วัยเด็กเป็นวัยที่เปราะบางเพราะร่างกายยังพัฒนาไม่เต็มที่ การเผชิญกับโรคและอาการป่วยนับเป็นปัญหาหนักใจให้กับพ่อแม่อย่างมาก โดยเฉพาะ “โรคลมชัก” ซึ่งเป็นโรคทางระบบสมองและประสาทที่สามารถพบได้บ่อยโดยเฉพาะในเด็ก ซึ่งหากทิ้งไว้อาจจะส่งผลกับสุขภาพร่างกายและพัฒนาของเด็กได้ แล้วเราจะป้องกันโรคลมชักในวัยเด็กได้อย่างไร วันนี้ชวนดูความสำคัญของการส่งเสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกกันครับ โรคลมชักในเด็กอันตรายอย่างไรบ้าง? โรคลมชักเกิดจากความผิดปกติของกระแสไฟฟ้าในสมอง ซึ่งเด็กที่มีร่างกายปกติและแข็งแรงมักจะไม่ค่อยมีปัญหาในเรื่องนี้ แต่เด็กที่มีปัญหาทางสุขภาพ หรือมีความผิดปกติทางพัฒนาการก็อาจจะมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคลมชักได้มากกว่า สาเหตุของโรคลมชักในวัยเด็ก 1. ความผิดปกติของสมองตั้งแต่อยู่ในครรภ์ ซึ่งปัจจุบันพ่อแม่สามารถตรวจหาความผิดปกติได้ตั้งแต่ตั้งครรภ์แรก ๆ 2. ความผิดปกติของพันธุกรรมที่ทำให้โครงสร้างของสมองผิดปกติ 3. ขณะคลอดมีภาวะแทรกซ้อน เช่น การติดเชื้อ การขาดออกซิเจน 4. ระบบภูมิต้านทานหรือภูมิคุ้มกันของร่างกายเด็กผิดปกติ 5. อาจจะมีเนื้องอกในสมอง ซึ่งผลให้เซลล์ในสมองทำงานผิดปกติ 6. การติดเชื้อในสมอง อาการของโรคลมชักที่พ่อแม่ต้องระมัดระวัง อาการโรคลมชักมีหลายรูปแบบที่พ่อแม่ต้องพึงสังเกตและเรียนรู้วิธีปฐมพยายามเบื้องต้น เพราะอาการชักมีหลายสภาวะ เช่น การชักแบบเหม่อลอย เรียกไม่หัน นั่งนิ่งไม่ขยับหลายนาที หัวเราะขึ้นมาไม่รู้ตัว หูแว่ว เกิดภาพหลอน หรืออาการชักทั้งตัว เด็กมีอาการชักกระตุก เกร็งกล้ามเนื้อ และจำไม่ได้ว่าตัวเองเคยเกิดสภาวะนั้น การป้องกันการชักในอย่างถูกวิธี ความอันตรายจากโรคลมชักคือเราไม่มีทางรู้ว่าจะเกิดอาการขึ้นตอนไหน เพราะอย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่าอาการของโรคลมชักบางทีก็สังเกตยาก แต่หากลูกชักจนล้มลง สิ่งที่อันตรายคืออาการกระทบกระเทือนทางสมอง […]