โรคหัวใจถือเป็นโรคที่มีอัตราผู้ป่วยมากที่สุดในโลก และมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยโรคหัวใจที่พบบ่อยและมีอัตราผู้เสียชีวิตมากที่สุดคือโรคหัวใจหลอดเลือดอุดตันหรือตีบตัน ซึ่งมักพบในผู้สูงอายุ แต่ปัจจุบันโรคหัวใจชนิดอื่น ๆ สามารถพบได้ในคนที่อายุน้อยลงเรื่อย ๆ โดยเฉพาะในวัยทำงาน ซึ่งมีปัจจัยเสี่ยงจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต มาดูกันว่ามีปัจจัยอะไรที่ทำให้คนอายุน้อยเสี่ยงเป็นโรคหัวใจมากขึ้น สาเหตุของโรคหัวใจในคนอายุน้อย โรคหัวใจมีปัจจัยเสี่ยงหลายอย่าง แม้ส่วนใหญ่โรคหัวใจในคนอายุน้อยมักจะเกิดจากความผิดปกติมาตั้งแต่กำเนิด แต่พฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจมากที่สุดคือการสูบบุหรี่ ซึ่งหากคนที่สูบบุหรี่ตั้งแต่อายุน้อยยิ่งเสี่ยง บางคนอายุ 30 – 35 ปีก็ป่วยเป็นโรคหัวใจก็มีครับ อีกปัจจัยหนึ่งคือการออกกำลังกายหนักหรือการใช้แรงมากจนเกินไป เช่น นักกีฬา หรือคนที่ทำงานที่ต้องใช้แรง แบก หาม ต่าง ๆ อาจจะทำให้ผนังหัวใจหนาจนทำให้หัวใจทำงานผิดปกติได้ จึงควรตรวจสุขภาพและสมรรถนะหัวใจทุก ๆ ปี อาการโรคหัวใจที่ควรรู้และสังเกตตัวเอง อาการเบื้องต้นของโรคหัวใจ ที่เราต้องหมั่นสังเกตตัวเอง เพราะโรคหัวใจบางชนิดที่แทบไม่แสดงอาการ จนอาการลุกลามไปมากแล้ว – อาการเหนื่อยง่ายกว่าปกติ หรือรู้สึกเหนื่อยกว่าปกติทั้งที่ทำกิจกรรมเดิม แต่กลับรู้สึกไม่ได้มีแรงทำเท่าเดิม เช่น การเดินขึ้นบันได การเดินในระยะทางที่ไม่ไกลมาก นอกจากเหนื่อยหอบยังมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น เวียนหัว หน้ามืด – แน่นหน้าอก ปวดหน่วงที่หน้าอก เหมือนมีอะไรมากดทับ […]