สถานการณ์ด้านสิ่งแวดล้อมทั่วโลกสร้างความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในเวลาไม่นานนัก โดยเฉพาะความแปรปรวนด้านสภาพอากาศ ซึ่งเกิดจากกิจกรรมบนโลกที่มนุษย์สร้างขึ้น ซึ่งหนึ่งที่กระทบต่อชีวิตและความเป็นอยู่ของผู้คนเป็นอย่างมากคือมลภาวะทางอากาศ หรือฝุ่นควัน PM2.5 แม้ต้นตอจะไม่เกี่ยวกับภาวะโลกร้อนนัก แต่ก็นับว่าเป็นวิกฤติทางสิ่งแวดล้อมที่ต้องอาศัยการแก้ปัญหาเชิงโครงสร้างที่จริงจัง แน่นอนว่าหลายปีที่ผ่านมาประเทศไทยเผชิญกับปัญหานี้จนกลายเป็นฤดูกาลไปเสียแล้ว ซึ่งแน่นอนผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องที่ห้ามไม่ได้โดยเฉพาะ “โรคมะเร็งปอด” ชีวิตที่หลีกเลี่ยง PM2.5 ไม่ได้ ต้องยอมรับว่าไม่ว่าจะอยู่ส่วนไหนของประเทศไทยก็หลีกเลี่ยงที่จะไม่สัมผัส PM2.5 ได้ยาก เพราะทุกวันนี้ค่าฝุ่นเข้มข้นจนทำได้แค่หลีกเลี่ยงและอยู่ในอาคารเป็นส่วนใหญ่ แต่หลายคนที่ต้องทำงานกลางแจ้ง หรือต้องทำงานในพื้นที่โล่ง หรืออยู่ในโรงงานอุตสาหกรรม ไซต์ก่อสร้างต่าง ๆ ก็หลีกเลี่ยงได้ยาก ซึ่ง PM2.5 เป็นสารก่อมะเร็งที่มีขนาดโมเลกุลเล็กเพียงมากจนมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า เมื่อเข้าไปโดยไม่รู้ตัวในหลอดลมจนถึงปอด จะทำให้เกิดการอักเสบ มีการกลายพันธุ์ของ DNA และ RNA หากได้รับในปริมาณที่มากและยาวนาน อาจจะทำให้กลายเป็นมะเร็งปอดในสักวันหนึ่ง แน่นอนว่าคนที่สูบบุหรี่ร่วมด้วยก็จะยิ่งทวีความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งปอดถึง 2 เท่า วิกฤติฝุ่น PM2.5 และสถานการณ์ผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดในไทย มะเร็งปอดเป็นมะเร็งที่ทำให้คนไทยเสียชีวิตเป็นอันดับที่ 2 ในผู้ป่วยชาย และอันดับที่ 1 ในผู้หญิง ซึ่งเป็นโรคที่ตรวจคัดกรองได้ค่อนข้างยาก มีอัตราการลุกลามที่รวดเร็ว และมีโอกาสเสียชีวิตสูง มีงานวิจัยบอกว่าคนไทยเสียชีวิตกว่า 70,000 คน / ปี […]
น้ำในหูไม่เท่ากัน โรคฮิตวัยทำงาน ต้องปรับสมดุลร่างกาย
เคยเป็นไหม? อยู่ ๆ ก็รู้สึกเวียนหัว บ้านหมุน ยืนทรงตัวไม่อยู่ หลายคนอาจจะคิดว่าลุกเร็ว นั่งพักเดียวก็หาย แต่อาการแบบนี้กลับเป็นบ่อยขึ้น ถี่ขึ้น และรู้สึกกระทบกับการใช้ชีวิต ซึ่งอาการแบบนี้อาจจะเกิดจาก “โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน” ซึ่งโรคนี้เกิดขึ้นได้กับคนทั่วไปโดยเฉพาะวัยทำงาน สาเหตุมีหลากหลายปัจจัย พามารู้จักโรคนี้ วิธีรักษา รวมไปถึงการรักษาสมดุลให้ร่างกายเพื่อป้องกันโรคนี้กันครับ โรคน้ำในหูไม่เท่ากันคืออะไร? โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน หรือ โรคมีเนีย (Meniere’s disease) เป็นสาเหตุของโรคที่พบอันดับสองของสาเหตุอาการเวียนศีรษะ ส่วนใหญ่มักเป็นกับหูเพียงข้างเดียว หรือสามารถเป็นได้ทั้งสองข้าง แต่พบได้ไม่บ่อยนัก เกิดจากความผิดปกติของน้ำในชั้นหูชั้นใน