หากคุณเป็นหนึ่งคนที่ต้องใช้ชีวิตในเมืองหลวงที่เต็มไปด้วยฝุ่นควัน และมลพิษมากมาย เริ่มต้นตั้งแต่นั่งวินมอเตอร์ไซค์ นั่งรถเมล์ลม เดินริมฟุทบาท สูดควันข้างจากร้านขายของข้างทาง รับลมที่เต็มไปด้วยฝุ่นจากการก่อสร้างขนาดใหญ่ นี่ก็นับว่าเป็นปัจจัยที่ทำให้เพื่อน ๆ สูดฝุ่นควันเข้าปอดได้แล้วในแต่ละวัน ซึ่งทวีความรุนแรงด้วยฝุ่น PM2.5 สมทบไปอีก โรคที่หลายคนไม่กล้าพูดถึงอย่าง “โรควัณโรค” อาจจะเป็นความเสี่ยงที่มาเร็วกว่าโรคมะเร็ง แม้จะไม่สูบบุหรี่เลยก็ได้นะครับ โรควัณโรคปอดเกิดจากอะไรได้บ้าง? วัณโรค (Tuberculosis หรือ TB) เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่ง ซึ่งจริง ๆ วัณโรคเกิดได้ทุกอวัยวะของร่างกาย แต่ส่วนใหญ่ 80% พบบ่อยที่ปอด เป็นโรคติดเชื้อร้ายแรงประเภทหนึ่งที่ส่งผลโดยตรงต่อปอด เพราะเชื้อติดต่อผ่านทางลมหายใจ จึงทำให้เชื้อเข้าไปฝังตัวที่ปอดเป็นอวัยวะแรกนั่นเอง โดยวัณโรคปอดจะแพร่เชื้อได้และติดต่อได้ง่ายผ่านทางอากาศด้วยการหายใจ ซึ่งติดกันได้ผ่านละอองฝอยจากการไอและจาม โรควัณโรคสามารถแบ่งออกไป 2 ประเภท 1. วัณโรคแฝง ซึ่งจะไม่แสดงอาการและวัณโรคชนิดนี้จะไม่แพร่กระจายไปยังบุคคลอื่น ยกเว้นได้รับการเชื้อแบคทีเรีย หรือผู้ที่มีปัญหาสุขภาพ ภูมิคุ้มกันบกพร่อง ร่างกายอ่อนแอ อาจจะกลายมาเป็นระยะแสดงอาการหรือกำเริบได้ 2. วัณโรคระยะแสดงอาการหรือระยะกำเริบ ผู้ป่วยที่สามารถแพร่เชื้อได้ วัณโรคติดไม่ง่าย รักษาได้ เมื่อได้รับเชื้อวัณโรค หากร่างกายมีระบบภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงจะสามารถกำจัดเชื้อได้หมด และไม่เกิดการติดเชื้อ แต่ถ้าร่างกายไม่สามารถกำจัดได้หมด อาจจะยังมีเชื้อวัณโรคระยะแฝงอยู่ได้ […]