โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) เป็นหนึ่งในโรคที่ส่งผลร้ายแรงต่อสุขภาพและชีวิตประจำวันของผู้ป่วย โดยอาการที่เกิดจากโรคหลอดเลือดสมองสามารถนำไปสู่ภาวะอัมพฤกษ์ อัมพาต หรือสูญเสียการทำงานของสมองในบางส่วนได้ โรคนี้ไม่เพียงแต่เกิดในผู้สูงอายุเท่านั้น แต่ผู้ที่อยู่ในวัยหนุ่มสาวก็สามารถมีความเสี่ยงได้ หากไม่ได้ดูแลสุขภาพหรือมีพฤติกรรมเสี่ยง เช่น การทานอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ หรือการไม่ออกกำลังกาย
สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมอง
โรคหลอดเลือดสมองเกิดจากการที่หลอดเลือดในสมองตีบตันหรือแตก ส่งผลให้สมองขาดเลือดไปหล่อเลี้ยง ซึ่งทำให้เนื้อสมองเสียหาย และเกิดการหยุดชะงักของการทำงานในส่วนที่ได้รับผลกระทบ ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมองมีหลายปัจจัย เช่น
1. ความดันโลหิตสูง เป็นปัจจัยเสี่ยงหลักที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมอง เพราะความดันโลหิตสูงจะทำให้หลอดเลือดเกิดการเสื่อมสภาพและเสี่ยงต่อการแตกได้ง่าย หลอดเลือดมีความยืดหยุ่นน้อยเพราะต้องทำงานหนักจากภาวะความดันของร่างกายที่ไม่สมดุล
2. ระดับไขมันในเลือดสูง จากการทานอาหารที่มีไขมันสูงหรือไม่ออกกำลังกายอาจทำให้เกิดการสะสมของไขมันในหลอดเลือด เป็นปัจจัยสำคัญที่เกิดจากพฤติกรรมของผู้ป่วยเองด้วย หลายคนอาจจะไม่รู้ตัวว่าตัวเองมีภาวะไขมันในเลือดสูงเนื่องจากคนที่มีภาวะนี้ไม่จำเป็นต้องเป็นคนอ้วนเสมอไป เพราะไขมันที่กระจายตัวในกระแสเลือดเกิดกับคนที่มีรูปร่างผอมบางก็ได้เช่นกัน
3. การสูบบุหรี่ สารพิษในบุหรี่สามารถทำให้หลอดเลือดแข็งตัวและเสื่อมสภาพได้ เพราะในควันบุหรี่มีสารพิษมากมายหลายชนิด และการสูบเข้าผ่านปอด นอกจากจะเกาะติดปอดแล้วจะปะปนในเลือดทำให้เลือดเป็นพิษ เลือดหนืด ซึ่งส่งผลต่อการไหลเวียนเลือดได้ด้วย
4. การไม่ออกกำลังกาย ส่งผลให้ระบบเลือดไหลเวียนได้ไม่ดี เนื่องจากการขาดการเคลื่อนไหวร่างกายทำให้การไหลเวียนของเลือดในร่างกายช้าลง เพิ่มความเสี่ยงของการเกิดลิ่มเลือด (blood clots) เสี่ยงที่ลิ่มเลือดอุดตันไปเลี้ยงสมอง
5. โรคเบาหวาน เบาหวานส่งผลให้การไหลเวียนเลือดผิดปกติและหลอดเลือดเสียหายได้ง่าย เนื่องจากไขมันที่สะสมในร่างกายไปสร้างความลำบากในการไหลเวียนเลือด เสี่ยงที่หลอดเลือดจะอุดตันจากไขมัน และทำให้เลือดไหลเวียนได้ยากขึ้น
โรคหลอดเลือดสมองในอายุน้อย
แม้ว่าโรคหลอดเลือดสมองจะมักพบในผู้สูงอายุ แต่ในปัจจุบันการศึกษาพบว่าโรคนี้เริ่มมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นกับผู้ที่อายุน้อยมากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มคนที่มีพฤติกรรมเสี่ยง เช่น การทานอาหารที่มีไขมันสูง การไม่ออกกำลังกาย หรือการใช้ชีวิตที่มีความเครียดสะสมอย่างต่อเนื่อง อาจจะทำให้คนวัยทำงานเกิดอาการอัมพฤกษ์ อัมพาต หรือการสูญเสียการควบคุมบางส่วนของร่างกาย ซึ่งจะมีผลกระทบต่อชีวิตอย่างมาก ดังนั้นการป้องกันและดูแลสุขภาพตั้งแต่ช่วงวัยหนุ่มสาวเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม
การทานสารสกัดจาก ฮอร์ธอร์นและโคคิวเท็น ป้องกันความเสี่ยงได้
หนึ่งในวิธีการที่ช่วยลดความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมองและบำรุงสุขภาพหัวใจ นอกจากพฤติกรรมเสี่ยงข้างต้นที่กล่าวไปแล้ว การเลือกรับประทานอาหารคือปัจจัยสำคัญในการลดความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจ และการรับประทานสารสกัดที่ช่วยให้การทำงานของหลอดเลือดและหัวใจมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น การรับประทานสารสกัดจากฮอร์ธอร์น (Hawthorn) ที่ช่วยในการบำรุงหลอดเลือดและหัวใจ ช่วยลดความดันโลหิตและช่วยให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น โดยโคคิวเท็น (CoQ10) เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีบทบาทสำคัญในการปกป้องเซลล์จากการถูกทำลาย เพิ่มพลังงานให้กับอวัยวะสำคัญต่าง ๆ ทั้งหัวใจ ปอด ตับ ฯลฯ ลดการอักเสบของเนื้อเยื่อต่าง ๆ มีส่วนที่ช่วยป้องกันโรคหัวใจในอนาคตอีกด้วย
สิ่งสำคัญในการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองคือการหมั่นสังเกตตัวเอง หลายคนอาจจะคิดว่าตัวเองดูแลสุขภาพได้ดี แต่ยังมีปัจจัยหลายอย่างที่เราควบคุมไม่ได้ เช่น กรรมพันธุ์ ความเครียดแฝง อายุ การตรวจสุขภาพหรือการใส่ใจดูแลตัวเองสม่ำเสมอในทุกวันคือการป้องกันทุกโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพครับ สำหรับใครที่สนใจสารสกัดจากฮอร์ธอร์นและโคคิวเท็นสำหรับดูแลสุขภาพ สามารถปรึกษาได้ฟรีทาง Inbox m.me/yourofficialthailand หรือ Line : @Yourthailand