พูดถึงสารเคมีหลายคนอาจจะคิดว่าเป็นสิ่งที่อันตราย แต่ในชีวิตประจำวันของเราเลี่ยงที่จะสัมผัสกับสารเคมีเหล่านี้ยากครับ ทั้งสารเคมีจากธรรมชาติและสารเคมีสังเคราะห์ เพราะข้าวของเครื่องใช้ที่รายล้อมเราในปัจจุบัน ก็นับว่าเป็นสารเคมีทั้งนั้น แต่จะมีสารเคมีอะไรบ้างที่เราควรเลี่ยงและไม่สัมผัสในปริมาณที่มาก เพราะอาจจะเสี่ยงต่อโรคร้ายในอนาคตได้ คาร์บอนมอนออกไซด์ (CO) พบสารนี้ได้เมื่อเกิดการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ จากควันรถยนต์ โรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นก๊าซที่ไม่มีสีไม่มีกลิ่น โดยร่างกายของเราจะได้รับก๊าซนี้จากการสูดดม หากสูดดมไปนาน ๆ เข้าก็อาจจะทำให้เวียนหัว คลื่นไส้ หายใจติดขัด เจ็บบริเวณหน้าอก และอาจจะอาเจียนได้ โดยก๊าซนี้นับว่าเป็นก๊าซพิษที่สามารถสะสมในร่างกาย ทำให้ฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดงส่วนที่เหลือไม่ปล่อยออกซิเจนให้กับเนื้อเยื่อส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย อาจจะเกิดโรคที่เกี่ยวกับหลอดเลือดและหัวใจในอนาคต โซเดียมโมโนกลูตาเมต ที่เราหลายคนรู้จักกันดีในชื่อ “ผงชูรส” เป็นสารปรุงอาหารชนิดหนึ่งที่ช่วยเพิ่มรสชาติความกลมกล่อมให้อาหารได้ นิยมใส่ในอาหารแทบจะทุกชนิดโดยเฉพาะอาหารไทยรสจัด ซึ่งมีผลงานวิจัยและศึกษาออกมามากมายว่าผงชูรสไม่มีผลข้างเคียงอย่างผมร่วงหรือมีสารก่อมะเร็ง แต่ผลข้างเคียงที่สำคัญที่สุดของการบริโภคผงชูรสคือ ปริมาณโซเดียมที่สูง ซึ่งการรับประทานโซเดียมหรือเกลือในปริมาณมาก ๆ จะทำให้ร่างกายขาดน้ำ ส่งผลให้ความดันในเลือดสูงขึ้น ซึ่งอาจจะก่อให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง โรคไตวาย หรือภาวะบวมน้ำจากโซเดียมได้ ฉะนั้นควรบริโภคโซเดียมไม่เกิน 2,000 มิลลิกรัม/วัน จะดีที่สุดครับ สารให้ความหวานแทนน้ำตาล ปัจจุบันนิยมใช้แทนน้ำตาลปกติ เนื่องจากให้พลังงานต่ำ แต่ยังคงให้รสหวานแก่อาหารได้ แม้การบริโภคสารให้ความหวานแทนน้ำตาลจะไม่ได้สร้างความอันตรายทางตรงให้กับร่างกายเสียทีเดียว แต่การบริโภคสารให้ความหวานแทนน้ำตาล จะเป็นการกระตุ้นให้ร่างกายต้องบริโภคของหวานอยู่เสมอ ทั้งยังมีรายงานว่าสารให้ความหวานบางชนิด สามารถกระตุ้นให้เกิดการดูดซึมน้ำตาลได้มากขึ้นด้วย หากวันใดไม่ได้ทานจะรู้สึกหงุดหงิด […]