เชื่อว่าในสถานการณ์การการแพร่ระบาดของโควิด-19 สร้างความกังวลให้กับทุก ๆ คน จึงต้องการติดตามข่าวสารตลอดเวลาคอยอัพเดทสถานการณ์ในแต่ละวัน เพื่อเตรียมรับมือ และเตรียมความพร้อม แต่การเกาะติดสถานการณ์เช่นนี้สามารถสร้างความเครียดและภาวะวิตกกังวลได้ โดยเฉพาะการแพร่ระบาดที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตผู้คนโดยตรง แล้วเราจะรับมือกับข้อมูลข่าวสารจำนวนมากได้อย่างไรว่าเรื่องไหนจริงหรือเท็จ หรือจะมีวิธีลดความเครียดของเราในช่วงนี้ได้อย่างไร มาดูกันครับ WHO ได้ให้ความหมายของภาวะการระบาดของข้อมูลข่าวสารที่เป็นเท็จในสถานการณ์โควิด-19 นี้ว่า “Infodemic” โดยเกิดจากการรวมคำสองคำเข้าด้วยกันคือ Information (ข้อมูล) และ Epidemic (การระบาด) เนื่องจากเห็นว่าวิกฤติการแบบนี้มักจะมีข้อมูลสารข่าวจำนวนมากทั้งจริงและเท็จปะปนกันเต็มไปหมดทั้งในโลกออฟไลน์และออนไลน์ โดยถือเป็นเรื่องสำคัญระดับโลกที่ทุกประเทศต้องเร่งแก้ไขครับ โดย WHO ได้เสนอแนวทางในการรับมือกับการระบาดของข้อมูลข่าวเท็จไว้ ดังนี้ – การสื่อสารของหน่วยงานด้านสาธารณสุขต้องถูกต้อง ชัดเจน และเป็นไปในทางเดียวกัน – ข้อมูลที่เกี่ยข้องกับวิยาศาสตร์ต้องเร่งตรวจสอบและสื่อสาร เพื่อให้ข้อมูลอัพเดทสดใหม่เสมอ – ภาครัฐต้องสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนสำหรับการรับข้อมูลข่าวสารจากภาครัฐ ฉะนั้นในการสื่อสารของทางการต้องไตร่ตรอง ไม่คลุมเครือ และชัดเจน เพื่อให้ประชาชนเข้าใจง่าย นอกจากนี้ทางองค์การอนามัยโลกยังบอกอีกว่า Infodemic อาจจะสร้างความเสียหายต่อชีวิตของประชาชนได้พอ ๆ กับโรคระบาดเลยด้วยนะครับ จากความเชื่อผิด ๆ ที่ถูกส่งต่อ หรือจากลัทธิที่ถูกปลูกฝังค่านิยมผิด ๆ เช่น การปฏิเสธเข้ารับวัคซีน เป็นต้น สำรวจตัวเองว่ามีภาวะความเครียดหรือวิตกกังวลหรือไม่? […]