เมื่อเร็ว ๆ นี้ประเทศไทยได้ประกาศว่าโรคการติดเชื้อโคโรนาไวรัสจาก “โรคระบาดใหญ่” หรือลดระดับลงมาเป็น “โรคประจำถิ่น” ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงมาตรการอีกครั้งในการรับมือกับโรคโควิด-19 ของไทย แต่อย่างที่เราติดตามข่าวสารกันมาตลอด การติดเชื้อยังคงสูงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง แม้อาการผู้ติดเชื้อจะไม่หนักเทียบกับช่วงก่อนหน้า แต่เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงมาตรการในระดับนโยบาย มาดูกันครับว่าเราควรจะต้องรับมือกับการเปลี่ยนแปลงนี้อย่างไร ความแตกต่างของการระบาดใหญ่และโรคประจำถิ่น การระบาดใหญ่ (Pandemic) หมายถึง การระบาดที่แพร่กระจายไปทั่วโลก เช่น ไข้หวัดสเปน, ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009, โควิด-19 ซึ่งมีผู้ติดเชื้อเป็นจำนวนมาก สถานการณ์การแพร่ระบาดสูง แต่สำหรับโรคประจำถิ่น (Endemic) หมายถึง โรคที่มีอัตราป่วยคงที่ในพื้นที่ และมักคาดการณ์ได้ว่าส่วนใหญ่จะพบในพื้นที่ใด ฤดูไหน จำนวนมากน้อยเท่าไร เช่น ไข้เลือดออกในมากกว่า 100 ประเทศ รวมถึงประเทศไทยซึ่งพบผู้ป่วยตลอดทั้งปีและมากขึ้นในฤดูฝน ไข้มาลาเรียในทวีปแอฟริกา หากในพื้นที่นั้นมีการระบาดของโรคประจำถิ่นในระดับสูงจะเรียกว่า Hyperendemic โดยมีเป้าหมายของการบริหารจัดการเพื่อให้เข้าสู่โรคประจำถิ่น คือ การเข้าถึงการดูแลรักษาได้อย่างรวดเร็ว มีคุณภาพ อัตราป่วยตายไม่เกินร้อยละ 0.1 และครอบคลุมการได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้นต้องมากกว่าร้อยละ 60 เนื่องจากปัจจุบันประชาชนได้รับวัคซีนเข็มที่ 1 และเข็ม 2 ทะลุ 60% แต่เข็มกระตุ้นยังต่ำอยู่ […]