หัวใจเป็นอวัยวะที่สำคัญที่สุดของร่างกาย ทำหน้าที่สูบฉีดเลือดไปหล่อเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ซึ่งเป็นอวัยวะที่มีระบบการทำงานที่ซับซ้อนและละเอียดอ่อนมาก เมื่อมีความผิดปกติจึงไม่แสดงอาการให้ทราบได้ และตรวจวินิจฉัยได้ยาก ทำให้เมื่อมีความผิดปกติเกิดขึ้นกับหัวใจก็มักจะเป็นขั้นที่ต้องรักษาอย่างจริงจังแล้ว นี่เป็นอีกปัจจัยที่ทำให้สถิติคนไทยป่วยเป็นโรคหัวใจมากขึ้น และอีกปัจจัยคือเรื่องพฤติกรรม มาดูกันว่าทำไมคนไทยถึงเป็นโรคนี้มากขึ้นจะน่าเป็นกังวลครับ สถิติโรคหัวใจของคนไทยเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ รายงานจากองค์การอนามัยโลกหรือ WHO ในปี 2563 รายงานว่า กลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ของคนทั่วโลก หรือประมาณ 17.9 ล้านคน และจากสถิติในประเทศไทย พบผู้เสียชีวิตด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือดมากถึง 6 หมื่นคนต่อปี หรือมีผู้เสียชีวิตเฉลี่ยชั่วโมงละ 2 คน โดยพบว่าปัจจุบันมีความเสี่ยงที่จะทำให้คนเป็นโรคหัวใจเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะพฤติกรรมการใช้ชีวิต ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเกิดโรคหัวใจ 1. ความผิดปกติตั้งแต่เกิด เกิดจากพันธุกรรม หรือหัวใจผิดปกติตั้งแต่กำเนิด หรือตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา 2. เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต บางคนอายุเพียง 30 – 35 ปี ก็สามารถป่วยเป็นโรคหัวใจได้ เพราะการใช้งานร่างกายที่หนัก โดยเฉพาะนักกีฬาที่ต้องออกแรงทำให้หัวใจสูบฉีดเลือดอย่างหนักมาตลอด อาจจะทำให้ผนังหลอดเลือดหัวใจหนาขึ้น และเสี่ยงที่จะเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลันได้ 3. โรคต่าง ๆ ที่เป็นประตูนำไปสู่โรคหัวใจ […]