เด็กเล็กซน อยู่ไม่นิ่ง เกิดจากอะไร และต้องดูแลอย่างไร?

เด็กเล็กซน

เชื่อว่าพ่อแม่ที่มีลูกอยู่ในวัยกำลังเรียนรู้ เดิน วิ่ง ทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ ต้องดูแลอย่างใกล้ชิดและอาจจะทำให้พ่อแม่รู้สึกเหนื่อย เพราะกลัวลูกจะได้รับอันตรายจากการเล่นซนตามประสาเด็ก แต่พ่อแม่ต้องสังเกต หากลูกซนจนเกินไปอาจจะเสี่ยงเป็นโรคสมาธิสั้นได้เหมือนกัน พ่อแม่ต้องสังเกตและดูแลอย่างไร?

 

เด็กเล็กซน VS สมาธิสั้น แตกต่างกันพ่อแม่ต้องสังเกต

เด็กเล็กซนมาก

วิ่งเล่นในแต่ละวันแบบไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย ถึงเวลากินก็ห่วงเล่น ถึงเวลานอนก็ยังห่วงเล่น มักจะชอบเล่นอะไรแผลง ๆ เล่นแรง ไม่กลัว ไม่เจ็บ กล้าได้กล้าเสีย นั่งนิ่งนาน ๆ ไม่ได้ แม้จะโดนดุก็ไม่กลัวและไม่มีท่าทีว่าจะเลิกเล่น กระทั่งไปโรงเรียนก็อาจจะไม่อยากเรียน อยากเล่น ยุกยิกอยู่ตลอดเวลา อาจจะเล่นกับเพื่อนที่โรงเรียนไม่ค่อยได้เพราะเล่นแรงกว่าคนอื่น

เด็กสมาธิสั้น

ให้สังเกตว่าถึงเวลาที่ต้องเรียนรู้ลูกมักจะเหม่อ เรียกชื่อแล้วไม่หัน ไม่ฟังตามคำสั่ง คำตามคำสั่งไม่ครบ เพราะไม่สามารถหยุดนิ่งเพื่อที่จะฟังให้จบได้ เรียนได้ไม่ดี จดจำสิ่งที่เรียนไม่ได้ ทำงานผิดพลาดบ่อย ทำการบ้านไม่ได้ ทำไม่เสร็จ และทำของหายบ่อย ๆ เพราะจำไม่ได้ว่าเอาไปไว้ที่ไหน

 

โรคสมาธิสั้นเกิดได้จากอะไร?

โรคซนสมาธิสั้นในวัยเด็ก (ADHD) เกิดจากความผิดปกติของสมองเด็กบางส่วน ทำให้ไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ ซน อยู่ไม่นิ่ง ส่งผลทั้งด้านพฤติกรรม อารมณ์ พัฒนาการ และการเรียนรู้ ซึ่งหากไม่ทำการรักษาอาจจะส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันของเด็ก รวมไปถึงการเข้าสังคมและใช้ชีวิตกับผู้อื่น ซึ่งยังไม่มีปัจจัยที่ทำให้เกิดอาการนี้อย่างแน่ชัด แต่อาจจะเป็นเพราะสารเคมีในระบบสื่อประสาทของสมองทำงานได้ไม่สมดุลและไม่มีประสิทธิภาพอย่างเพียงพอ

 

โรคสมาธิสั้นรักษาได้ แต่พ่อแม่ก็มีบทบาทสำคัญอย่างมาก

การรักษาโรคสมาธิสั้นของลูกสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การตรวจคลื่นไฟฟ้าสมองในเด็ก การตรวจหาความผิดทางพัฒนาการ ด้วยการใช้ยาและการปรับพฤติกรรม ซึ่งพ่อแม่ยังคงมีบทบาทสำคัญในการรักษา เพราะต้องปรับพฤติกรรมการเลี้ยงดูลูก ซึ่งสิ่งที่ต้องพึงระวัง ได้แก่

– จำกัดเวลาการใช้อุปกรณ์สื่อสาร เช่น ไอแพด โทรศัพท์ เลี่ยงการให้ลูกอายุต่ำกว่า 2 ขวบดูโทรทัศน์หรือเล่นเครื่องเล่นเกม

– สร้างวินัยให้ลูก ให้กิน นอน เล่น เป็นเวลา

– พาลูกออกไปทำกิจกรรมนอกบ้าน ให้ได้เจอเพื่อน ๆ ในวัยเดียวกัน เรียนรู้ที่จะปรับตัวเข้ากับสังคม

 

นอกจากนี้พ่อแม่ควรดูแลเรื่องอาหารการกินอย่างระมัดระวัง ควรให้ลูกรับประทานอาหารตามโภชนาการ โดยเฉพาะอาหารประเภทโปรตีนที่จะเข้าไปช่วยดูแลการสึกหรอและเข้าไปช่วยสร้างการเจริญเติบโตของร่างกาย รวมไปถึง อาหารที่เสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง นอกจากนี้ควรเพิ่มการดูแลในส่วนของสารอาหารที่ช่วยบำรุงระบบประสาทและสมอง ควรให้ลูกได้รับประทานสารสกัดจากน้ำมันปลา หรือ โอเมก้า 3 เพราะมี DPA & DHA ที่ช่วยกระตุ้นระบบประสาทต่าง ๆ ให้ทำงานได้ดีขึ้น นอกจากนี้ควรให้ลูกได้นอนอย่างเต็มที่ สารสกัดจากข้าวบาร์เลย์ช่วยให้ลูกผ่อนคลาย นอนหลับได้ดี และทำให้มีสมาธิในการเรียนได้ดียิ่งขึ้นครับ

Leave a comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *

TOP