ด้วยชีวิตที่เร่งรีบของวัยทำงาน ทำให้เราไม่มีเวลาเลือกสรรอาหารที่ดีต่อสุขภาพเท่าไหร่เลยใช่มั้ยครับ เผลอ ๆ ตรวจสุขภาพประจำปีอาจจะเจอคอเลสเตอรอลสูง หรือไขมันส่วนเกินปริมาณมากได้ แต่รู้ไหมครับว่าจริง ๆ แล้ว อาหารที่ช่วยลดคอเลสเตอรอล คนที่ไขมันในเลือดสูง หรือกระทั่งผู้ป่วยเบาหวานทานได้ หาได้ง่ายกว่าที่คิดนะครับ วันนี้มาแนะนำอาหารช่วยลดคอเลสเตอรอล ควบคุมไขมัน ผู้ป่วยเบาหวานทานได้ แถมช่วยลดน้ำตาลในเลือดด้วย! อาหารประเภทต้ม อาหารที่ใช้กรรมวิธีในการต้ม แกง ที่ไม่ใส่กะทิ น้ำมัน ไขมันต่าง ๆ นับว่าเป็นอาหารที่ไขมันต่ำ เหมาะกับคนที่อยากลดไขมันได้ดีเลยนะครับ แต่แนะนำให้หลีกเลี่ยงการทานอาหารประเภทต้มกะทิ แกงกะทิ เนื่องจากกะทิมีไขมันสูงมาก หรืออาหารที่ผสมนมสดสำหรับทำอาหาร ให้เปลี่ยนเป็นนมพร่องมันเนย หรือนมจากธัญพืชแทนจะดีกว่า ที่สำคัญอาหารประเภทต้มจะเลือกเมนูที่มีผักได้ด้วย เช่น ต้มจับฉ่าย ต้มจืดผักกาดขาว เกาเหลา หรือต้มจืดฟัก เป็นต้น หรือใครอยากทานอะไรที่มีรสชาติขึ้นมาหน่อย แนะนำให้เป็นต้มยำประเภทน้ำใสแทน เช่น ต้มยำไก่ใส่เห็ด ต้มย้ำปลานิล ต้มยำปลาทู เป็นต้น อาหารประเภทนึ่ง / ตุ๋น อาหารที่ผ่านกรรมวิธีนึ่งหรือตุ๋น ยิ่งหลีกเลี่ยงน้ำมันหรือไขมันได้ดีเลยครับ ที่สำคัญอาหารประเภทนี้ไม่จำเป็นต้องปรุงเยอะก็อร่อยด้วย เช่น นึ่งปลา นึ่งไก่ […]
กัญชาถูกกฎหมาย แต่ยังเป็นอันตรายกับคนเป็นโรคหัวใจ!
เมื่อไม่นานมานี้มีการแก้ไขกฎหมายใหม่นั่นก็คือ “ปลดล็อกกัญชาและกัญชง” ออกจากยาเสพติดประเภท 5 ซึ่งหมายความว่าสามารถจำหน่ายได้ไม่ผิดกฎหมาย รวมถึงนำไปใช้ในการทำยา เป็นส่วนประกอบของอาหาร หรือกระทั่งใช้ในเครื่องสำอางต่าง ๆ ได้ด้วย แม้กัญชาและกัญชงจะมีประโยชน์ทางการแพทย์ แต่ก็ยังมีผลข้างเคียงต่อสุขภาพ โดยเฉพาะคนเป็นคนหัวใจต้องหลีกเลี่ยงการใช้กัญชาโดยเด็ดขาด โดยเดิมทีกัญชาออกฤทธิ์กับประสาทส่วนกลาง ทำให้ตื่นตัว กระฉับกระเฉง ช่วยให้กระตุ้นให้ร่างกายหลังสารโดพามีน หรือฮอร์โมนที่ทำให้ร่างกายผ่อนคลาย คลายเครียด ออกฤทธิ์คล้าย ๆ กับนิโคตินในบุหรี่ คือ ทำให้เกิดการเสพติดอีกด้วย การออกฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาทเช่นนี้จะส่งผลต่อการทำงานของหัวใจโดยตรง ทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น เพื่อสูบฉีดเลือดให้เร็วขึ้น หัวใจจะต้องทำงานหนักกว่าเดิม สำหรับคนที่เป็นโรคหัวใจ อาจจะเสี่ยงเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลันได้ หากใช้ในปริมาณที่ไม่เหมาะสม โดยรายงานล่าสุดจากสมาคมหัวใจแห่งชาติอเมริกา ออกประกาศแนะนำประชาชนไม่สูบสสารต่าง ๆ แบบไอน้ำ รวมไปถึงผลิตภัณฑ์จากกัญชา เพราะมีความเสี่ยงที่จะทำลายสุขภาพหัวใจ ปอด และหลอดเลือด และการการใช้กัญชาในการรักษาทางการแพทย์นั้นอาจส่งผลให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ หรือ โรคต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับหัวใจ เช่น ภาวะหัวใจวายและสโตรกได้เช่นกัน ทั้งนี้ทางทีมวิจัยแนะนำว่า หากมีความประสงค์ที่จะใช้กัญชาควรปรึกษาในเรื่องความเสี่ยงต่อร่างกายกับผู้เชี่ยวชาญทางด้านสุขภาพก่อนทุกครั้งจะดีกว่า ภาวะแทรกซ้อนที่กระทบต่อหัวใจ มีรายงานว่าการใช้กัญชาส่งผลให้หัวใจเต้นผิดปกติ อาจจะเกิดขึ้นหลังจาก 1 ชั่วโมงหลังได้รับการสูบสารเตตร้าไฮโดรแคนนาบินอล (THC) ซึ่งเป็นสารประกอบที่อยู่ในกัญชาและทำให้ช่วยผ่อนคลาย […]
หัวใจขาดโคคิวเท็น อาจเสี่ยงล้มเหลวเฉียบพลัน ป้องกันอย่างไร?
พูดถึงโรคหัวใจหลายคนอาจจะคิดว่าไกลตัว รอให้อายุเยอะแล้วค่อยดูแลก็ยังไม่สาย แต่รู้ไหมครับว่า โรคหัวใจนับเป็นโรคที่เป็นสาเหตุการเสียชีวิตของผู้คนทั่วโลกอันดับ 1 ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา และมีอัตราการเสียชีวิตที่เพิ่มขึ้นทุกปีอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดสถิติจากกระทรวงสาธารณะสุข พบว่ามีคนไทยป่วยด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือดปีละกว่า 4 แสนคนและมีอัตราการเสียชีวิตมากกว่า 2 หมื่นคนต่อปี หรือเฉลี่ยแล้วชั่วโมงละ 2 คนเลยทีเดียวครับ ยิ่งมีการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้อัตราที่คนจะป่วยเป็นโรคหัวใจและโรคที่เกี่ยวกับหัวใจได้มากขึ้นด้วยปัจจัยหลายอย่าง โดยเฉพาะภาวะหลังได้รับเชื้อโควิด-19 หรือ Long-COVID ที่ส่งผลต่อการกระตุ้นภูมิคุ้มกันและเกิดการอักเสบในร่างกาย รวมไปถึงผลข้างเคียงจากการใช้ยา อาการทางภาวะจิตใจ อย่างเช่น ความเครียด วิตกกังวล (Panic) สมาธิสั้น ความกดดัน นอกจากนี้ยังมีปัจจัยภายนอกที่เข้ามามีส่วน การเลือกรับประทานอาหารที่ไม่สะอาด ปนเปื้อน หรืออาหารที่ไขมันสูง น้ำตาลสูง การสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์มากขึ้น จากภาวะความเครียดที่ต้องเผชิญทุกวัน ก็ส่งผลให้ผู้คนมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจกันได้มากขึ้น ภาวะหัวใจขาดโคคิวเท็น (CoQ10) คืออะไร? จากปัจจัยที่กล่าวไปข้างต้นแล้ว ยังมีสาเหตุหนึ่งที่ทำให้หัวใจของเราทำงานได้ไม่ปกตินั่นคือ “ภาวะหัวใจขาดโคคิวเท็น” เพราะโคคิวเท็นหรือโคเอนไซม์คิวเท็นเป็นสารสำคัญที่เป็นแหล่งพลังงานของหัวใจ โดยปกติร่างกายของเราจะผลิตสารนี้จากอาหารที่เรารับประทานเข้าไป เพื่อหล่อเลี้ยงเซลล์หัวใจให้สามารถทำงานได้อย่างปกติ แต่เมื่อเราอายุมากขึ้นร่างกายจะผลิตโคคิวเท็นได้น้อยลง ทำให้หัวใจไม่ได้รับพลังงานเท่าเดิม ก็เสี่ยงที่จะทำงานผิดปกติ มีรายงานว่าคนที่เป็นโรคหัวใจ มักจะมีภาวะขาดโคคิวเท็นอย่างรุนแรงด้วย ฉะนั้นอย่าให้หัวใจขาดโคคิวเท็นจะดีที่สุดครับ เติมโคคิวเท็น […]