สัญญาณอันตรายของ “โรคแพ้ภูมิตัวเอง” (SLE)

โรคแพ้ภูมิตัวเอง

สังเกตก่อน รู้ก่อน หากมีอาการเหล่านี้ ควรรีบพบแพทย์

สวัสดีครับทุกคน วันนี้เรามาทำความรู้จักกับโรค SLE ให้มากขึ้นกันดีกว่าครับ

ทางการแพทย์พบว่า โรคแพ้ภูมิตัวเองนั้น ทำให้เกิดการอักเสบเรื้อรังของอวัยวะต่างๆ และมีความรุนแรงแตกต่างกันครับ เริ่มตั้งแต่มีผื่น ปวดข้อ ไปจนถึงอาการแสดงที่มีความรุนแรงถึงเสียชีวิต ซึ่งโรคนี้พบได้บ่อยในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย 

หากอาการเริ่มต้นของ SLE ที่จะบ่งบอกว่ามีการติดเชื้อหรือมีอาการผิดปกติที่อาจบ่งชี้ว่าโรคกำเริบ เช่น อาการไข้ อ่อนเพลียมีผื่นขึ้นมากกว่าเดิม ปวดข้อ ผมร่วง มีแผลในปาก เป็นต้น ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการรักษาที่ถูกต้องครับ

ซึ่งการวินิจฉัยว่าจะเป็นโรคแพ้ภูมิตัวเองหรือ SLE หรือไม่นั้น เพื่อความแม่นยำจะต้องอาศัยประวัติการเจ็บป่วยและผลเลือด แต่ก็มีเกณฑ์การวินิจฉัยเบื้องต้นได้เราสามารถสังเกตได้ด้วยตัวเองครับ ซึ่งดูได้ความผิดปรกติอย่างน้อย 4 ใน 11 ข้อดังต่อไปนี้ครับ

o        ผื่นบริเวณใบหน้าและมีการกระจายเป็นรูปผีเสื้อ

o        ผื่นผิวหนังชนิดที่เรียกว่าผื่นดีสคอยด์ พบได้บ่อยบริเวณใบหน้า ใบหู ลำตัว และแขนขา

o        อาการแพ้แดด โดยมีผื่นผิวหนังแดงอย่างรุนแรงเมื่อโดนแดด

o        มีแผลในปาก

o        ข้ออักเสบ

o        ไตอักเสบ โดยปริมาณโปรตีนหรือไข่ขาวในปัสสาวะมากกว่าปกติ

o        อาการชักหรืออาการทางระบบประสาทอื่นๆ

o        เยื่อหุ้มปอดหรือหัวใจหรือเยื่อหุ้มสมองอักเสบ

o        อาการซีด เม็ดเลือดขาวต่ำ หรือเกล็ดเลือดต่ำ (ที่ไม่ได้เกิดจากยาหรือการติดเชื้อ)

o        ตรวจพบแอนตินิวเคลียร์แอนติบอดี (antinuclear antibody) ในเลือด

o        ตรวจพบแอนติบอดีต่อดีเอ็นเอ (anti-dsDNA) หรือการตรวจพบแอนติฟอสโฟไลปิดแอนติบอดี หรือการตรวจเลือดพบผลบวกปลอมต่อการตรวจซิฟิลิส

 

สำหรับการรักษาโรคแพ้ภูมิตัวเองนั้น อาจจะต้องใช้เวลาครับ เพราะโรค SLE มีระยะการรักษาที่ยาวนาน นอกจากการรักษาโรคแล้ว ผู้ป่วยควรดูแลตัวเองด้วยการทำความเข้าใจธรรมชาติ และกลไกการเกิดโรค รวมทั้งเข้าใจเหตุผลของการประเมิน ติดตามการรักษาอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง ดังนี้ครับ

        ทำจิตใจให้สงบ ไม่เครียด

        พักผ่อนให้เพียงพอและออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

        รับประทานอาหารให้ถูกสุขลักษณะและครบหมู่ ควรรับประทานแต่อาหารที่มีประโยชน์และปรุงสุก

        หลีกเลี่ยงการโดนแสงแดดจ้า ควรใช้ครีมกันแดดที่มีค่า SPF 30 ขึ้นไปเมื่อต้องออกไปกลางแดด

        อยู่ในที่อากาศถ่ายเทได้สะดวก หลีกเลี่ยงบริเวณที่มีผู้คนหนาแน่น

        ไม่ควรตั้งครรภ์ ในขณะที่โรคยังรุนแรงหรือกำลังกำเริบ

        รับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ

ที่สำคัญควรติดตามการรักษาอย่างสม่ำเสมอและไม่ควรหยุดยาเองอีกทั้งอาการของแต่ละคนอาจจะไม่เหมือนกันดังนั้นการดูแลรักษาผู้ป่วยแต่ละรายจึงมีความแตกต่างกันและถึงแม้ว่าจะเป็นโรคที่รักษาไม่หายแต่ผู้ป่วยสามารถมีคุณภาพชีวิตใกล้เคียงกับคนปกติครับหากดูแลตัวเองอย่างดี

แพทย์แนะนำว่า ผู้ป่วยสามารถทานวิตามินเสริมภูมิคุ้มกันควบคู่ไปกับการรักษาได้ครับ ซึ่งควรเลือกอาหารเสริมประเภท Beta Glucan (เบต้ากลูแคน) ซึ่งเป็นสารอาหารที่ช่วยปรับระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายเรา ทำให้เม็ดเลือดขาวทำงานได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม ซึ่งเบต้ากลูแคนจะเข้าไปลดสารที่กระตุ้นให้ร่างกายเกิด อีกทั้งยังควบคุมไม่ให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานมากเกินไป ด้วยเหตุนี้ เบต้ากลูแคนจึงไม่มีความเป็นพิษอยู่เลย ซึ่งแตกต่างจากการรักษาแผนปัจจุบันทั่วไปที่จะให้ยากดภูมิต้านทานไม่ให้ทำงาน ซึ่งมีความเสี่ยงสูงต่อคนไข้ และมีโอกาสเป็นพิษได้นั่นเองครับ

 

อ้างอิง:

Leave a comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *

TOP