เบต้ากลูแคน อาหารเสริมที่สูงวัยควรทาน

อาหารเสริม

อาหารเสริม และ วิตามินในผู้สูงวัย กินอย่างไรให้ได้ประโยชน์สูงสุด

เมื่อเราอายุ 50 ปีขึ้นไป มวลกล้ามเนื้อและความแข็งแรงจะเริ่มลดลงอย่างเห็นได้ชัดครับ นอกจากนี้การสร้างกรดในกระเพาะอาหารจะลดลง มีผลต่อระบบย่อยอาหารและการดูดซึมวิตามิน จนอาจส่งผลให้ร่างกายขาดสารอาหารได้ แต่ถึงแม้ว่าจะเป็นความเสื่อมที่เกิดขึ้นได้ตามวัย แต่ก็สามารถแข็งแรงกว่าคนในรุ่นเดียวกันได้ หากรู้จักเลือกทานให้ได้รับสารอาหาร วิตามินและแร่ธาตุอย่างครบถ้วนครับ

ซึ่งปัญหาด้านโภชนาการในผู้สูงอายุเป็นปัญหาที่พบบ่อย และส่งผลกระทบต่อสุขภาพอย่างชัดเจน เช่น กล้ามเนื้ออ่อนแรงและลีบ กระดูกบางพรุน โลหิตจาง น้ำหนักลด ความจำเสื่อม อารมณ์แปรปรวน เป็นต้น 

วันนี้YOUR Beta Glucanได้นำสารอาหารและวิตามินจำเป็นต่างๆ สำหรับผู้สูงวัยมาฝากกันครับ

1. โปรตีน

ผู้สูงอายุมีความต้องการโปรตีนประมาณ 1 กรัม/น้ำหนักตัว (กิโลกรัม)/วัน เพื่อรักษามวลกล้ามเนื้อให้แข็งแรง ป้องกันภาวะกล้ามเนื้อลีบ และซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย ตัวอย่างเช่น ผู้ที่มีน้ำหนัก 60 กิโลกรัม ควรได้รับโปรตีนวันละ 60 กรัม โดยเลือกรับประทานโปรตีนคุณภาพดี เช่น เนื้อสัตว์ที่ไม่ติดมัน ไข่ดาว ดื่มนมพร่องมันเนยและผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองเป็นประจำ

2. คาร์โบไฮเดรต

ควรรับประทานอาหารกลุ่มนี้ให้เพียงพอเพื่อรักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม และควรเลือกรับประทานคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน เช่น ข้าวกล้อง ขนมปังโฮลวีท ลูกเดือย เป็นต้น

3.  แคลเซียม

ช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุนและสร้างมวลกระดูกให้มีความหนาแน่น ผู้สูงอายุต้องการแคลเซียมอย่างน้อยวันละ 1,000 มิลลิกรัม อาหารที่เป็นแหล่งของแคลเซียม ได้แก่ นมถั่วเหลืองเพิ่มแคลเซียม นมสด ผลิตภัณฑ์จากนม (เช่น โยเกิร์ต นมเปรี้ยวไม่หวานจัด) ถั่วเหลือง ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง (เช่น ฟองเต้าหู้) ปลาตัวเล็กที่รับประทานได้ทั้งกระดูก (เช่น ปลาข้าวสาร) ผักใบเขียวเข้ม ผักสีส้ม (เช่น คะน้า กวางตุ้ง ตำลึง ใบยอ ฟักทอง แครอท)

4. เบต้ากลูแคน

เบต้ากลูแคนจะช่วยเสริมและปรับระดับภูมิต้านทานให้กับคนแก่ที่มีระบบภูมิต้านทานเสื่อมถอย ซึ่งเบต้ากลูแคนจะมีผลทำให้เกิดปฏิกิริยาป้องกันการติดเชื้อไวรัสและแบคทีเรีย ซึ่งเป็นสาเหตุของไข้หวัด อีกทั้งยังเข้าไปลดการทำลายข้อจากปฏิกิริยาออกซิเดชัน (oxidation) ซึ่งจะทำให้ข้อเข่าอักเสบ

