เคยเป็นไหม? อยู่ ๆ ก็รู้สึกเวียนหัว บ้านหมุน ยืนทรงตัวไม่อยู่ หลายคนอาจจะคิดว่าลุกเร็ว นั่งพักเดียวก็หาย แต่อาการแบบนี้กลับเป็นบ่อยขึ้น ถี่ขึ้น และรู้สึกกระทบกับการใช้ชีวิต ซึ่งอาการแบบนี้อาจจะเกิดจาก “โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน” ซึ่งโรคนี้เกิดขึ้นได้กับคนทั่วไปโดยเฉพาะวัยทำงาน สาเหตุมีหลากหลายปัจจัย พามารู้จักโรคนี้ วิธีรักษา รวมไปถึงการรักษาสมดุลให้ร่างกายเพื่อป้องกันโรคนี้กันครับ โรคน้ำในหูไม่เท่ากันคืออะไร? โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน หรือ โรคมีเนีย (Meniere’s disease) เป็นสาเหตุของโรคที่พบอันดับสองของสาเหตุอาการเวียนศีรษะ ส่วนใหญ่มักเป็นกับหูเพียงข้างเดียว หรือสามารถเป็นได้ทั้งสองข้าง แต่พบได้ไม่บ่อยนัก เกิดจากความผิดปกติของน้ำในชั้นหูชั้นใน ซึ่งโดยปกติจะมีน้ำในปริมาณที่พอดีกับการทำงานของเซลล์ประสาท ที่มีหน้าที่ควบคุมการทรงตัวและการได้ยิน แต่เมื่อเกิดความผิดปกติขึ้น เช่น การดูดซึมน้ำในหูไม่ดี ทำให้น้ำในชั้นหูชั้นในมีปริมาณมากกว่าปกติ ส่งผลต่อเซลล์ประสาทที่ควบคุมการทรงตัวและการได้ยิน ทำให้เกิดการเวียนหัว หูอื้อ และอาจจะไม่ได้ยินชั่วขณะ เป็นต้น สาเหตุของการเกิดโรคน้ำในหูไม่เท่ากันมาจากอะไร? โรคนี้สามารถเป็นได้ทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะในวัยทำงานช่วงอายุ 30 ปีขึ้นไป ซึ่งยังไม่สามารถระบุสาเหตุได้ชัดเจน แต่มีปัจจัยที่อาจจะมีส่วน เช่น กรรมพันธุ์ของโครงสร้างหูชั้นในผิดปกติ โดยพบแต่กำเนิด โรคภูมิแพ้ที่ส่งผลต่อการไอ จาม คัดจมูก ที่จะทำให้หูอื้อได้ หรือกระทั่งการติดเชื้อไวรัส […]