วันนี้มาชวนทุกคนทำความรู้จัก “โพรไบโอติกส์” ที่มีอยู่ในร่างกายตามธรรมชาติของเราอยู่แล้วให้ดียิ่งขึ้น ว่าการมีสิ่งนี้จะช่วยให้สุขภาพของเราดีขึ้นได้อย่างไร แล้วถ้าหากร่างกายขาดโพรไบโอติกส์จะส่งผลอย่างไร ที่สำคัญอาหารใดบ้างที่มีโพรไบโอติกส์จะได้เลือกรับประทานได้ครับ โพรไบโอติกส์ คือ จุลินทรีย์ขนาดเล็กซึ่งถือเป็นจุลินทรีย์ที่ดี ช่วยไปลดการเติบโตของจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรคในลำไส้ ไม่ว่าจะลดการท้องเสีย ลดลำไส้อักเสบ ท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นท้อง รวมไปถึงลดความเสี่ยงที่จะเกิดมะเร็งลำไส้ด้วย นอกจากนี้ไพรไบโอติกส์ยังดีต่อระบบการย่อยอาหาร การดูดซึม การขับถ่าย ทั้งยังช่วยปรับสมดุลปริมาณแบคทีเรียในร่างกายได้ด้วย ซึ่งการสร้างสมดุลแบคทีเรียคือการที่เราต้องทานอาหารที่มีโพรไบโอติกส์เข้าไปด้วยอีกทาง 5 อาหารแนะนำมีโพรไบโอติกส์สูง มีส่วนช่วยเสริมภูมิ ลดเสี่ยงมะเร็งลำไส้ 1. โยเกิร์ต เป็นอาหารที่ผ่านกระบวนการหมัก ทำให้มีเชื้อจุลินทรีย์ที่เกิดขึ้นจากธรรมชาติในปริมาณที่สูง ช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เต็มไปด้วย Lactobacillus acidophilus และ Lactobacillus casei ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่ดีต่อการทำงานของกระเพาะและลำไส้อีกด้วย 2. ชีส ประเภทคอทเทจชีส หรือ ชีสสด มีสีขาว รสจืด ถือว่าเป็นผลิตภัณฑ์จากนมที่มีไขมันต่ำแต่โปรตีนสูงกว่าชีสประเภทอื่น ๆ ช่วยในเรื่องการย่อย ดีต่อลำไส้ และระบบขับถ่าย นอกจากนี้ยังมีสารอาหารที่ดีต่อร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นแคลเซียมที่ช่วยให้กระดูกและฟันแข็งแรงอีกด้วย คอทเทจชีสจะต่างกับชีสทั่วไปตรงที่ไม่ได้ผ่านกระบวนการบ่ม (Aging Process) พลังงานที่ได้จะน้อยกว่าชีสประเภทอื่น […]
ฝีดาษลิงน่ากลัวแค่ไหน เสริมภูมิป้องกันเสมอ!
การแพร่ระบาดของโคโรนาไวรัสแม้จะมีท่าทีว่าจะเบาบางลงในแง่ความรุนแรงของโรค แต่ถือว่าการแพร่ระบาดยังคงมีจำนวนผู้ติดเชื้ออยู่อย่างต่อเนื่อง ดูรวม ๆ แล้วสถานการณ์จะเรียกว่าดีขึ้นก็พูดไม่ได้เต็มปาก ยังมีรายงานใหม่ว่ามี “โรคฝีดาษลิง” เริ่มมีผู้ติดเชื้อในหลาย ๆ ประเทศ รวมถึงประเทศไทยด้วยที่มีรายงานผู้ติดเชื้อ แม้จะยังไม่อยู่ในสถานการณ์แพร่ระบาด แต่ถึงอย่างไรเราก็ต้องเฝ้าระวัง มารู้จักโรคฝีดาษลิงให้มากขึ้น พร้อมเสริมภูมิป้องกันร่างกายกัน! โรคฝีดาษลิงคืออะไร? คล้ายกับโรคฝีดาษที่เคยแพร่ระบาดในสมัยก่อนหรือเปล่า? โรคไข้ฝีดาษลิง หรือ ไข้ทรพิษลิง (Monkeypox) เกิดจากเชื้อไวรัสที่อยู่ในกลุ่มไข้ทรพิษ โดยพบมากในสัตว์ตระกูลลิงและสัตว์ฟันแทะ อย่างหนู กระรอก กระต่าย ซึ่งโรคนี้เป็นโรคประจำถิ่นของทวีปแอฟริกา พบอัตราการเสียชีวิตอยู่ที่ประมาณ 1-10% ของผู้ติดเชื้อ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 สายพันธุ์หลัก คือ สายพันธุ์ Congo Basin พบอัตราการเสียชีวิตประมาณ 10% และสายพันธุ์ West African พบอัตราการเสียชีวิต 1% โดยความแตกต่างระหว่างโรคฝีดาษลิงและโรคฝีดาษในคนนั้น อาการจะเป็นไข้ออกผื่น ประมาณ 2-4 สัปดาห์ โดยมีไวรัสที่เป็นพาหะคนละชนิด และความรุนแรงของโรคค่อนข้างต่างกัน โดยไวรัสของฝีดาษคนจะอยู่ในคนเป็นหลัก ติดต่อจากคนสู่คนเท่านั้น ผ่านทางการหายใจ และติดต่อกันค่อนข้างง่าย […]