ลดหวาน ลดเค็ม แต่ก็ยังเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานเพราะอะไร?

เสี่ยงเป็นโรค

โรคเบาหวานเป็นหนึ่งในโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Non-Communicable Diseases) ที่มีจำนวนผู้ป่วยจำนวนมาก และมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะในประเทศไทยที่มีสถิติผู้ป่วยโรคเบาหวานมากกว่า 3.3 ล้านคน ซึ่งแม้โรคเบาหวานจะเกิดได้จากพันธุกรรมได้ แต่ปัจจุบันส่วนใหญ่โรคนี้เกิดจากพฤติกรรมมากกว่า หลายคนเลี่ยงลดหวาน ลดเค็มแล้ว ก็ยังมีความเสี่ยงจะเป็นโรคเบาหวานอยู่ มาดูกันครับว่ามีปัจจัยอะไรที่เสี่ยงอีก

 

โรคเบาหวานที่หลายคนเข้าใจผิด

1. ปัจจัยที่เสี่ยงเป็นโรคเบาหวานที่ไม่เกี่ยวกับการรับประทานอาหารหวานอย่างเดียว

อาจจะเป็นเพราะชื่อโรคที่อาจจะทำให้คนเข้าใจผิด เพราะสาเหตุการเกิดโรคเบาหวานคือร่างกายไม่สามารถสร้างฮอร์โมนอินซูลินได้เพียงพอ จึงไม่สามารถรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้สมดุล ถ้าร่างกายสามารถผลิตฮอร์โมนตัวนี้ได้ปกติ ไม่ว่าจะรับประทานอาหารหวานแค่ไหนก็ไม่เป็นโรคเบาหวาน แต่จะทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น ไขมันและเซลล์ต่าง ๆ จะดื้อต่ออินซูลิน และก็เป็นโรคเบาหวานได้ในที่สุด

 

2. เป็นโรคเบาหวานไม่ทานอาหารรสหวานอย่างเดียวไม่ได้

เนื่องจากโรคเบาหวานเป็นโรคที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง ทำให้หลายคนเข้าใจว่าการงดอาหารทุกประเภทที่มีรสหวานจะทำให้อาการของโรคดีขึ้น หรือสามารถหายจากโรคได้ โดยเป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องนัก เพราะนอกจากแป้งและน้ำตาลจะเป็นสาเหตุหลักที่ก่อให้เกิดโรคเบาหวานแล้ว เนื้อสัตว์ประเภทเนื้อแดงที่มีไขมันมาก และอาหารแปรรูป เช่น ไส้กรอก เบคอน แฮม ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคเบาหวานได้ หรืออาหารที่มีรสชาติเค็ม มัน ไขมันสูง และรสจัด ก็ส่งผลต่อตัวโรคเบาหวานได้เช่นกัน

 

3. เป็นโรคเบาหวานยิ่งต้องงดทานอาหารไขมันสูง

เนื่องจากอาหารที่มีไขมันสูง โดยเฉพาะเนื้อสัตว์ หรืออาหารแปรรูปมีไขมันอิ่มตัวจำนวนมาก จะไปยับยั้งอินซูลินให้ออกฤทธิ์ได้น้อยลง ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดไม่ลด ตับอ่อนจึงต้องผลิตอินซูลินออกมาเพิ่มมากกว่าปกติ ส่งผลให้ตับอ่อนทำงานหนักเกินไปและเสื่อมสภาพลงเรื่อยๆ จนไม่สามารถผลิตอินซูลินได้ดีเท่าตอนที่ยังทำงานปกติ จึงทำให้เกิดโรคเบาหวาน

 

4. เบาหวานเป็นโรคทางพันธุกรรมถ่ายทอดไปสู่ลูกหลานได้

แต่ไม่ใช่ทุกคน ส่วนหนึ่งต้องอยู่ที่พฤติกรรมของคนนั้น ๆ ด้วย แม้จะมีงานวิจัยรองรับว่าถ้ามีบรรพบุรุษของเราเป็นโรคเบาหวาน เราก็จะมีโอกาสเป็นโรคเบาหวาน แต่ในความเป็นจริงโรคนี้เกิดด้วยพฤติกรรมเป็นปัจจัยที่สำคัญกว่า ในขณะเดียวกันบางคนไม่มีคนในครอบครัวเป็นโรคเบาหวานเลยก็อาจจะเป็นโรคเบาหวานได้ เพราะพฤติกรรมในการใช้ชีวิตเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดโรคนี้ได้เหมือนกัน

 

5. ส่วนใหญ่ผู้สูงอายุและคนที่อ้วนจะเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

ในความเป็นจริงเมื่ออายุมากขึ้นอวัยวะต่าง ๆ เริ่มทำงานเสื่อมลง รวมไปถึงการผลิตอินซูลินของร่างกายด้วย และปัจจุบันพบผู้ป่วยโรคเบาหวานในคนอายุน้อยลงเรื่อย ๆ โดยโรคเบาหวานมี 2 ประเภทที่พบบ่อย ได้แก่ เบาหวานประเภทที่ 1 ส่วนใหญ่มักเกิดในเด็กหรือคนอายุน้อย เบาหวานประเภทที่ 2 ส่วนใหญ่มักเกิดในคนอายุ 45 ปีขึ้นไป แต่ปัจจุบันเริ่มพบว่าคนอายุน้อยก็เป็นโรคเบาหวานประเภทที่ 2 ด้วย

 

จะเห็นได้เลยว่าโรคเบาหวานจะมีหลายส่วนที่คนเข้าใจผิด แม้จะลดการรับประทานอาหารรสหวานหรือรสเค็ม ก็ยังมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเบาหวาน จากการทานอาหารที่มีไขมันสูง และไม่ตามโภชนาการซึ่งอาจจะทำให้ได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วน และเสี่ยงที่จะเป็นโรคอ้วนและเป็นประตูสู่โรคเบาหวานได้เช่นกัน

 

นอกจากการรับประทานอาหารอย่างเพียงพอแล้ว การปรับพฤติกรรมอย่างอื่น เช่น การออกกำลังกายและการพักผ่อน รวมไปถึงการได้รับสารสกัดจากที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายและช่วยป้องกันโรคเบาหวาน อย่างสารสกัดจากเบต้ากลูแคนที่นอกจากจะช่วยกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันในร่างกายแล้ว ยังเป็นเส้นใยอาหารที่สามารถชะลอไม่ให้น้ำตาลเข้าสู่กระแสเลือดเร็วเกินไป ทำให้น้ำตาลค่อย ๆ ไหลเข้าสู่กระแสเลือดแบบที่ควรจะเป็น อีกทั้งเบต้ากลูแคนยังเป็นสารอาหารที่ช่วยฟื้นฟูสภาพของตับอ่อน ซึ่งทำหน้าที่ผลิตอินซูลินตามธรรมชาติ ให้กลับมาทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้ยังมีสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง อย่างโรคเบาหวานหรือโรคมะเร็งได้ด้วย

Leave a comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *

TOP