ใครเป็นบ้างครับ? ไม่อยากทานอะไรหวาน ๆ แค่สั่งชานมไข่มุกหวานน้อยก็รู้สึกสุขภาพดีขึ้นมานิดนึงแล้ว ความจริงการสั่งอาหารแล้วลดน้ำตาล (หวานน้อย) อาจจะไม่ได้ช่วยให้สุขภาพของเราดีขึ้นขนาดนั้น เพราะการลดน้ำตาลในบางมื้อมีส่วนช่วยได้แค่เล็กน้อยเท่านั้น หากเรายังรับประทานอาหารประเภทเดิม ๆ หรือปริมาณเยอะเท่าเดิมอยู่ ก็เสี่ยงเบาหวานได้ มาดูกันครับว่าทำไม? ความเชื่อผิด ๆ การรับประทานอาหารรสหวานจะทำให้เป็นเบาหวาน โรคเบาหวาน คือ โรคที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเรื้อรังเป็นเวลานาน เกิดจากพฤติกรรมในการรับประทานอาหารจำพวกแป้งและไขมันในปริมาณมาก เครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูง เนื้อสัตว์ที่ไขมันสูง เช่น เนื้อติดมัน เนื้อแดง หรือเนื้อสัตว์แปรรูปประเภทต่าง ๆ ทั้งไส้กรอก เบคอน แฮม ฯลฯ เนื่องจากอาหารเหล่านี้มีไขมันอิ่มตัวสูงสามารถไปยับยั้งอินซูอินให้ออกฤทธิ์ได้น้อยลงได้ อีกทั้งร่างกายไม่ได้นำพลังงานที่ได้ไปใช้ให้หมด เพราะไม่ออกกำลังกายเพื่อเผาผลาญพลังงานที่รับประทานเข้าไป ทำให้ตับอ่อนทำงานหนักและเสื่อมสภาพจนไม่สามารถผลิตอินซูลินได้ดีเท่าตอนที่ยังทำงานได้ปกติ หลายคนจึงเป็นโรคเบาหวานนั่นเอง ทำไมการทานอาหารที่มีแป้งและไขมันสูงเสี่ยงเบาหวานมากกว่าทานหวาน เนื่องจากอาหารประเภทแป้งและไขมันเป็นอาหารหลักที่เราต้องรับประทาน ให้พลังงานสูง หาง่าย ทานแล้วอิ่มเร็ว ราคาไม่แพง รวมถึงให้รสชาติอร่อย นั่นจึงทำให้ใครหลายคนชอบรับประทานอาหารประเภทนี้มากกว่าทานผักผลไม้ หรือเนื้อสัตว์ที่ไขมันน้อย และเมื่อรับประทานในปริมาณที่มาก เมแทบอลิซึมของร่างกายไม่สามารถนำไปใช้ได้หมดในแต่ละวัน แป้งก็จะเปลี่ยนไปเป็นน้ำตาล และเปลี่ยนไปเป็นไขมันชนิดไม่ดีในที่สุด เช่นเดียวกับอาหารไขมันสูง โดยเฉพาะของทอด ของมัน เนื้อสัตว์แปรรูป เต็มไปด้วยไขมันอิ่มตัว สามารถไปเกาะตามส่วนต่าง […]