นอกจากโควิด-19 ก็เห็นจะเป็น PM2.5 นี่แหละที่น่าจะอยู่กับเราอีกนาน เพราะปัญหาสิ่งแวดล้อมต้องใช้เวลาแก้ยาวนาน และทำไม่ได้ง่าย ๆ เลย สำหรับประเทศไทยช่วงต้นปีจะเป็นช่วงที่อากาศชื้นลดลง ทำให้ฝุ่นละอองจากปัจจัยต่าง ๆ ไม่ว่าจะเชื้อเพลิง การเผาไหม้ทางการเกษตร และการเผาไหม้จากอุตสาหกรรม กลับมาสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งอนุภาคขนาดเล็กที่เราต้องหายใจร่วมกับมันส่งผลกระทบต่อสุขภาพ คนปกติรับมือยากแล้ว ผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดยิ่งต้องระวังเพิ่มขึ้น PM2.5 ส่งผลต่อสุขภาพทั้งระยะสั้นและระยะยาว อนุภาค PM2.5 มีขนาดเล็กมาก มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น (ยกเว้นจะปกคลุมชั้นบรรยากาศจนทำให้ทัศนวิสัยยากต่อการมองเห็น) โดยหากสัมผัสโดยตรงเป็นเวลานานก็อาจจะทำให้ระคายเคืองผิว ดวงตา เจ็บคอ คัดจมูก หรือเกิดความผิดปกติต่อทางเดินหายใจได้ ผู้ที่มีอาการหอบหืดหรือเป็นภูมิแพ้ก็จะยิ่งมีอาการเด่นชัด สำหรับระยะยาวการสูดดม PM2.5 เป็นระยะเวลานานอาจจะเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคทางเดินหายใจ และอาจจะก่อให้เกิดมะเร็งปอดได้ในอนาคตด้วย PM2.5 กับผู้ป่วยโรคมะเร็งปอด มีการศึกษาว่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 อาจจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงระดับยีน ตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงโมเลกุลขนาดเล็กที่กำหนดการแสดงของยีนในร่างกาย จนไปสู่การกลายพันธุ์ หรือแบ่งตัวผิดปกติในเซลล์ และอาจจะทำให้เกิดความเสี่ยงที่จะทำให้เซลล์กลายพันธฺุ์ไปเป็นมะเร็งปอดได้ และผู้ที่ป่วยเป็นมะเร็งปอดอยู่แล้ว PM2.5 ยิ่งจะเป็นตัวเร่งและสิ่งเร้าที่ทำให้อาการของโรคหนักขึ้น หรือเกิดผลข้างเคียงในการรักษาง่ายขึ้นด้วย ช่วงที่ PM2.5 กลับมานับเป็นช่วงเวลาที่ยากลำบากของผู้ป่วยมะเร็งปอดเลยทีเดียว ผู้ป่วยและผู้ดูแลต้องยกระดับการดูแลให้มากขึ้น การดูแลผู้ป่วยมะเร็งปอดช่วง PM2.5 – […]