หัวใจเป็นหนึ่งในอวัยวะที่ทำงานหนักมาตลอดชีวิต เพราะหัวใจเปรียบเสมือนปั๊มที่ทำหน้าที่สูบฉีดเลือดไปที่อวัยวะต่าง ๆ ทั่วร่างกาย โดยปกติหัวใจเต้นอยู่ที่ประมาณ 100,000 ครั้ง นั่นเมื่อเราอายุมากขึ้นอาจจะทำให้การทำงานของหัวใจเริ่มถดถอย และเสื่อมสมรรถนะลงได้ตามอายุ แล้วสัญญาณอะไรที่บ่งบอกว่าหัวใจของเราเริ่มทำงานอ่อนล้า และทำงานหนัก ทั้งยังเสี่ยงเป็นโรคหัวใจได้ด้วย รู้จักภาวะอ่อนล้าเรื้อรัง สัญญาณเตือนโรคหัวใจ โรคกลุ่มอ่อนล้าเรื้อรัง (Chronic fatigue syndrome: CFS) เกิดจากปัจจัยต่าง ๆ ที่ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันผิดปกติ ฮอร์โมนในร่างกายทำหน้าที่ไม่สมดุล หรืออาจจะเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพจิตบางประการ ทำให้มีอาการอ่อนล้า อ่อนเพลีย หมดเรี่ยวแรง นอนไม่หลับ มีปัญหาด้านความจำและสมาธิ ปวดเมื่อยตามข้อ ปวดหัว จนกระทบกับชีวิตประจำวันได้ อาการเตือนเหล่านี้เป็นสัญญาณเตือนว่าร่างกายต้องการการพักผ่อนอย่างมีประสิทธิภาพ และอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายกำลังทำงานหนัก โดยเฉพาะหัวใจ ปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะอ่อนล้าเรื้อรัง – การทำงานหนักติดต่อกัน อาจจะใช้เวลาหลายปี หลายเดือน หรือทำงานจนไม่ได้พักติดต่อกันหลายวัน อาจจะเป็นปัจจัยกระตุ้นให้เกิดภาวะอ่อนล้าเรื้อรังได้ – การพักผ่อนไม่เพียงพอ และไม่มีประสิทธิภาพพอ หลายคนคิดว่าการพักผ่อนคือการนอนให้หลับ หรือนอนให้ครบชั่วโมงตามมาตรฐานก็น่าจะเพียงพอแล้ว แต่หลายคนไม่รู้ว่าการนอนไม่ได้มีประสิทธิภาพมากพอ เช่น สะดุ้งตื่นกลางดึก นอนหลับยาก […]