เคยสงสัยไหมว่า? ทำไมบางทีเพื่อนป่วยเราอยู่ใกล้เพื่อนแต่เราไม่ได้ป่วยไปด้วย เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกัน (Immune system) ของแต่ละคนทำงานไม่เหมือนกัน โดยระบบภูมิคุ้มกันนี้จะทำหน้าที่ต้านทานเชื้อโรคและกำจัดสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาในร่างกายเรา โดยเซลล์ที่ทำหน้าที่อย่างแข็งขันคือ “เซลล์เม็ดเลือดขาว” ที่ไหลเวียนในกระแสเลือดของเรา โดยถูกหล่อเลี้ยงด้วยอาหารที่เรารับประทานเข้าไป และปรับเปลี่ยนไปตามพฤติกรรมในการใช้ชีวิตของเรา นั่นจึงเป็นเหตุผลว่าทำไมแต่ละคนถึงมีภูมิคุ้มกันในร่างกายไม่เท่ากันนั่นเอง ทำความรู้จักกับภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องคืออะไร? เป็นกลุ่มโรคที่เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายผิดปกติ เป็นผลให้เกิดโรคติดเชื้อได้ง่ายและบ่อย แบ่งเป็น 1. ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องชนิดปฐมภูมิ (Primary immunodeficiency, PIDs) มักเป็นแต่กำเนิด และอาจถ่ายทอดทางพันธุกรรม 2. ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องชนิดทุติยภูมิ (Secondary immunodeficiency) อันเป็นภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องที่เกิดขึ้นในภายหลัง ไม่ได้เป็นแต่กำเนิด อาจเกิดจากหลายสาเหตุ อาการของภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง ในช่วงแรกที่ติดเชื้อปริมาณไม่มาก และยังไม่ได้สร้างภูมิต้านทานขึ้นมาอาจยังตรวจหาเชื้อหรือภูมิต้านทานต่อเชื้อไม่พบ – มีอาการไข้ หนาวสั่น – เจ็บคอ ปวดเมื่อยตามตัว มีผื่นขึ้น – ต่อมน้ำเหลืองที่คอโต – อาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ถ่ายเหลว น้ำหนักลด หรือมีฝ้าขาวในช่องปาก – ผู้ติดเชื้อบางรายจึงอาจไม่ได้รับการวินิจฉัยและรักษาตั้งแต่ในระยะนี้ ระยะติดเชื้อโดยไม่มีอาการ ผู้ติดเชื้อมักจะแข็งแรงเป็นปกติเหมือนคนทั่วไป แต่เมื่อตรวจเลือดจะพบเชื้อ HIV […]