หลายคนอาจจะคิดว่าโรคเบาหวานเกิดขึ้นกับคนที่อายุมาก และมีน้ำหนักตัวเยอะเท่านั้น แต่ปัจจุบัน “โรคเบาหวาน” สามารถเกิดขึ้นกับคนที่อายุน้อย ๆ ได้มากขึ้น จากสถิติที่ผู้ป่วยเบาหวานทั่วโลกอายุน้อยลงเรื่อย ๆ ซึ่งเป็นเรื่องน่ากังวลทางด้านสาธารณสุขหลายประเทศเลยครับ และสาเหตุหลักมาจากการใช้ชีวิตของผู้คนในยุคปัจจุบันด้วย มาดูกันครับว่าพฤติกรรมอะไรที่เราทำแล้วเสี่ยงเบาหวานบ้าง? 1. ทำงานหนัก ในยุคที่เศรษฐกิจถดถอยทำให้หลาย ๆ ต้องทำงานหนักมากขึ้น บางคนทำงานหลาย ๆ อย่าง เพราะจากภาระค่าใช้จ่ายหรืออื่นๆ ทำให้ร่างกายไม่ได้รับการพักผ่อนอย่างเต็มที่ นอกจากจะทำให้ฮอร์โมนทำงานได้ไม่เต็มที่และผิดปกติแล้ว ยังส่งผลให้ร่างกายเครียดไม่รู้ตัว ซึ่งปัจจัยนี้อาจจะทำให้ร่างกายของหลาย ๆ คนต้องการอาหารที่มีพลังงานสูง เพื่อชดเชยความเครียดและเหนื่อยล้าจากการทำงาน และอาจจะทำให้ต้องทานเยอะกว่าปกติเพราะร่างกายทำงานหนัก ซึ่งอาหารที่ชดเชยได้อย่างรวดเร็วจะเป็นอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตสูง น้ำตาลสูง เพราะช่วยให้คลายเครียดได้ เป็นปัจจัยที่เสี่ยงให้เป็นโรคเบาหวานได้ไม่ยากเลย 2. ติดการอยู่บ้าน ไม่เคลื่อนไหว การที่โลกของเราเผชิญกับโควิด-19 หลายปี หลายคนคุ้นชินกับการอยู่บ้าน เลี่ยงการเข้าสังคม เปลี่ยนบ้านเป็นทั้งสถานที่ทำงาน พักผ่อน และทำกิจกรรมหลายอย่าง ซึ่งการที่หลายคนอยู่บ้านนาน ๆ อาจจะส่งผลต่อสภาวะจิตใจ รวมทั้งการไม่ได้ใช้พลังงานอย่างที่เคยได้ใช้ เช่น การต้องเดินทางไปทำงาน การออกไปทานข้าวเที่ยง การพบปะพูดคุยกับผู้คน ซึ่งพลังงานเหล่านี้ก็จะถูกสะสมและเปลี่ยนไปเป็นไขมันสะสมตามร่างกายได้เช่นกัน เพราะเรายังคงต้องทานอาหารเท่าเดิม แต่พลังงานที่เราเคยได้เอาไปใช้ชีวิตกลับไม่ได้ถูกใช้ ที่สำคัญหลายคนไม่ออกกำลังกายด้วย […]
โอไมครอน BA.2.75 หลบภูมิเก่ง ยิ่งต้องรับมือ!
ตั้งแต่มีการค้นพบโคโรนาไวรัส หรือ โควิด-19 เราก็ได้รับรายงานข่าวสารถึงการกลายพันธุ์ของไวรัสนี้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งนับว่าเป็นความปกติที่ไวรัสจะมีการกลายพันธุ์เพื่อรักษาเผ่าพันธุ์ของตัวเองไว้ ยิ่งกลายพันธุ์ได้มากก็มีโอกาสรอดชีวิตสูงตามไปด้วย แต่นั่นยิ่งไม่เป็นผลดีกับมนุษย์ นั่นหมายถึงการเอาตัวรอดของไวรัสนั้น ยิ่งทำให้ผู้คนสามารถได้รับเชื้อไวรัสเข้าร่างกายได้ง่ายมากขึ้น โดยเฉพาะโคโรนาสายพันธุ์โอมิครอน สายพันธุ์ย่อย BA.2.75 ความน่ากังวลของโอไมครอน สายพันธุ์ย่อย BA.2.75 โคโรนาไวรัส สายพันธุ์ BA.2.75 พบครั้งแรกที่ต่างประเทศช่วงเดือนมกราคม 2565 แต่มีการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วในอินเดีย ช่วงเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา โดยสายพันธุ์ย่อยนี้พบการกลายพันธุ์บน spike protein หลายตำแหน่งซึ่งส่งผลให้มีโอกาสติดเชื้อมากขึ้น เพิ่มโอกาสในการแพร่กระจายได้มากขึ้นอีกด้วย