นอกจากนี้ เบต้ากลูแคนยังมีผลการวิจัยออกมารองรับด้วยนะครับว่าสามารถกระตุ้นระบบประสาทให้ทำหน้าที่กำจัดสิ่งสกปรกออกจากเซลล์สมอง ทำให้มีความจำดีขึ้น ลดโอกาสการเป็นอัลไซเมอร์

5. วิตามีนบี 12

เป็นวิตามินที่มีความสำคัญมากต่อการสร้างเม็ดเลือดแดงและเซลล์ระบบสมองและเส้นประสาท ถ้าขาดวิตามินบี 12 เป็นเวลานานอาจทำให้เกิดภาวะโลหิตจางและมีความเสี่ยงต่อภาวะความจำเสื่อม อาหารที่เป็นแหล่งของวิตามินบี 12 ได้แก่ เนื้อสัตว์ทุกชนิด (เช่น เนื้อวัว เนื้อไก่ เนื้อหมู) ไข่ทั้งฟอง ปลา โยเกิร์ต เนยแข็ง นม

6. วิตามินเอ

ช่วยรักษาสายตาของผู้สูงวัยไม่ให้เสื่อมสภาพเร็ว ช่วยการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อและระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย แหล่งของวิตามินเอในอาหาร ได้แก่ ผักโขม แครอท มันเทศ ฟักทอง มะละกอ มะม่วงสุก

7. วิตามินดี

ช่วยในการดูดซึมแคลเซียมและป้องกันโรคที่เกี่ยวกับกระดูก โดยปกติร่างกายสามารถสังเคราะห์วิตามินดีได้เมื่อได้รับแสงแดด สำหรับผู้สูงอายุที่ไม่ได้รับแสงแดด ร่างกายอาจสร้างวิตามินดีได้ไม่เพียงพอ ควรรับประทานอาหารประเภทธัญพืช เห็ด และดื่มนมที่เสริมวิตามินดีเป็นประจำ

8. เส้นใยอาหาร

ช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานได้ตามปกติและป้องกันปัญหาเกี่ยวกับลำไส้ที่อาจเกิดขึ้นได้ การบริโภคเส้นใยอาหารที่เหมาะสมจะช่วยป้องกันร่างกายจากโรคหัวใจ เบาหวาน และมะเร็งบางชนิด ซึ่งอาหารที่มีเส้นใยสูงมักพบได้ในผัก ผลไม้ และถั่วเปลือกแข็ง

9. น้ำ

ผู้สูงอายุควรดื่มน้ำสะอาดหรือเลือกดื่มน้ำสมุนไพรไม่หวานจัดสลับกับน้ำเปล่าอย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว น้ำช่วยนำสารอาหารต่างๆ ไปยังอวัยวะภายในร่างกายและช่วยขับถ่ายของเสีย ทำให้รู้สึกสดชื่น ป้องกันอาการท้องผูก ทำให้ผิวหนังชุ่มชื้น ควรดื่มน้ำก่อนที่รู้สึกกระหาย ควรจำกัดปริมาณเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น กาแฟ ชา ไม่เกิน 1 แก้วต่อวัน

เมื่อเข้าสู่ช่วงสูงวัย นอกจากการให้ความสำคัญในเรื่องของสุขภาพร่างกายด้วยการเลือกรับประทานอาหารและอาหารเสริมที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพและออกกำลังกาย การให้ความสำคัญในการดูแลสุขภาพจิตใจของผู้สูงอายุก็เป็นเรื่องที่สำคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพราะสุขภาพทางด้านจิตใจจะส่งผลต่อความเสื่อมโทรมของสุขภาพกายได้ครับ

อ้างอิง:

Leave a comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *

TOP