ซึ่งโดยปกติจะมีน้ำในปริมาณที่พอดีกับการทำงานของเซลล์ประสาท ที่มีหน้าที่ควบคุมการทรงตัวและการได้ยิน แต่เมื่อเกิดความผิดปกติขึ้น เช่น การดูดซึมน้ำในหูไม่ดี ทำให้น้ำในชั้นหูชั้นในมีปริมาณมากกว่าปกติ ส่งผลต่อเซลล์ประสาทที่ควบคุมการทรงตัวและการได้ยิน ทำให้เกิดการเวียนหัว หูอื้อ และอาจจะไม่ได้ยินชั่วขณะ เป็นต้น สาเหตุของการเกิดโรคน้ำในหูไม่เท่ากันมาจากอะไร? โรคนี้สามารถเป็นได้ทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะในวัยทำงานช่วงอายุ 30 ปีขึ้นไป ซึ่งยังไม่สามารถระบุสาเหตุได้ชัดเจน แต่มีปัจจัยที่อาจจะมีส่วน เช่น กรรมพันธุ์ของโครงสร้างหูชั้นในผิดปกติ โดยพบแต่กำเนิด โรคภูมิแพ้ที่ส่งผลต่อการไอ จาม คัดจมูก ที่จะทำให้หูอื้อได้ หรือกระทั่งการติดเชื้อไวรัส […]
คนเป็นความดันโลหิตสูงควรออกกำลังกายแบบใด?
หลายคนอาจจะสงสัยว่าผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงสามารถออกกำลังกายได้หรือไม่? คำตอบคือได้ครับ หากผู้ป่วยสามารถออกกำลังกายได้อย่างเหมาะสม จะช่วยควบคุมระดับความดันได้อีกด้วย ซึ่งผู้ป่วยหลาย ๆ คนมักจะละเลย แม้แพทย์จะแนะนำ ด้วยกลัวจะหน้ามืด หรือกลัวจะออกกำลังกายหนักจนส่งผลต่อโรค วันนี้จะมาแนะนำการออกกำลังกายสำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตครับ การออกกำลังกาย ดีต่อผู้ป่วยโรคความดันโลหิตอย่างไร? การออกกำลังกายสามารถช่วยป้องกันโรคความดันโลหิตสูงในคนที่มีความดันในเกณฑ์ปกติ และสามารถช่วยลดความดันหรือควบคุมความดันให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้ด้วย ซึ่งมีการวิจัยพบว่า การออกกำลังกายประเภทแอโรบิค สามารถลดความดันโลหิตในค่า Systilic ได้ประมาณ 2-3 mmHG ทั้งยังช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะหลอดเลือดสมองตีบหรือแตกได้ถึงร้อยละ 14 รวมถึงช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจได้ถึงร้อยละ 9 การออกกำลังกายจึงเป็นหนึ่งในวิธีการรักษา ควบคุม และช่วยป้องกันโรคความดันโลหิตทั้งในผู้ป่วยและคนทั่วไปได้ด้วย การออกกำลังกายแบบแอโรบิคสามารถทำได้อย่างไรบ้าง? การออกกำลังกายแบบแอโรบิค (Aerobic) คือ การออกกำลังกายประเภทหนึ่งที่ให้ความสำคัญกับการหายใจเข้าออก เพื่อให้หัวใจและหลอดเลือดเกิดการสูบฉีด และสามารถส่งออกซิเจนไปใช้เป็นพลังงานตลอดการออกกำลังกาย เช่น การเดินเร็ว การว่ายน้ำ การขี่จักรยาน หรือการเต้นแอโรบิค ซึ่งจะเป็นการออกกำลังกายแบบต่อเนื่อง เน้นให้เกิดการขยับกล้ามเนื้อ และใช้กล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ซึ่งจะเป็นการออกกำลังกายที่ไม่หนักจนเกินไป และใช้ระยะเวลาประมาณ 30-60 นาที/ครั้ง สัปดาห์ละ 3-4 ครั้ง ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตต้องรู้ก่อนออกกำลังกาย ในขณะออกกำลังกายผู้ป่วยจะต้องสังเกตตัวเอง […]