หลายคนอาจจะคุ้นชินกับออฟฟิศซินโดรม แต่ปัจจุบันที่โลกเผชิญกับโรคระบาดอย่างโควิด-19 ทำให้ต้องทำงานที่บ้าน ชาวมนุษย์เงินเดือนทั้งหลายก็ต้องมาเจอกับ WFH ซินโดรมกันอีก และมีแนวโน้มว่าจะมีอาการหนัก เรื้อรัง และอาจจะรักษายากกว่าออฟฟิศซินโดรมเสียอีก มาดูสาเหตุและวิธีการป้องกันก่อนที่จะต้องเผชิญกับโรคและความเจ็บป่วยที่อาจจะยากรับมือในอนาคต สาเหตุของ Work From Home Syndrome เพราะบ้านไม่ใช่สถานที่สำหรับทำงาน บ้านคือสถานที่แห่งการพักผ่อน ใช้เวลากับครอบครัวหรือเพื่อนในวันหยุด แต่เมื่อต้องแปรสภาพมาเป็นที่ทำงานทำให้เส้นแบ่งชีวิตระหว่างสองเรื่องนี้ที่ควรจะแยกกันกลับต้องคาบเกี่ยวกันจนแยกไม่ออก โดยเฉพาะพื้นที่สำหรับทำงานหลายคนต้องใช้ห้องนอน เพราะเงียบสงบ มีความเป็นส่วนตัว แต่อุปกรณ์การทำงานไม่ได้เพียบพร้อมเหมือนที่ออฟฟิศ โต๊ะ เก้าอี้ ไม่ได้เหมาะสำหรับการนั่งทำงานนานๆ ปัญหาที่หลายคนพบเจอตามมาคืออาการปวดตามร่างกาย แม้จะพยายามบีบนวด ใช้แผ่นแปะบรรเทาอาการปวดก็ไม่อาจหายไปได้ เนื่องจากการอุปกรณ์ทำงานที่ไม่สอดคล้องกับสรีระของเรา มีความเป็นไปได้ว่า WFH ซินโดรมจะหนักและเรื้อรังกว่าออฟฟิศซินโดรม ความไม่พร้อมของอุปกรณ์ในการทำงานเป็นปัจจัยใหญ่มากๆ สำหรับการป่วยเป็น Work From Home Syndrome นะครับ คิดภาพง่ายๆ ว่าหลายคนเคยทำงานผ่านคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ พอทำงานที่บ้านต้องใช้คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก ระดับสายตาและระดับการนั่งก็ต่างกันแล้ว ปัญหาที่ตามมาคืออาการปวดคออย่างเลี่ยงไม่ได้ หรือที่ออฟฟิศใช้เก้าอี้สำนักงานที่เหมาะกับการนั่งทำงานเป็นเวลานาน แต่พอทำงานที่บ้านต้องใช้เก้าอี้สำหรับทานข้าวที่ไม่เหมาะกับการนั่งนานๆ ทำให้เกิดอาการปวดหลัง บ่า และสะโพก นี่จึงเป็นสาเหตุว่าหากยิ่งใช้เวลาทำงานอยู่บ้านนานๆ อาการเหล่านี้อาจจะเรื้อรัง และรักษาหายยาก จากความไม่เหมาะสมในการทำงานทุกด้าน สภาวะเครียดยิ่งซ้ำเติมให้ […]