รวมถึงมีแนวโน้มที่จะสามารถหลบหลีกภูมิคุ้มกันจากการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ได้ และอาจจะมีโอกาสในการติดเชื้อซ้ำ แม้จะเพิ่งติดเชื้อได้ไม่นานก็ตาม จะป้องกันตัวเองจาก โอมิครอน สายพันธุ์ย่อย BA.2.75 ได้อย่างไร? 1. ฉีดวัคซีนและวัคซีนเข็มกระตุ้น การฉีดวัคซีนยังคงมีความจำเป็นในการลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ และลดความรุนแรงเมื่อได้รับเชื้ออยู่นะครับ ซึ่งจากรายงานหลายประเทศทั่วโลก ยังมีประชากรที่ไม่ได้รับวัคซีนเข็ม 1 และยังมีอัตราการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นในระดับที่ไม่มาก ซึ่งจึงทำให้อัตราการแพร่ระบาดจากคนติดเชื้ออยู่ในระดับที่สูง การฉีดวัคซีนจึงยังคงจำเป็นอยู่ครับ 2. การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย แม้การฉีดวัคซีนจะเป็นการกระตุ้นภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย ลดความเสี่ยงในการติดเชื้อได้ แต่การเสริมภูมิคุ้มกันจากปัจจัยภายนอกก็สำคัญไม่แพ้กัน การรับประทานอาหารเสริม “เบต้ากลูแคน” นับเป็นอีกทางเลือกที่จะทำให้ร่างกายของเราแข็งแรงจากภูมิคุ้มกันที่เข้มแข็งได้ และนับว่าเป็นวิธีที่สะดวก […]
ไม่อยากภูมิตก “หยุดทาน” เมนูยอดฮิต!
ทุกวันนี้ไม่ว่าจะเลื่อนผ่านไทม์ไลน์แพลตฟอร์มไหน คงจะหนีไม้พ้นจะเจอคอนเทนต์ชวนรับประทานอาหารยอดฮิตจากร้านดัง คอนเทนต์เหล่านี้กระตุ้นให้เราอยากไปลิ้มลองรสชาติ แต่สังเกตไหมครับว่า เมนูยอดฮิตที่เราเห็นผ่านตามักจะเป็นเมนูที่เน้นไปที่เนื้อสัตว์ติดมัน รสชาติจัดจ้านทั้งเค็มและหวาน เน้นความน่ารับประทาน แค่เห็นสีสันก็นึกถึงรสชาติได้ทันที ซึ่งหลายคนอาจจะไม่ทราบว่าอาหารยอดฮิตเหล่านี้หากรับประทานในปริมาณมาก หรือรับประทานเป็นประจำ เสี่ยงที่จะภูมิตกได้ เพราะอะไรมาดูครับ อาหารประเภทบุฟเฟ่ต์ ชาบู/ปิ้งย่าง เสี่ยงภูมิตก อาหารประเภทบุฟเฟ่ต์ส่วนมากจะเน้นไปที่เนื้อสัตว์ติดมัน ทั้งเนื้อหมู เนื้อวัว ไก่ อาหารทะเล รวมไปถึงอาหารแปรรูป อย่างไส้กรอก แฮม เบคอน ซึ่งอาหารเหล่านี้มีไขมันสูงมาก ๆ การรับประทานในปริมาณมากจะทำให้ร่างกายสะสมไขมันส่วนเกินไปเรื่อย ๆ นอกจากนี้ยังมีรสชาติจัดจ้าน จากน้ำจิ้มหรือน้ำซุปที่มีรสชาติเค็มนำ และมีปริมาณเกลือหรือโซเดียมมาก บางมื้อที่หลายคนรับประทานบุฟเฟ่ต์อาจจะได้ปริมาณโซเดียมสูงถึง 10,000 มิลลิกรัม ซึ่งปกติแล้วร่างกายไม่ควรได้รับโซเดียมเกิน 2,000 มิลลิกรัมเท่านั้น และการทานบุฟเฟ่ต์ทำให้ร่างกายเราได้รับสารอาหารที่เกินต่อความต้องการของร่างกาย ฉะนั้นการทานบุฟเฟ่ต์ชาบูปิ้งย่างบ่อย ๆ นอกจากจะส่งผลต่อน้ำหนักตัวแล้ว ก็อาจจะทำให้อวัยวะในร่างกายทำงานหนักขึ้น เสี่ยงที่ระบบภูมิคุ้มกันจะอ่อนแอได้ ยำประเภทต่าง ๆ อาหารประเภทยำจะมีจุดเด่นที่รสจัดจ้าน ทั้งหวาน เค็ม และเผ็ด จากการปรุงด้วยเครื่องปรุงต่าง ๆ และปัจจุบันมีการใส่วัตถุดิบที่มีไขมันและคอเลสเตอรอลสูง อย่างไข่เค็ม เนื้อสัตว์ทะเล ของทอด […]