี่ยงเป็นโรคเบาหวานได้เหมือนกัน ซึ่งการบริโภคหมูกรอบที่ไขมันสูงก่อให้เกิดโรคอ้วนและโรคเบาหวานตามมาได้ โรคหัวใจ โรคที่เกี่ยวกับหัวใจส่วนหนึ่งเกิดจากการที่มีไขมันในเลือดสูง ซึ่งการมีไขมันในเลือดสูงทำให้เลือดไม่สามารถไหลเวียนได้ดี ส่งผลให้หัวใจต้องทำงานหนักมากขึ้น เพราะต้องพยายามให้เลือดไปหล่อเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย แต่อุปสรรคใหญ่คือไขมันที่ไปเกาะตามผนังหลอดเลือด แต่ปะปนอยู่กับกระแสเลือดนั่นเอง โรคไต ก่อนหมูกรอบจะทอดมีการทาด้วยเกลือ ทำให้หมูกรอบมีปริมาณโซเดียมค่อนข้างสูง รวมไปถึงน้ำจิ้มที่ใช้ทานคู่หมูกรอบด้วย ทำให้คนที่ชอบทานหมูกรอบอาจจะได้รับปริมาณโซเดียมที่สูงเกินกว่าความจำเป็นของร่างกายไปด้วย หรือเมนูข้าวหมูกรอบ 1 จานอาจจะมีโซเดียมสูงถึง 700 – 1,000 มิลลิกรัม (ปกติร่างกายไม่ควรได้รับโซเดียมเกิน […]