ประเทศไทยนอกจากจะมีฤดูร้อนตลอดทั้งปีแล้ว อีกฤดูที่เราต้องเตรียมรับมือคือฤดูฝน ที่กินเกือบครึ่งปีของฤดูกาลในประเทศไทยไปแล้ว ส่งผลให้เกิดอุทกภัยในหลายพื้นที่ รวมไปถึงฝนตกหนักจนน้ำขังตามจุดต่าง ๆ ด้วย สิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยากคือเชื้อโรคที่มาพร้อมกับน้ำ รวมไปถึงสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว อาจจะส่งผลให้บางคนป่วยกะทันหัน มาเฝ้าระวังโรคที่มากับน้ำ รวมไปถึงการดูแลตัวเองช่วงมรสุมกันดีกว่าครับ โรคที่มากับน้ำส่วนใหญ่มักจะติดเชื้อโดยเชื้อไวรัสและแบคทีเรียที่มากับน้ำสกปรก ในช่วงแรกที่น้ำท่วมอาจจะยังไม่เจอเชื้อโรคเหล่านี้ แต่หากน้ำขังนาน ๆ ก็จะเกิดความสกปรกและส่งผลต่อผู้คนที่ต้องอาศัยอยู่ในสถานที่น้ำขังได้ เช่น 1. โรคติดต่อทางผิวหนัง ไม่ว่าจะเป็นโรคน้ำหัดเท้า โรคติดเชื้อจากเชื้อรา แผลพุพอง ที่เกิดจากการแช่น้ำที่เต็มไปด้วยเชื้อโรคเป็นเวลานาน หรือการใส่เสื้อผ้าเปียกชื้นก็อาจจะเป็นสาเหตุให้ติดเชื้อได้เช่นกัน ซึ่งจะรู้สึกคันตามซอกผิวที่อับชื้น เช่น ระหว่างนิ้ว ข้อพับ ผิวหนังลอกออกเป็นขุย และลุกลามไปยังเนื้อผิวข้างเคียงได้ การดูแลตัวเองเบื้องต้นคือการทำความสะอาดผิวที่ติดเชื้อด้วยน้ำสะอาด ฟอกสบู่ เช็ดให้แห้ง และใช้ครีมที่รักษาเชื้อราทา หากอาการหนักขึ้นและลุกลาม ควรพบแพทย์ทันที 2. โรคตาแดง เป็นโรคที่ไม่รุนแรง มักพบในเด็กมากกว่าผู้ใหญ่ เกิดจากเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งที่มากับน้ำ และการสัมผัสบริเวณดวงตา แม้อาการของโรคจะไม่รุนแรง แต่ก็สามารถติดเชื้อและเกิดโรคแทรกซ้อนได้ หากได้รับเชื้อต้องไม่สัมผัสหรือใกล้ชิดผู้ป่วย เพราะเป็นโรคติดต่อที่สามารถติดกันได้ง่าย ในช่วง 1-2 วันแรก จะเริ่มระคายเคืองตา ปวดตา น้ำตาไหลบ่อย มีขี้ตามาก และมักจะหายได้เองภายใน […]