หมูกระทะ ชาบู กะเพราหมูกรอบ ยำ ส้มตำ ใครชอบอาหารเหล่านี้บ้างครับ? เชื่อว่าเป็นเมนูโปรดของใครหลายคนเลย บางคนทานอาหารเหล่านี้บ่อย ๆ แต่รู้หรือไม่ครับว่าอาหารที่ยกตัวอย่างไปนอกจากความอร่อยติดลิ้นแล้ว ก็ยังเต็มไปด้วยโซเดียมหรือความเค็มเป็นรสหลักอีกด้วย การรับประทานอาหารรสเค็มติดต่อกันจะส่งผลต่อการทำงานของไต อาจจะเสี่ยงเป็นโรคไตในอนาคต และอาจจะเสี่ยงเป็นเบาหวานได้ด้วยนะ ทำไม “รสเค็ม” ถึงทำให้เสี่ยงเป็นเบาหวานได้? เวลาที่เรารับประทานอาการรสเค็มจะทำให้เราร่างกายผลิตสารโดปามีนมากขึ้น ทำให้เรารู้สึกพึงพอใจในรสชาติของอาหาร มีความสุขขณะรับประทาน และลิ้นสามารถรับรู้รสได้มากยิ่งขึ้น ส่งผลให้เราสามารถรับประทานอาการมื้อนั้น ๆ ได้มากขึ้น หากใครที่ชื่นชอบรสเค็มก็ยิ่งทำให้สมองจดจำรสชาตินั้น และทำให้เราอยากทานอาหารที่มีรสเค็มซ้ำ ๆ ซึ่งทำให้เราได้รับสารอาหารเกินความต้องการของร่างกาย เสี่ยงต่อน้ำหนักตัวขึ้นง่าย ไขมันส่วนเกิน และคอเลสเตอรอลในร่างกายที่สูงขึ้น สุดท้ายก็อาจจะเป็นโรคเบาหวานได้นั่นเองครับ เราบริโภคความเค็มได้วันละเท่าไหร่? ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ที่ออกมารณรงค์ให้ประชากรบริโภคเกลือไม่เกิน 1 ช้อนชา หรือ 5 กรัมต่อคนต่อวัน หรือโซเดียมไม่เกิน 2,000 มิลลิกรัม ซึ่งเป็นปริมาณที่จะไม่ก่อให้เกิดผลเสียต่อร่างกาย เพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้องรัง หรือ NCDs เพราะปัจจุบันคนเป็นโรคนี้จำนวนมาก สำรวจตัวเองว่าเป็นคนติดอาหารรสเค็มหรือไม่? สังเกตตัวเองว่าเวลานึกถึงอาหารที่อยากทานเป็นอาหารแบบใด ถ้าเป็นอาหารรสจัด อาหารแปรรูปอย่างไส้กรอก แฮม ลูกชิ้น […]